นิด้าโพลเผย ประชาชน 59.77% เชื่อเจ้าหน้าที่รัฐป้องผู้มีอิทธิพล
“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจเรื่อง “ผู้มีอิทธิพลกับเจ้าหน้าที่รัฐ” ชี้ ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐปกป้องผู้มีอิทธิพล ขณะที่ 39% ไม่มั่นใจตำรวจให้ความยุติธรรม หากประชาชนขัดแย้งผู้มีอิทธิพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ผู้มีอิทธิพลกับเจ้าหน้าที่รัฐ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับผู้มีอิทธิพลกับเจ้าหน้าที่รัฐ
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงกลุ่มของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่จังหวัด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.54 ระบุว่า ในเขตพื้นที่ไม่มีผู้ใด เป็นผู้มีอิทธิพล รองลงมา ร้อยละ 26.34 ระบุว่า นักการเมืองท้องถิ่น ร้อยละ 15.95 ระบุว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ตำรวจ ร้อยละ 13.21 ระบุว่า ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 12.14 ระบุว่า พ่อค้า นักธุรกิจ นายทุนสีเทา ร้อยละ 6.03 ระบุว่า พ่อค้า นักธุรกิจ นายทุนทั่วไป ร้อยละ 5.95 ระบุว่า นักการเมืองระดับชาติ ร้อยละ 5.04 ระบุว่า นักเลงหัวไม้ มือปืน ร้อยละ 4.81 ระบุว่า ทหาร ร้อยละ 2.44 ระบุว่า ประธาน กรรมการชุมชน ร้อยละ 0.76 ระบุว่า สื่อมวลชน คนวงการบันเทิง และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความกล้าของประชาชนที่จะมีปัญหาหรือมีข้อขัดแย้งกับผู้มีอิทธิพล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 60.30 ระบุว่า ไม่กล้าเลย รองลงมา ร้อยละ 16.34 ระบุว่า ไม่ค่อยกล้า ร้อยละ 12.75 ระบุว่า กล้าอยู่แล้ว ร้อยละ 9.08 ระบุว่า ค่อนข้างกล้า และร้อยละ 1.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองและให้ความยุติธรรมของตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อประชาชนมีปัญหาหรือมีข้อขัดแย้งกับผู้มีอิทธิพล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย รองลงมา ร้อยละ 37.10 ระบุว่า ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 13.51 ระบุว่า ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 9.92 ระบุว่า มั่นใจมาก และร้อยละ 0.54 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการที่มีตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐบางคนทำตัวเป็นลูกน้อง ผู้ปกป้องคุ้มครองผู้มีอิทธิพล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.77 ระบุว่า เชื่อมาก รองลงมา ร้อยละ 26.49 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 8.32 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 4.35 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย และร้อยละ 1.07 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ