posttoday

เผยสูตรแบ่งหุ้น ESOP ที่เข้าใจง่าย เคล็ดลับซื้อใจคนเก่งแบบสตาร์ทอัพ

19 พฤษภาคม 2566

สำหรับกิจการสตาร์ทอัพ ที่ไม่ค่อยมีเงินถุงเงินถัง แต่อุดมการณ์ที่กว้างไกล และต้องการดึงคนที่มีพรสวรรค์เก่ง ๆ ระดับท็อปในประเทศและต่างประเทศมาทำงานด้วย หนึ่งในวิธีนั้นก็คือการให้หุ้นของบริษัทในแบบที่เรียกว่า ESOP

จากคราวที่แล้ว เราบอกว่าเราจะทำยังไงนะถ้าบริษัทไม่ค่อยมีเงิน แต่ว่าเรามีอุดมการณ์ที่กว้างไกล และเราต้องการดึงคนที่มีพรสวรรค์เก่ง ๆ ระดับท็อปในประเทศและต่างประเทศมาทำงานด้วย หนึ่งในวิธีนั้นก็คือการให้หุ้นของบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่ในบริษัทสตาร์ทอัพนิยมให้หุ้นที่เรียกว่า ESOP กัน

แล้วหุ้น ESOP คืออะไรล่ะ

ESOP ย่อมาจาก "Employee Stock Ownership Plan" หรือการให้หุ้นของพนักงาน เพื่อต้องการใช้จูงใจในการทำงานโดยเฉพาะตำแหน่งสูง ๆ ในบริษัทสตาร์ทอัพ โดยองค์กรจะให้พนักงานซื้อหุ้นของบริษัทที่ทำงานในราคาถูกกว่ามูลค่าตลาด หรือได้รับหุ้นเป็นส่วนตอบแทนเพิ่มเติมจากเงินเดือน โดยที่การให้หุ้นแบบนี้ มีข้อดี คือ

1.    พนักงาน รู้สึกมีส่วนร่วมความเป็นเจ้าของในองค์กร โดยพนักงานมีสิทธิเป็นเจ้าของบริษัทและมีส่วนได้ส่วนเสียในผลประกอบการ และการเจริญเติบโตของบริษัท ทำให้มีแรงจูงใจในการทำงานอย่างเต็มที่

2.    บริษัทสามารถจ่ายผลตอบแทนของพนักงานได้โดยที่ไม่ใช้เงินสด แต่ใช้หุ้นในการจูงใจพนักงาน ซึ่งถ้าบริษัทที่ยังไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ถือหุ้นเดิมหรือเจ้าของเดิมก็จะถูก Dilute ลงไป หรือเสียสัดส่วนการถือหุ้นเดิม โดยมีสัดส่วนลดลงจากการออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ แต่ว่าถ้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ก็สามารถออกหุ้นเพิ่มทุนให้พนักงานได้ โดยมีกระบวนการที่นอกเหนือ ตามกฎหมายของตลาดหลักทรัพย์

3.    การได้หุ้นนั้นเป็นช่องทางการลงทุนชนิดหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่หุ้นที่ให้ในบริษัทสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จนั้น จะมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างทบเท่าทวีคูณ เช่น หุ้น Facebook ที่พนักงานได้รับทั้งหมดคือ 23,000,000,000 USD หรือเฉลี่ยคนละ 7,000,000 USD หรือประมาณคนละ 238,000,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนที่ 34 บาทต่อ 1 USD) สุดท้ายบริษัทและพนักงานก็จะดึงดูดซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถรักษาพนักงานที่มีคุณภาพสูงได้

ส่วนวิธีการให้หุ้น ESOP นั้นจะมีสิ่งสำคัญ 5 ประการที่ต้องพิจารณาก็คือ

1. ราคาหุ้น และบริษัทหุ้น ESOP ราคาหุ้นของบริษัทที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ก็จะกำหนดราคาค่อนข้างง่าย เพราะว่าใช้ราคาอ้างอิงจากตลาดได้ แต่ราคาหุ้นของบริษัทที่เป็นบริษัทที่ยังไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์นั้น ก็ต้องใช้วิธีประเมินมูลค่าของบริษัท ณ วันที่จะให้หุ้นนั้น ๆ เมื่อได้มูลค่าบริษัทแล้ว บริษัทก็จะกำหนดจำนวนหุ้นเพิ่มทุนที่จะให้เป็น ESOP และกำหนดราคาต่อหุ้นออกมา

2.    ราคาที่จะให้พนักงานซื้อหุ้น เมื่อได้ราคาต่อหุ้นแล้วก็จะต้องกำหนดว่า จะให้พนักงานสามารถซื้อหุ้นที่มีราคาถูกกว่าเดิมเป็นราคาเท่าไร หรือจะให้ฟรีไปเลย แล้วก็เขียนลงไปในเงื่อนไขการให้หุ้นนั้น

3.    เวลาในการให้หุ้น กิจการในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพิจารณาการออกแบบและให้ผลประโยชน์ในลักษณะของสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ (Stock Option หรือ Warrant) โดยกำหนดเงื่อนไขการได้รับสิทธิ (Vesting Condition) เช่น ตามระยะเวลาการทำงานในบริษัทของพนักงาน นั่นก็คือเป็นการให้หุ้นพนักงานในอนาคต โดยกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เช่น เมื่อบริษัทได้รับการ Exist จากการถูกซื้อกิจการ การควบรวมกิจการ หรือ การไอพีโอ เป็นต้น

4.    Grant Date คือวันที่ได้สิทธิในการซื้อหุ้น โดยส่วนใหญ่มักจะผูกกับผลงานและจำนวนปีที่ทำงาน เช่น ต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และการให้หุ้นในปีนั้น ๆ ก็ขึ้นอยู่กับผลงานที่ทำในปีนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลงานของตนเอง และผลงานของบริษัท

5.    Vesting Condition คือเงื่อนไขของการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นหรือได้รับหุ้น รวมถึงสิทธิในการขายหุ้นนั้น ๆ เช่น พนักงานจะได้รับหุ้นนั้นในปี 2023 ก็อาจจะมีการแบ่งการรับหุ้นไปอีก 4 ปี เพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานกับบริษัทนาน ๆ ต่อไป
 
เพื่อให้เข้าใจจะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

 ชื่อ:             นาย ก.

_____________________________________________________________________________
 

จำนวนหุ้นที่ให้สิทธิ:     100,000 หุ้น _____________________________________________________________________________
 

วันที่ให้สิทธิ:           31 ธันวาคม 2563 ___________________________________________________________________________
 

วันหมดอายุ:            ไม่มี
 

ตารางการให้สิทธิ:    
หุ้นจะถูกมอบให้ในแต่ละปีตามตารางด้านล่าง โดยขึ้นอยู่กับการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ในแต่ละวันที่ที่มีสิทธิการได้หุ้นและตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญา

 

31 ธันวาคม 2563

31 ธันวาคม 2564

31 ธันวาคม 2565

31 ธันวาคม 2566

31 ธันวาคม 2567

Vesting 1

25,000

 

 

 

 

Vesting 2

 

25,000

 

 

 

Vesting 3

 

 

25,000

 

 

Vesting 4

 

 

 

25,000

 

 

ในการให้หุ้นในลักษณะนี้ บริษัทอาจจะพิจารณาให้เป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง สองปีครั้ง ก็แล้วแต่นโยบายของบริษัท

สำหรับในคราวหน้า เราจะมาพูดถึงวัฒนธรรมองค์กรของสตาร์ทอัพ ที่ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงอยากมาทำงานกับกิจการเหล่านี้กัน ฝากติดตามใน EP ถัดไปนะคะ

โดย: ณัฐธิดา สงวนสิน กรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด (Buzzebees) และ Guru ด้าน CRM & Digital Engagement Platform