posttoday

ส่องเทรนด์ “ทองคำ” ปี 2568 ลุ้นทะลุ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ?

14 ธันวาคม 2567

รู้ก่อนซื้อ! “ทองคำ” ปี 2568 เปิด 5 ปัจจัย “นโยบายทรัมป์-ลดดอกเบี้ย-ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์-สงครามการค้า-หนี้สหรัฐฯ”หนุนราคาทองมีโอกาสแตะระดับ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์

     "ทองคำ" เป็นสินทรัพย์ลงทุนที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วอย่างยาวนาน และได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นแหล่งสะสมความมั่งคั่ง (อ้างอิงข้อมูล: SET)

     1. สามารถสร้างผลตอบแทนระยะยาวเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อได้ 

     2. มีความปลอดภัยหากลงทุนในช่วงวิกฤติ 

     3. มีสภาพคล่องสูง และมีรูปแบบการลงทุนที่หลากหลาย 

     แต่หากเราอ้างอิงราคาทองคำในไทย ไม่ว่าจะเป็นราคาทองคำแท่งหรือรูปพรรณ มักจะมีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

     ราคาทองแท่ง 96.5% 1 บาท มาไกลแค่ไหน

ส่องเทรนด์ “ทองคำ” ปี 2568 ลุ้นทะลุ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ?

หมายเหตุ:

     - ราคาทองอ้างอิงจากประกาศ จากสมาคมค้าทองคำ (Gold Traders Association)

     - สรุปราคาทองประจำเดือนล่าสุด (พฤศจิกายน) สิ้นสุดของราคาทองที่ประกาศ ณ วันอังคารที่ 26 พ.ย. 67      

     - ราคาต่ำสุดและสูงสุด เป็นราคาทองขายออกที่อ้างอิงจากราคาทองคำแท่งชนิด 96.5%

     - Source: ทองคำราคา.com (As of 26 Nov 2024)

     มุมมองทองคำ จาก BLS Research ราคาทองคำได้รับปัจจัยบวกทะลุเป้าหมาย 2,500 ดอลลาร์ต่อออนซ์แล้ว จากการลดดอกเบี้ยเฟด การลงทุนใน ETF ทองคำที่เพิ่มขึ้น ความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งสหรัฐฯ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ราคาทองคำ คาดว่าจะผันผวนมากขึ้น พร้อมความเสี่ยงเผชิญแรงขายในช่วงท้ายปี

     ขณะที่ มุมมองทองคำ จาก Goldman Sachs มีมุมมอง มองโลกในแง่ดีต่อทองคำ ราคาทองคำจะพุ่งสูงขึ้นถึง 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ภายในปี 2025 โดยมีปัจจัยหนุนหลักมาจากหลายด้าน ได้แก่

     1. ธนาคารกลางซื้อทองคำมากขึ้น: สนับสนุนการปรับตัวสูงขึ้นของราคาทองคำ

     2. เฟดลดดอกเบี้ย: เพิ่มความน่าสนใจให้ทองคำในช่วงดอกเบี้ยต่ำ

     3. นโยบายทรัมป์: การบริหารประเทศของ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมือง หนุนการถือครองทองคำ

     4. ความขัดแย้งทางการค้า: ความตึงเครียดทางการค้าทำให้เกิดเงินเฟ้อ ส่งผลดีต่อราคาทองคำ

     5. หนี้สินสหรัฐฯ: ความกังวลด้านการคลังของสหรัฐ ทำให้ธนาคารกลางซื้อทองคำเพิ่มขึ้น

     ช่องทางการลงทุนในทองคำ แบ่งออกเป็นการลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อม 

     1. ลงทุนตรง (ซื้อทองคำแท่ง - ทองรูปพรรณ 

     2. ลงทุนทางอ้อม ผ่านกองทุนรวมทองคำ หรือ สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า (Gold Futures) 

     โดยกองทุนทองคำแนะนำ คือ SCBGOLDH, SCBGOLD, SCBGOLDH-SSF (กองลดหย่อนภาษี) และ SCBGOLDHRMF (กองลดหย่อนภาษี) ทั้งนี้นักลงทุนสามารถติดตามราคาทองคำได้ง่าย ๆ ผ่าน Aspen และสามารถดูการวิเคราะห์ราคาทองคำ ผ่าน Stock Signals อย่างไรก็ดีนักลงทุนสามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ผ่าน Wealth CONNEX เมนู Knowledge