เบี้ยยังชีพคนชรา – สิทธิประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ
คอลัมน์ ตลาดนัดการเงิน โดย... K-Expert อิสราภรณ์ บูรณิกานนท์ ที่ปรึกษาการเงินธนาคารกสิกรไทย
คอลัมน์ ตลาดนัดการเงิน โดย... K-Expert อิสราภรณ์ บูรณิกานนท์ ที่ปรึกษาการเงินธนาคารกสิกรไทย
ในช่วงปลายปี นับว่าเป็นช่วงสำคัญสำหรับผู้ที่มีอายุใกล้ 60 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เรียกว่าผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นการลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพคนชรา โดยในปี 2562 จะเริ่มเปิดรับการลงทะเบียนในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน 2562 สำหรับผู้ที่เกิดก่อน 2 กันยายน 2504 เพื่อรับสิทธิรับเบี้ยยังชีพคนชราในปี 2564 เพื่อให้เข้าใจหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิเบี้ยยังชีพคนชรา เรามาทำความรู้จักเบี้ยยังชีพคนชรา หรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุกัน
เบี้ยยังชีพคนชรา หรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเงินช่วยเหลือที่ภาครัฐจัดสรรไว้ให้กับผู้สูงอายุ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในยามเกษียณในแต่ละเดือน โดยในทุก ๆ ปี จะมีการเปิดให้ผู้สูงอายุรายใหม่ ๆ ที่มีสิทธิ เข้ามาลงทะเบียนเพื่อรับเงินในส่วนนี้ โดยการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องไปลงทะเบียนใหม่ทุกปี ลงเพียงครั้งเดียวก็ได้รับสิทธิไปตลอด เว้นแต่กรณีที่ผู้สูงอายุย้ายที่อยู่ หรืออาจมีปัญหารายชื่อตกหล่น ถึงค่อยไปทำการยืนยันสิทธิแก้ไขปรับปรุงข้อมูลให้สมบูรณ์
ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
• สัญชาติไทย
• อายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยการลงทะเบียนช่วงปลายปี 2562 (เริ่มตุลาคม – พฤศจิกายน 2562) ต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2504 และจะเริ่มได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุงวดแรก ในเดือนถัดไปจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปี เช่น เกิดเดือนสิงหาคม 2504 ก็จะเริ่มได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเดือนกันยายน 2564 ทั้งนี้ สำหรับผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎร์ระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่า เกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น และมีรายละเอียดการลงทะเบียนในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้
• ต้องไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ ทั้งนี้ สำหรับผู้รับสิทธิประโยชน์ กรณีบำนาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคม เงินบำนาญชราภาพจากประกันสังคมดังกล่าว ไม่ใช่เงินสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ ดังนั้น ผู้ประกันตนข้างต้น จึงสามารถได้รับสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
สถานที่ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
• ในส่วนของกรุงเทพมหานคร สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นยื่นแทน ที่สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
• ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดยื่นเรื่องไปยัง สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
อัตราเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและช่องทางการรับเงิน
การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปัจจุบัน จะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นรายเดือนต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ตลอดชีวิต โดยได้รับเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามช่วงอายุ และสามารถระบุช่องทางการรับเงินได้
การแจ้งบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
สำหรับผู้สูงอายุที่มีฐานะดีอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน สามารถช่วยเหลือสังคมได้ โดยแจ้งความประสงค์บริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โดยมีเงื่อนไขการบริจาค และประโยชน์จากการบริจาค ดังนี้
ทั้งนี้ สำหรับผู้สูงอายุ อย่าลืมไปใช้สิทธิรับเบี้ยยังชีพคนชรา หรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุกันนะค่ะ หรือหากไม่มีความจำเป็นต้องใช้เบี้ยยังชีพฯ ดังกล่าว เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ก็สามารถแจ้งบริจาคเข้ากองทุนผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย เพื่อรับเหรียญเชิดชูเกียรติและรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่กับสิทธิประโยชน์จากเบี้ยยังชีพคนชรา