posttoday

เช็กด่วน! จ่ายผ่าน "e-Withholding Tax" มีประโยชน์กับใคร เงื่อนไขมีอะไรบ้าง

17 พฤษภาคม 2566

e-Withholding Tax เป็นระบบบริการใหม่ของกรมสรรพากร ออกแบบการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน จ่ายผ่านธนาคารมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อธนาคารทันทีที่มีการจ่ายเงิน และให้ธนาคารรับเงินและส่งเงิน รวมทั้งส่งข้อมูลหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กรมสรรพากร

     ระบบ e-Withholding Tax เป็นระบบบริการใหม่ของกรมสรรพากรที่นำความต้องการของผู้อยู่ในกระบวนการเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งผู้หักภาษี (ผู้จ่ายเงิน) และผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้รับเงิน) มาออกแบบการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่จ่ายผ่านธนาคารมีหน้าที่หักภาษีและนำส่งต่อธนาคารทันทีที่มีการจ่ายเงิน และให้ธนาคารรับเงินและส่งเงิน รวมทั้งส่งข้อมูลหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กรมสรรพากร

     ดังนั้น e-Withholding Tax จึงมีประโยชน์กับทั้งผู้จ่ายเงินที่เป็นนิติบุคคล รวมถึงผู้รับเงินที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ผู้จ่ายเงินจะได้รับสิทธิประโยชน์ไม่ต้องออกหนังสือรับรอง และได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำและยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย รายเดือนและรายปี 

     นอกจากนี้กรณีจ่ายเงินด้วยระบบ e-Withholding Tax หักภาษี ณ ที่จ่าย ยังได้รับการลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย เหลือเพียง 1% หากเข้าเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ดังนี้ 

เช็กด่วน! จ่ายผ่าน \"e-Withholding Tax\" มีประโยชน์กับใคร เงื่อนไขมีอะไรบ้าง

กิจการที่จดบริษัทเป็นนิติบุคคล (ผู้จ่ายเงิน)

     ผู้จ่ายเงินที่มีสิทธิหักภาษี ณ ที่จ่ายผู้รับเงินได้นั้น จะต้องเป็นกิจการที่จดบริษัทเป็นนิติบุคคล เมื่อมีการจ่ายเงินให้กับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล หากจ่ายเงินผ่านระบบ e-Withholding tax จะสามารถจ่ายเงินพร้อมนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายผ่านธนาคารได้ในขั้นตอนเดียว

     อีกทั้งไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ไม่ต้องจัดส่งและจัดเก็บหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ตลอดจนไม่ต้องยื่นแบบฯ และนำส่งภาษีต่อกรมสรรพากร ทางธนาคารจะดำเนินการให้โดยอัตโนมัติ 

ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ผู้รับเงิน) ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

     สำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งตามหลักการผู้จ่ายจะต้องหักเงินไว้ก่อนที่จะจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้รับเงิน ตามอัตราหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่กฎหมายกำหนด แตกต่างกันตามประเภทเงินที่จ่าย ดังนี้

     จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลที่หยิบยกขึ้นมาบางส่วนเท่านั้น โดยผู้รับเงินไม่จำเป็นต้องจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และสามารถตรวจสอบข้อมูลพร้อมดาวน์โหลดหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร เพียงใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี/เลขบัตรประชาชนและพาสเวิร์ดที่เคยใช้ยื่นภาษีของระบบ e-Filing 

ขั้นตอนการสมัครเข้าระบบ e-Withholding tax

     1.สามารถสมัครขอรับบริการกับธนาคารที่รองรับระบบ e-Withholding tax ซึ่งประกอบด้วย
ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธอส.) ธนาคารกรุงเทพธนาคารมิซูโฮ สาขากรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

     2.ผู้จ่ายเงิน/ผู้โอนเงินสามารถตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ภายใน 6 วัน ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร โดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีและพาสเวิร์ดที่เคยใช้ยื่นภาษีของระบบ e-Filing โดยไม่ต้องสมัครบริการเพิ่มเติมกับกรมสรรพากรอีก (หากยังไม่เคยลงทะเบียนให้ลงทะเบียนก่อน)

     3.ค่าบริการสูงสุด 10 บาทต่อรายการโอน 1 ครั้ง หรือเป็นไปตามที่แต่ละธนาคารกำหนด

     4.เมื่อโอนเงินให้ผู้รับและต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ส่งข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่ายของผู้รับผ่านระบบโอนเงินของธนาคารที่สมัครใช้งานไว้

     5. ธนาคารจะทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้จ่ายเงินภายในเวลา 4 วัน

กรมสรรพากรต่อโปรลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย เหลือ 1% ถึงปี 2568 

     จากข้อมูลล่าสุดทางกรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบ e-Withholding tax ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 โดยมีรายละเอียดดังนี้  

     1. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายการลงทุนในระบบ e-Withholding Tax รวมถึงหักรายจ่ายค่าบริการระบบดังกล่าวได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568

     2. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) โดยลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่มีอัตราร้อยละ 5 อัตราร้อยละ 3 และอัตราร้อยละ 2 เหลืออัตราร้อยละ 1 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568”

     กล่าวโดยสรุป ระบบ e-Withholding Tax

เป็นการเพิ่มประโยชน์ให้กับทั้งผู้จ่ายเงินในนามนิติบุคคล และผู้รับเงินบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ช่วยลดขั้นตอน ลดต้นทุน ลดการจัดทำและการจัดเก็บเอกสาร รวมถึงลดภาระในการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษี ส่วนผู้รับเงินก็ยังได้ประโยชน์จากการลดภาษีหัก ณ ที่จ่ายเหลือ 1% จนถึงปี 2568

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Inflow Accounting