กลั่นสุราเองแต่ไม่ขาย ต้องเสียภาษีหรือไม่
สุราหรือเหล้านั้นเป็นเครื่องดื่มที่มีมาแต่โบราณ แต่การต้มหรือกลั่นสุราไม่สามารถทำได้อย่างเสรี ดังนั้นในการผลิตสุราจำเป็นต้องมีตัวบทกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในปัจจุบันกฎหมายการผลิตสุรามีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง ลองมาดูว่ามีข้อมูลอะไรน่าสนใจเกิดขึ้นบ้าง
สุราหรือเหล้านั้นเป็นเครื่องดื่มที่มีมาแต่โบราณ แต่การต้มหรือกลั่นสุราไม่สามารถทำได้อย่างเสรี ไม่ว่าจะเป็นในกรณีเพื่อจำหน่ายหรือดื่มเอง เพราะมีกฎหมายควบคุมอยู่ โดยเฉพาะการต้มเหล้าเถื่อนเพื่อดื่มเอง เนื่องจากการผลิตสุราดื่มเองไม่มีมาตรฐานรองรับ จึงทำให้ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ
ดังนั้นในการผลิตสุราจำเป็นต้องมีตัวบทกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในปัจจุบันกฎหมายการผลิตสุรามีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง ลองมาดูว่ามีข้อมูลอะไรน่าสนใจเกิดขึ้นบ้าง
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการผลิตสุราฉบับเก่ามีอะไรบ้าง
สำหรับกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ.2560 ได้ระบุเกี่ยวกับการผลิตสุราไว้ดังนี้
1.ทุนจดทะเบียนเบียร์ ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
2.เป็นบริษัทตามกฎหมายไทย
3.มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 51%
4.การต้มกินเอง เป็นเรื่องผิดกฎหมาย
5.โรงผลิตเหล้าขาว กำลังผลิต 9 หมื่นลิตร/วัน ที่ 28 ดีกรี
6.บริวผับ (Brew Pub) ต้องมีกำลังผลิต 100,000 – 1,000,000 ลิตร/ปี และมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท
7.โรงผลิตเบียร์ ต้องมีกำลังผลิต 10 ล้านลิตร/ปี
8.เหล้ากลั่นชุมชน ต้องมีเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า คนงานน้อยกว่า 7 คน และสามารถผลิตได้แค่เหล้าขาวเท่านั้น
โดยปัจจุบันกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุราฉบับใหม่ อนุญาตให้ผลิตสุราเพื่อดื่มเองได้แล้ว โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่มีข้อจำกัดว่าผู้ผลิตสุราเพื่อดื่มเองจะต้องมีหน้าที่เสียภาษีด้วย ซึ่งข้อกำหนดในเรื่องของการผลิตสุรา และภาษีที่เกี่ยวข้องจะมีอะไรบ้าง พร้อมมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
เปิดข้อมูลใหม่ กับกฎหมายการผลิตสุรา
หากย้อนกลับไปในอดีตจากกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ.2560 สำหรับผู้ที่ต้องการผลิตสุราเพื่อขาย จะต้องมีใบอนุญาตในการผลิต แถมยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตสุรา และไม่สามารถผลิตสุราดื่มเองได้ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
แต่ปัจจุบันกฎกระทรวงการผลิตสุรา พ.ศ.2565 ข้อมูลล่าสุดได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 และมีผลบังคับใช้แล้ว โดยได้สรุปการผลิตสุราไว้ดังนี้
1.การต้มกินเองสามารถทำได้ แต่ต้องขออนุญาตต่ออธิบดี และผลิตไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี
2.ไม่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ
3.บริวผับ (Brew Pub) ไม่กำหนดเกณฑ์และทุนจดทะเบียน แต่ต้องมีเครื่องจักรที่ได้ตามมาตรฐานกำหนด และผ่าน EIA
4.โรงผลิตเบียร์ ไม่กำหนดกำลังผลิตขั้นต่ำ แต่ต้องมีกระบวนการบรรจุภาชนะที่ติดตั้งระบบการพิมพ์เครื่องหมายเสียภาษี
5.เหล้ากลั่นชุมชน เพิ่มให้มีประเภทไม่เกิน 50 แรงม้า และข้อกำหนดให้ผ่าน แต่ยังได้แค่เหล้าขาว
6.โรงผลิตเหล้าขาว กำลังผลิต 9 หมื่นลิตร/วัน ที่ 28 ดีกรี
7.โรงงานผลิตวิสกี้ บรั่นดี จิน กำลังผลิตขั้นต่ำ 30,000 ลิตร/วัน ที่ 28 ดีกรี
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข เมื่อผลิตสุราดื่มเองโดยไม่มีการจำหน่าย แต่ต้องเสียภาษี
การทำสุราดื่มเองต้องได้ใบอนุญาตทำสุราจากอธิบดีกรมสรรพสามิต ผู้ใดทำสุราหรือภาชนะสำหรับทำสุราหรือมีภาชนะสำหรับทำสุราไว้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดต้องระวางโทษ
แต่ในปัจจุบันการผลิตสุราเพื่อดื่มเองภายในครัวเรือน ไม่ได้มีการจำหน่ายนั้น ผู้ที่สามารถทำได้ไม่ผิดกฎหมาย จะต้องทำตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ซึ่งประกอบด้วย
1.ขออนุญาตกับกรมสรรพสามิตก่อนผลิตสุราเพื่อดื่มเองภายในครัวเรือน
2.กำลังการผลิตในครัวเรือนจะต้องไม่เกิน 200 ลิตรต่อปี
3.ต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะไม่น้อยกว่าอายุ 20 ปีบริบูรณ์
4.สุรา เบียร์ สุราแช่อื่นๆ เมื่อผลิตแล้วจะต้องนำมาให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพก่อน เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนต่างๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงการผลิตสุรา จึงมีการอนุมัติกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตสุรากลั่น และสุราแช่ (เบียร์) ที่ผลิตเพื่อดื่มเองโดยไม่มีการจำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือเพื่อได้รับประโยชน์ตอบแทน และผลิตไม่เกิน 200 ลิตร/ปี ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีตามมูลค่า แต่ต้องเสียภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์เช่นเดียวกับสุราที่ผลิตเพื่อการค้า โดยมีรายละเอียดดัง
1.สุรากลั่น ชนิดสุราขาว เสียภาษีในอัตรา 155 บาท ต่อปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
2.สุรากลั่น ชนิดอื่นๆ เสียภาษีในอัตรา 150 บาท ต่อปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
3.สุรากลั่น ชนิดอื่นๆ เสียภาษีในอัตรา 255 บาท ต่อปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
4.สุราแช่ (เบียร์) เสียภาษีในอัตรา 430 บาท ต่อปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
5.ไวน์ และสปาร์กลิงไวน์ ที่ทำจากองุ่น เสียภาษีในอัตรา 1,500 บาท ต่อปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
6.สุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่น ถ้ามีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 7 ดีกรี และขนาดบรรจุไม่เกิน 0.330 ลิตร เสียภาษีในอัตรา 150 บาท ต่อปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ส่วนสุราแช่ผลไม้ที่มีส่วนผสมขององุ่นหรือไวน์องุ่นอื่นๆ ต่อปริมาณ 1 ลิตรแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หน่วยละ 900 บาท
กล่าวโดยสรุป แม้ว่าจะมีการยกเลิกกฎหมายและให้อิสระในการผลิตสุราสำหรับดื่มเองแล้วก็ตาม แต่ยังมีเงื่อนไขบางประการที่ผู้ผลิตสุราต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ ต้องแจ้งต่อกรมสรรพสามิตก่อนผลิตสุรา ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และเสียภาษีเหมือนกับการผลิตสุราเพื่อการค้า
นอกจากนี้มาตรฐานและความปลอดภัยในการผลิตสุราสำหรับดื่มในครัวเรือน โดยเฉพาะสถานที่ผลิตต้องมีพื้นที่เพียงพอเพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น อีกทั้งคำนึงถึงด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคเอง และสิ่งแวดล้อมโดยรอบก็มีความสำคัญเช่นกัน
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Inflow Accounting