สึนามิ 'สูงอายุระดับสุดยอด'
คอลัมน์ Great Talk
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และจะนำไปสู่สภาวะถดถอยของแรงงานและขาดบุคคลากรที่มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศ
เมื่อ 5 พันปีก่อน โลกของเรามีประชากรน้อยกว่าประเทศไทย คือไม่ถึง 60 ล้านคน ซึ่งมีอายุคาดเฉลี่ยที่ ไม่ถึง 30 ปี
แต่ด้วยวิวัฒนาการด้านการแพทย์,การจัดสรรทรัพยากรทางอาหาร,สิ่งอำนวยความสะดวกและพลังงาน ทำให้ปัจจุบัน มีประชากรทั้งโลกประมาณ 7,795 ล้านคน และปัจจุบันคาดอายุเฉลี่ยของมนุษย์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 70 ปี
โดยที่ ชาวญี่ปุ่นมีอายุคาดเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก คือ 85 ปี
สำหรับประเทศไทยเมื่อ 50 ปีก่อน มีผู้สูงอายุ (60 ปีข้ึนไป) มีจํานวนไม่ถึง 2 ล้านคน แต่ในปี 2563 ผู้สูงอายุได้เพิ่มจํานวนประมาณ 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมดและคาดว่า ประมาณปี 2580 จะเพิ่มขึ้นเป็น 21%จะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอดสังคมสูงอายุ” (Aged society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด (หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 7) “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (Complete-aged society)
หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด (หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 14) “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” (Super-aged society) หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด (หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20)
โดย“ประชากรรุ่นเกิดล้าน” ท่ีเกิดระหว่างปี 2506-2526 ซึ่งเป็นคลื่นประชากรลูกใหญ่ของประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น กลุ่มประชากรสูงอายุกลุ่มใหญ่มากในอนาคตอันใกล้นี้และในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรรวมของประเทศไทยจะเพิ่มช้ามาก อัตราเพิ่มจะ ลดต่ำลงจนถึงขั้นติดลบ
แต่ประชากรสูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี ผู้สูงอายุวัยปลาย (80 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มด้วย อัตราเฉล่ียร้อยละ 7 ต่อปี
ปัจจุบัน สหประชาชาติ (United Nations) ยังไม่มีนิยามที่แน่นอน ว่าอายุเท่าไรจึงจะเรียก ว่าเป็น “ผู้สูงอายุ” (Older/ Elderly person) แต่สหประชาชาติใช้อายุ 60 ปีขึ้นไปในการนําเสนอ สถิติ ข้อมูล และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วเช่นญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้อายุ 65 ปี ขึ้นไป เป็นเกณฑ์ในการเรียก “ผู้สูงอายุ”
โครงสร้างประชากรไทยกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงวัย และจะเปลี่ยนแปลงอย่าง สมบูรณ์ในช่วงปี ๒๕๖๔ ซึ่งทำให้ประชากรวัยแรงงานจะมีจำนวนสูงสุดและเร่ิมลดลงอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
นอกจากน้ี อัตราการเจริญพันธุ์รวมของ ประชากรไทยในปี ๒๕๖๑ อยู่ท่ี ๑.๕๘ ซึ่งต่ำกว่าระดับทดแทน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วง 2553-2563 ประชากรเด็กและวัยรุ่นได้ลดลงจาก 17.2 ล้านคน เหลือ 15.1 ล้านคนและคาดว่าอีก 10 ปีข้างหน้า จะเหลือเพียง 13.7 ล้านคน เท่ากับว่าหายไปเรื่อยๆ ปีละ 2 แสนคน
สาเหตุหลักๆ ผมคาดว่าน่าจะเกิดจากพฤติกรรมสองด้านหลักๆได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตครอบครัวเปลี่ยนไป หลายครอบครัวไม่อยากมีลูกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและมุมมองที่เปลี่ยนไปของการสืบทอดทายาทการเพิ่มขึ้นจำนวนประชากรน้อยกว่าประชากรที่กำลังสูงวัยอย่างเห็นได้ชัดหาก
เราต้องการตัวอย่างว่าหากเราต้องประสบปัญหาเด็กน้อยผู้สูงอายุล้น ให้ไปดูที่ญี่ปุ่นประชากรประเทศญี่ปุ่นมีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ร้อยละ 28.4% ซึ่งหมายความว่า ญี่ปุ่นกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด ณ ปัจจุบันและมีการคาดการว่า ปี 2050 จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น มากกว่า 37% เป็นไปได้ว่า
คนเดินมา 10 คน อาจมีผู้สูงอายุ อยู่ในกลุ่ม 3 คนเป็นอย่างน้อยส่วนประเทศไทยอีก 10 ปีข้างหน้า คนเดินมา 10 คน อาจมีผู้สูงอายุ 2 คน เด็ก 2 คน อีก 2 คนคือผู้ที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ทั้งระดับมัธยมหรืออุดมศึกษา ที่เหลืออีก 4 คนคือคนทำงาน
คำถามสำคัญคือ จะเหลือประชากรที่สามารถเลี้ยงดู เด็กและผู้สูงอายุ ได้สักกี่คนเพราะสัดส่วนช่างใกล้เคียงกันเหลือเกินและศักยภาพของประชาชนจะเพียงพอไหมที่จะเลี้ยงดูคนเหล่านั้น
เราอาจต้องเพิ่มนโยบายหลายอย่างในการพัฒนาผู้สูงอายุที่เราเองหลีกเลี่ยงไม่ได้และพัฒนาศักยภาพทางการประกอบธุรกิจให้กับกลุ่มคนทำงานและมีการส่งเสริมจากภาครัฐเรื่องการศึกษาของเด็กและเยาวชน
เพื่อเตรียมรับสถานะการณ์สึนามิ “สูงอายุระดับสุดยอด” ที่มาแน่นอนในอีก 10ปีข้างหน้า เตรียมพร้อมรับมือกันนะครับ