จับตาแคนดิเดท "ผู้ว่า รฟม" 2ขั้ว”ทุน-การเมือง“แบ็คอัพ
จับตาแคนดิเดท "ผู้ว่า รฟม" 2 ขั้วกลุ่มทุน-การเมืองหนุนเต็มที่ หวังพลักดันสานต่อนโยบายเรือธง ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย วัดใจกรรมการสรรหา 25 เม.ย.68 นี้ ใครจะเข้าวิน
การสรรหาผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หลังจากเปิดรับสมัครตั้งแต่ 21 ม.ค. 68 และมีผู้ที่ผ่านการตรวจคุณสมบัติ 4 ราย คือ
- นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้บริหารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
- นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี รองผู้ว่าการฝ่ายกลยุทธ์และแผนงาน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
- นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
- นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาผู้ว่า รฟม. ที่มีนายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานกรรมการสรรหาฯ กำหนดให้ ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ เข้าแสดงวิสัยทัศน์ ในวันที่ 25 เม.ย.68 นี้ โดยกำหนดให้แต่ละคน นำเสนอวิสัยทัศน์ภายในเวลาประมาณ 15 นาที และรับการสัมภาษณ์ประมาณ 30 นาที และให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด จะทำให้สามารถทราบผลเบื้องต้นเป็นการภายในว่าใครจะเป็นผู้ชนะได้คะแนนมากที่สุดภายในวันเดียวกัน
ศึกตัวแทนการเมือง -ทุน ล็อกเป้าเก้าอี้สานต่อนโยบาย
การสรรหา ผู้ว่าการ รฟม.ครั้งนี้ น่าจับตามากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ กลุ่มการเมือง และ กลุ่มทุนรถไฟฟ้า ต่างหนุนคนของตัวเองเข้าห้ำหั่นชิงชัย หวังยึดเก้าอี้ผู้ว่าการ รฟม. สานต่อนโยบายสำคัญในอนาคต โดยเฉพาะ นโยบายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ที่รัฐบาลเพื่อไทยประกาศเป็นนโยบายธง ที่ต้องผลักดันให้ได้ ในขณะเดียวกัน ทุนรถไฟฟ้าก็หวังว่าการเดินนโยบายดังกล่าว รฟม.จะเป็นหัวเรือใหญ่ในเรื่องค่าใช้จ่าย การจัดสรรงบประมาณมารับการชดเชยการเดินนโยบายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายเช่นกัน
เจาะกลุ่มการเมือง ฐานทุนในกระทรวงคมนาคม หนุนคนในสังกัด
กระทรวงคมนาคมในฐานะเจ้าสังกัดของ รฟม. มีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการ และ มี 2 รัฐมนตรีช่วย อย่าง มนพร เจริญศรี และ สุรพงษ์ ปิยะโชติ โดยบทบาทของทั้งสามรัฐมนตรี ต่างมีบทบาทหน้าที่ และมีสายสัมพันธ์กับทีมทุนหนุนหลังที่ต่าง ดังนั้น การช่วงชิงเก้าอี้ ผู้ว่าการ รฟม. ครั้งนี้ จึงเกิดสภาพการก่อศึกภายในอย่างเงียบๆ ต่างคนต่างใช้พลังภายใน กันอย่างเต็มกำลัง โดย 2 รัฐมนตรีชายในกระทรวงแห่งนี้
เจ้ากระทรวงอย่างสุริยะ ว่ากันว่า แม้จะเป็นระดับกระเป๋าเงินของพรรคมีสไตล์ การทำงานที่ใจถึงไม่เบา ได้รับความไว้วางใจจากนายใหญ่พอควร แต่ในฐานนะส่วนตัว ความสัมพันธ์กับทุนรถไฟฟ้าค่ายหนึ่ง ก็ถือว่าลึกซึ้ง ซึ่งกลุ่มนี้ทุ่มทุนหนุนสุดตัวให้กับ " ว." ตัวเต็งคนหนึ่งที่มีโอกาสคว้าชัยในศึกครั้งนี้ ด้วยบทบาทที่ผ่านมาก็มีส่วนสำคัญในการพลักดันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
ในขณะรมช.อย่าง รัฐมนตรีหนุ่ย สุรพงษ์ ปิยะโชติ วงในรู้กันดีว่า โควต้ารัฐมนตรีช่วยนี้ ค่ายใหญ่ทุนรถไฟฟ้าอีกค่ายหนึ่งเป็นผู้หนุนหลัง ซึ่งคนที่สายนี้หวังอยากให้ขึ้นนั่งเก้าอี้ ผู่ว่าการรฟม. กลับเป็น " ก. " ด้วยเห็นว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราง ในอดีตเคยนั่งเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มาก่อนเช่นกัน
การเดินเกมชิงเก้าอี้ผู้ว่าการ รฟม.ก่อนหน้า แหล่งข่าวระดับสูง เผยว่า เจ้ากระทรวงเคยเปิดอกคุยกับ รมช. และนายทุนใหญ่ตกลงปลงใจ ยอมรับจะผลักดันหนุน "ก." ให้เดินหน้าเข้าเส้นชัยในศึกครั้งนี้ แต่ ล่าสุดเกม อาจพลิก เมื่อคู่แข่งคนสำคัญไหวตัวเดินเข้าหาเจ้า
กระทรวงเสนอตัวพร้อมรับผิดชอบในตำแห่งสูงสุดขององค์กรแห่งนี้ ทำให้ ศึกครั้งนี้ยังไม่จบที่สำคัญสัญญาณล่าสุด "ก."ได้รับแรงหนุนจากV1 และ V2 ทำให้แต้มกลับมาเป็นต่อ ดังนั้นรอลุ้นกันต่อว่าใครจะเข้าวินกันแน่
มาถึงขั้นนี้ คนที่น่าจะหนักอกหนักใจในการในการสรรหา ผู้ว่าการ รฟม. คงตกอยู่กับคณะกรรมการสรรหา โดยเฉพาะประธานคณะกรรมการสรรหา "ปัญญา ชูพานิช" งานนี้คงต้องใช้พลังในการเฟ้นหาคนที่เหมาะสมกันหนัก คงต้องลุ้นกันในวัน ที่ 25 เม.ย.68 นี้
ล่าสุด ข่าวล่ามาแรงว่า ในช่วงเช้าคณะกรรมการสรรหาจะลงคะแนนคัดเลือกเพื่อนำรายชื่อเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พิจารณาในช่วงบ่าย หากที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบ จะเสนกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป คาดว่า ครม.จะอนุมัติประมาณเดือน มิถุนายน 2568 และเข้ารับตำแหน่ง