posttoday

ส่อง5อ่างเก็บน้ำล้นเกินเกณฑ์สูงสุด ทั่วไทยต้องเฝ้าระวังอุทกภัยต่อเนื่อง

27 กันยายน 2567

ส่อง5อ่างเก็บน้ำล้นเกินเกณฑ์สูงสุด แม่น้ำปิงมีแนวโน้มระดับน้ำลด แต่เขื่อนแม่งัดปริมาณน้ำล้นสปิลเวย์ เขื่อนเจ้าพระยาจะปรับการระบายน้ำเพิ่ม เตือนน้ำทะเลหนุนสูง 28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2567 มี7จังหวัดพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง

สำนักงานทรัพยากรนำแห่งชาติ (สนทช.) รายงานว่า สถานการณ์ฝนตกหนักทางตอนเหนือของไทยและที่จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโชกแรง ช่วงวันที่ 30 ก.ย. – 1 ต.ค. 67 ตามรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา ทำให้มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีปริมาณน้ำมากกว่าเกณฑ์เก็บกักสูงสุด ได้แก่ 

  • อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ 
  • อ่างเก็บน้ำกิ่วลม อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จ.ลำปาง 
  • อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จ.อุดรธานี 
  • อ่างเก็บน้ำน้ำอูน จ.สกลนคร 
  • และอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี 
     

สถานการณ์น้ำแม่น้ำโขงเหนือ 

บริเวณแม่น้ำกกที่สถานี G.10 อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ระดับน้ำปัจจุบัน 3.70 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 0.20 ม.) คาดการณ์ 7 วันล่วงหน้าพบว่าแนวโน้มลดลงต่ำกว่าตลิ่งในวันที่ 27 ก.ย. 67 และสถานี G.8 อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ระดับน้ำปัจจุบัน 4.66 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 0.66 ม.) คาดการณ์ 7 วันล่วงหน้าพบว่าแนวโน้มลดลงต่ำกว่าตลิ่งในวันที่ 27 ก.ย. 67
 
สถานการณ์น้ำแม่น้ำปิง 

บริเวณ สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานการณ์ปัจจุบัน ระดับน้ำ 4.88 ม. สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.18 ม. (ระดับตลิ่ง 3.70 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง

ปัจจุบันเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลมีปริมาณน้ำ 297.783 ล้าน ลบ.ม. (112.64 % ของความจุอ่างฯ) มีน้ำล้นอาคารระบายน้ำล้นฉุกเฉิน 30.11 ลบ.ม./วินาที
   
สถานการณ์น้ำแม่น้ำวัง 

  • สถานี W.3A บ้านดอนชัย อ.เถิน จ.ลำปาง ระดับน้ำ 5.67 ม. สูงกว่าระดับตลิ่ง 0.87 ม. (ระดับตลิ่ง 4.80 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 
  • สถานี W.23 บ้านแม่เชียงราย อ.สามเงา จ.ตาก ระดับน้ำ 7.88 ม. สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.33 ม. (ระดับตลิ่ง 6.30 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 
  • สถานี W.24 บ้านแม่เชียงราย อ.สามเงา จ.ตาก ระดับน้ำ 9.13 ม. สูงกว่าระดับตลิ่ง 0.63 ม. (ระดับตลิ่ง 8.50 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มทรงตัว 

ปัจจุบันยังมีปริมาณน้ำไหลงลงเขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนกิ่วลม ทำให้ระดับน้ำในเขื่อนสูงขึ้น จึงต้องพร่องน้ำออกจากเขื่อน โดยเขื่อนกิ่วคอหมา ปัจจุบันระบายน้ำในอัตรา 245 ลบ.ม./วินาที และเขื่อนกิ่วลม ระบายน้ำในอัตรา 391 ลบ.ม./วินาที โดยจะบริหารให้มีผลกระทบต่อท้ายน้ำน้อยที่สุด 

ส่งผลให้สถานการณ์บริเวณลุ่มน้ำวังท้ายเขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา น้ำวังเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร และพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำวัง บริเวณ ต.ปงดอน ต.แจ้ห่ม ต.วิเชตนคร ต.บ้านสา และ ต.แม่สุก อ.เมือง จ.ลำปาง

สถานการณ์น้ำแม่น้ำยม 

  • สถานี Y.1C อ.เมือง จ.แพร่ ปัจจุบันมีระดับน้ำ 9.36 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 1.16 ม.) แนวโน้มเพิ่มขึ้นและจะลดลงเข้าสู่ตลิ่งวันที่ 28 ก.ย. 67
  • สถานี Y.20 อ.สอง จ.แพร่ ปัจจุบันมีระดับน้ำ 7.78  ม. (ต่ำกว่าตลิ่ง 0.32 ม.) และมีแนวโน้มปริมาณน้ำลดลง และจะเพิ่มขึ้นในอีก 6 วันข้างหน้า จนถึงปริมาณน้ำคาดการณ์ 233 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำ 4.81 ม. (ต่ำกว่าตลิ่ง 3.29 ม.) ในวันที่ 2 ต.ค. 67 
  • สถานี Y.33 อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย มีระดับน้ำ 11.71 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 1.31 ม.) และมีแนวโน้มปริมาณน้ำลดลง 
  • สถานี Y.64 ต.บางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ปัจจุบันระดับน้ำ 7.70 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 1.30 ม.) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอีก 2 วันข้างหน้า จนมีปริมาณน้ำคาดการณ์ 562 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำ 7.88 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 1.48 ม.) ในวันที่ 28 ก.ย. 67 และจะเริ่มลดลง
  • สถานี Y.16 ต.บางระกำ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำ 8.67 ม. สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.37 ม. (ระดับตลิ่ง 7.30 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

    
สถานการณ์แม่น้ำน่าน

  • สถานี N.13A อ.เวียงสา  จ.น่าน ปัจจุบันมีระดับน้ำ 6.12 ม. (ต่ำกว่าตลิ่ง 0.38 ม.) มีแนวโน้มลดลง
  • สถานี N.67 คาดการณ์ล่วงหน้า 7 วัน พบว่าปริมาณน้ำจะอยู่ในช่วง 1,150 – 1,270 ลบ.ม./วินาที (ความจุลำน้ำ 1,450 ลบ.ม./วินาที) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 

   
สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา

  • สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ความจุลำน้ำ 3,660 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 1,865 ลบ.ม./วินาที (ร้อยละ 51 ของความจุลำน้ำ) คาดว่าในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีปริมาณน้ำจะอยู่ในช่วง 1,900 – 2,000 ลบ.ม./วินาที (ร้อยละ 52- 55 ของความจุลำน้ำ)

-เขื่อนเจ้าพระยา วันที่ 27 ก.ย. 67 เวลา 06.00 น. ปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาสถานี C.2 จ.นครสวรรค์ที่ 1,930 ลบ.ม./วินาที และระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยาที่อัตรา 1,699 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในพื้นที่ลุ่มต่ำเพิ่มสูงขึ้นอีก

-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำเก็บกัก 545 ล้าน ลบ.ม. (57%) (ระดับเก็บกักน้ำสูงสุด 960 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรับน้ำได้อีก 415 ล้าน ลบ.ม. ได้ทยอยปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันได ในช่วงวันที่ 26 -28 ก.ย. 67 อัตราการระบายอยู่ในเกณฑ์ 200-260 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 0.60 – 0.80 เมตร

สถานี C.29A ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความจุลำน้ำ 3,500 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 1,759 ลบ.ม./วินาที (ร้อยละ 50 ของความจุลำน้ำ)   
   
สถานการณ์แม่น้ำมูล 

  • สถานี M.7 อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันมีระดับน้ำ 6.12 ม. (ต่ำกว่าตลิ่ง 0.88 ม.) แนวโน้มเพิ่มขึ้น

   
สถานการณ์แม่น้ำชี ปัจจุบันน้ำล้นตลิ่ง

  • สถานี E.92 อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ปัจจุบันมีระดับน้ำ 9.72 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 0.92 ม.) แนวโน้มเพิ่มขึ้น 
  • สถานี E.8A อ.เมือง จ.มหาสารคาม ปัจจุบันมีระดับน้ำ 10.17 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 0.67 ม.) แนวโน้มเพิ่มขึ้น 
  • สถานี E.66A อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ปัจจุบันมีระดับน้ำ 11.82 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 0.22 ม.) แนวโน้มทรงตัว 
  • สถานี E.85 อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ปัจจุบันมีระดับน้ำ 5.41 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 0.19 ม.) แนวโน้มทรงตัว

   
สถานการณ์แม่น้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ น้ำล้นตลิ่งบริเวณแม่น้ำสงคราม 

  • สถานี Kh.74 อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ปัจจุบันมีระดับน้ำ 9.53 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 0.03 ม.) แนวโน้มทรงตัว 
  • สถานี Kh.103 ห้วยหลวง อ.เมือง จ.อุดรธานี ปัจจุบันมีระดับน้ำ 5.45 ม. (สูงกว่าตลิ่ง 0.45 ม.) แนวโน้มเพิ่มขึ้น

สถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบัน พบในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่ 

  • จ.เชียงราย (อ.แม่สาย เวียงป่าเป้า และเมืองฯ) 
  • จ.เชียงใหม่ (อ.แม่ริม และเมืองฯ) 
  • จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ ป่าซาง บ้านธิ ทุ่งหัวช้าง และแม่ทา) 
  • จ.แม่ฮ่องสอน (อ.ปาย) 
  • จ.น่าน (อ.ภูเพียง นาหมื่น และเวียงสา) 
  • จ.ลำปาง (อ.งาว เมืองฯ เกาะคา ห้างฉัตร แม่พริก สบปราบ เถิน แม่เมาะ 
  • วังเหนือ แม่ทะ และแจ้ห่ม) 
  • จ.แพร่ (อ.ลอง วังชิ้น สูงเม่น และเมืองฯ) 
  • จ.เพชรบูรณ์ (อ.ชนแดน ศรีเทพ หนองไผ่ และหล่มเก่า) 
  • จ.สุโขทัย (อ.สวรรคโลก และศรีสำโรง) 
  • จ.พิษณุโลก (อ.พรหมพิราม บางระกำ บางกระทุ่ม วังทอง และเมืองฯ) 
  • จ.เลย (อ.เมืองฯ) จ.หนองคาย (อ.ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ เมืองฯ และโพนพิสัย) 
  • จ.อุดรธานี (อ.สร้างคอม และเมืองฯ) 
  • จ.ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ บ้านท่า ภูเขียยว แก้งคร้อ และคอนสวรรค์) 
  • จ.ขอนแก่น (อ.แวงใหญ่ แวงน้อย และชุมแพ) 
  • จ.อุบลราชธานี (เขมราฐ โพธิ์ไทร นาตาล โขงเจียม และเมืองฯ) 
  • จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล บางปะอิน ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา เสนา และบางไทร) 
  • และ จ.ปราจีนบุรี (อ.ประจันตคาม นาดี กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ์)

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศ เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงช่วงวันที่ 28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2567 เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง พัดปกคลุมอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักในบางพื้นที่ ประกอบกับมวลน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำไหลลงมาสมทบ

ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีน ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

สนช.การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน ช่วงวันที่ 26 - 28 ก.ย. 67จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ 

  • ภาคตะวันตก จ.เพชรบุรี (อ.แก่งกระจาน) 
  • ภาคใต้ จ.ยะลา (อ.เบตง) และ จ.นราธิวาส (อ.จะแนะ)

 
ภาพปก เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล 
เครดิตภาพ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 กรมประชาสัมพันธ์