สวัสดิการพนักงานและรายจ่ายแบบไหน นำมาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้
การจัดสวัสดิการให้แก่บุคลากร บริษัทต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในแง่ของผลที่บริษัทจะได้รับ ตลอดจนความคุ้มค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการจัดสวัสดิการ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับภาษีตามประมวลรัษฎากรในแต่ละประเภท
การจัดสวัสดิการให้แก่บุคลากร บริษัทต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในแง่ของผลที่บริษัทจะได้รับ ตลอดจนความคุ้มค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการจัดสวัสดิการ การให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างหรือพนักงานมีหลากหลายรูปแบบ
ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับภาษีตามประมวลรัษฎากรในแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถพิจารณาได้ดังนี้
ค่าใช้จ่ายและสวัสดิการพนักงานกับมุมทางด้านภาษีที่ควรคำนึงถึง
สวัสดิการพนักงานหรือลูกจ้าง มีหลากหลายกรณีที่เกี่ยวข้องกับทั้งลูกจ้าง และนายจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับภาระภาษี ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำนวณภาษีอธิบายได้ดังต่อไปนี้
1.ฝ่ายลูกจ้างหรือพนักงาน สวัสดิการที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับจากนายจ้างนั้น จะอยู่ในรูปแบบเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยลูกจ้างหรือพนักงานต้องได้รับทุกคนโดยเท่าเทียมกัน และต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของธุรกิจ ซึ่งหากสิ่งที่นายจ้างมอบให้ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายดังกล่าว จะถือว่าเป็นประโยชน์เพิ่มเติมที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเนื่องมาจากการทำงานในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งหลักการจะต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เว้นแต่จะเข้าลักษณะเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่ารักษาพยาบาล ค่าน้ำมันรถ หรือเงินได้เนื่องในพิธีงานบวช งานแต่งงานของลูกจ้างหรือพนักงาน เป็นต้น
2.ฝ่ายนายจ้าง ทางด้านฝ่ายนายจ้าง มีการพิจารณาคำนวณภาษี สามารถอธิบายได้ดังนี้
-กรณีนายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา มีสิทธิที่จะนำค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับสวัสดิการลูกจ้างหรือพนักงานมา ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ การให้สวัสดิการพนักงาน ต้องเป็นการให้โดยทั่วไป และเป็นการจ่าย ตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่มีการกำหนดไว้ จึงสามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-กรณีนายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีสิทธิที่จะนำรายจ่ายสวัสดิการลูกจ้างหรือพนักงานมาเป็นรายจ่ายได้ การให้สวัสดิการลูกจ้างหรือพนักงานต้องเป็นการให้โดยทั่วไป และเป็นการจ่ายตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่มีการกำหนดไว้แล้ว จึงสามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาเป็นรายจ่าย เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ และต้องมีหลักฐานการจ่ายจริงด้วย
รายจ่ายที่สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้และภาษีซื้อของกิจการได้
-รายจ่ายที่ไม่มีบิล ถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
-บิลเงินสด ถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
-ค่าน้ำมันรถยนต์ไม่เกิน 10 ที่นั่ง ถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
-ค่าน้ำมันรถตู้เกิน 10 ที่นั่ง ถือเป็นค่าใช้จ่าย และสามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
-ใบเสร็จอย่างย่อ ถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
-ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
-ค่าทางด่วน ถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
-สลิปการโอนจ่ายค่าของ ถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
-ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบค่าสินค้า ถือเป็นค่าใช้จ่าย และสามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
-ค่าวินมอเตอร์ไซต์ ถือเป็นค่าใช้จ่าย แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้
สวัสดิการพนักงานที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้
สวัสดิการต่างๆ ที่บริษัทมอบให้กับพนักงานและสามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีเพื่อทำให้บริษัทเสียภาษีน้อยลงได้ ซึ่งสวัสดิการพนักงานต่างๆ ที่กรมสรรพากรกำหนดให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้จะต้องเข้าเงื่อนไข โดยสวัสดิการพนักงานที่สามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ จะต้องมีการระบุไว้ชัดเจนในคู่มือพนักงาน และการให้สวัสดิการจะต้องให้กับพนักงานทุกคน โดยทุกคนจะได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน สามารถอธิบายได้ดังนี้
1.สวัสดิการมอบรางวัลเป็นทองเนื่องจากทำงานมานาน ในกรณีนี้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน
2.สวัสดิการงานศพ และงานแต่งงาน ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท
3.สวัสดิการสมาชิกฟิตเนส กอล์ฟ สปอร์ตคลับ ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน
4.สวัสดิการปีใหม่ กีฬาสี ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท
5.สวัสดิการค่าน้ำมันรถพนักงานขับมาทำงาน ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน
6.สวัสดิการเบี้ยเลี้ยง (เป็นประจำ) ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน
7.สวัสดิการเบี้ยเลี้ยง (เป็นครั้งคราว) ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท
8.สวัสดิการประกันภัยแบบกลุ่มให้พนักงาน ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท
9.สวัสดิการเงินช่วยเหลือบุตร ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน
10.สวัสดิการทำประกันชีวิตให้กรรมการ ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน
11.สวัสดิการรถประจำตำแหน่งและค่าน้ำมัน ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน
12.สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท
กล่าวโดยสรุป นอกจากสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้กับลูกจ้างหรือพนักงาน ที่นอกเหนือจากค่าจ้างและเงินเดือนตามปกติ โดยอาจอยู่ในรูปของตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงินก็ได้ จะช่วยทำให้ลูกจ้างมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพและเพิ่มระดับความรู้สึกผูกพันกับองค์การแล้ว
ค่าใช้จ่ายจากการให้สวัสดิการเหล่านี้ รวมถึงรายจ่ายอื่นๆ ของกิจการ ยังนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการเพื่อช่วยลดภาระการเสียได้ดีอีกด้วย
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Inflow Accounting