posttoday

น้ำเหนือผ่านนครสวรรค์ 2,367 ลบ.ม./วินาที ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาน้ำสูง70ซม.

05 ตุลาคม 2567

กรมชลประทาย รายงาน น้ำเหนือไหล่บ่าผ่านC2นครสวรรค์ 2,367 ลบ.ม./วินาที เขื่อนเจ้าพระยาคงอัตราการระบายน้ำ 1,999 ลบ.ม./วินาที ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 เตือนริมฝั่งแม่น้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ปริมาณน้ำสูงขึ้น 70ซม. ปทุมธานี -กทม.เร่งพร่องนำสาขารอ

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 กรมชลประทาน รายงานว่า เขื่อนเจ้าพระยา  ควบคุมระบายน้ำในอัตรา 1,999 ลบ.ม./วินาที ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ขณะที่สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,367 ลบ.ม./วินาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ (4ตุลาคม 2567) 21 ซม. แต่ยังต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 1.97 ม.

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00น. ปริมาณน้ำเหนือไหลผ่าน สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์2,282 ลบ.ม./วินาที
แนวโน้ม เพิ่มขึ้น20 ซม. จากจากเมื่อวันที่ 3ตุลาคม 2567 แต่ยังต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 2.18 ม.

ทั้งนี้ปัจจุบันมีปริมาณฝนตกหนักทางพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์สถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ในช่วง 1 - 7 วันข้างหน้า ที่สถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 2,200 - 2,500 ลบ.ม./วินาที

กรมชลประทาน จำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตราไม่เกิน 2,400 ลบ.ม./วินาที โดยจะควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพของพื้นที่
 

การระบายน้ำในอัตราดังกล่าว จะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ บริเวณระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 60-70 เซนติเมตร ประกอบด้วย 

คลองโผงเผง จ.อ่างทอง , คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา 
แม่น้ำน้อยบริเวณ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท
อ.พรหมบุรี อ.เมือง อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
วัดไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง
ต.โพนางดำตก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
วัดเสือข้าม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

ทั้งนี้ กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำเขื่อนเจ้าพระยาและผันน้ำเข้าฝั่งซ้าย-ขวาของเขื่อนเจ้าพระยาให้เหมาะสม พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลการปล่อยน้ำแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่นอกคันกั้นน้ำให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน เพื่อขนย้ายสิ่งของและเตรียมอพยพได้ทัน
 
กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี ตรวจสอบเครื่องสูบน้ำและประตูระบายน้ำให้พร้อมใช้งาน รวมถึงเร่งกำจัดขยะและผักตบชวาในพื้นที่ เพื่อไม่ให้กีดขวางทางน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและเร่งพร่องน้ำในคลองสาขา เตรียมรับน้ำหากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ 

เกาะติดตามสถานการณ์น้ำ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา