posttoday

เกาะติดน้ำท่วมไทย เหลือ14จังหวัด เดือดร้อน 34,423 ครัวเรือน

01 ตุลาคม 2567

สถานการณ์น้ำท่วม67 ประจำวันวันที่ 1ตุลาคม 2567 กรมป้องกันและบรรเทสาธารณภัย รายงานประเทศไทยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย 14จังหวัด ประชาชนเดือดร้อน 34,423 ครัวเรือน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ปรับลดระบายน้ำลงท่าจีน ลดผลกระทบพื้นที่สุพรรณบุรี-นครปฐม

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยประจำวันที่ 1ตุลาคม 2567 โดยเป็นการรวบข้อมูลในรอบวัน เมื่อ 30กันยายน 2567 ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วม ในพื้นที่ 14 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ตาก พิษณุโลก สุโขทัย หนองคาย อุดรธานี ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี อ่างทอง พระนครศรีอยธยา ครอบคลุมพื้นที่  48 อำเภอ 232 ตำบล 1,215 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 34,423 ครัวเรือน  

สถานการณ์น้ำท่วม67 ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค.-1 ต.ค. เกิดขึ้นพื้นที่ 37 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองคาย นครพนมขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุบสราชธาชธานี ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ระยองชุมพร สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต ยะลา นครศรีธรรมราช พังงา ตรัง สตูล

ครอบคลุมพื้นที่ 220 อำเภอ 942 ตำบล 5,004 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 181,870 คร้วเรือน มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัย 26 ราย (เชียงราย 12 ราย พะเยา 4 ราย ลำปาง 3 ราย น่าน 3 ราย แพร่ 2 ราย สุโขทัย 2 ราย มีผู้เสียชีวิตจากดินถล่ม 23 ราย (เชียงราย 4 ราย เชียงใหม่ 6 ราย ภูเก็ต 13 ราย) รวมผู้เสียชีวิต 49 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 ราย  

ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
 

นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง  รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)  เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำทั่วประเทศว่า เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักกับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

สำหรับสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา วันนี้ปริมาณน้ำที่สถานี C.2 จ.นครสวรรค์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ในช่วง 3 วันข้างหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2,100 ลบ.ม./วินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยามีการระบายน้ำ 1,899 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มทรงตัว และคงอัตราการระบายน้ำไม่เกิน 1,900 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้มีการปรับลดการระบายน้ำออกทางฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะแม่น้ำท่าจีน เพื่อช่วยลดผลกระทบในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี และนครปฐม

 

 
 

ประกาศ สทนช. เฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 30 ก.ย. - 3 ต.ค. 67

เนื่องจากความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำลันตลิ่งบริเวณ 

- ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน พิจิตร สุโขทัย นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี 
- ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี จันทบุรี และตราด 
- ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี 
- ภาคใต้ จ.ภูเก็ต ยะลา และนราธิวาส

ที่มา สำนักงานทรัพยากรนำแห่งชาติ