เผยต้นตอแผ่นดินไหว จากรอยเลื่อนสะกายลึก 10 กม. เตือนอาฟเตอร์ช็อค
แผ่นดินไหว 7.7 แมกนิจูด ต้นตอมาจาก “รอยเลื่อนสะกาย” ในพม่า ลึก 10 กม. นักวิชาการเตือนอาฟเตอร์ช็อค ล่าสุดอาคารที่ถล่มคือ โครงการก่อสร้าง สตง.
แผ่นดินไหวรุนแรง 7.7 แมกนิจูดในเมียนมา สะเทือนถึงไทย
วันที่ 28 มีนาคม 2568 กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาของไทยได้อัปเดตประกาศเรื่องแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาว่า มีขนาด 8.2 แมกนิจูดความลึก 10 กิโลเมตร แต่สื่อต่างประเทศหลายสำนักยังคงใช้ข้อมูลของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) ว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาด 7.7 และลึก 16 กิโลเมตร โดยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองสะกาย (Sagaing) และใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay)
รายงานเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศเมียนมา ทีสาเหตุเกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ซึ่งเป็นหนึ่งในรอยเลื่อนหลักของภูมิภาค
เผยที่มาจากการเคลื่อนตัวของ “รอยเลื่อนสะกาย”
ซึ่งเป็นแนวรอยเลื่อนชนิดระนาบเหลื่อมขวา (Right Lateral Strike-Slip Fault) ที่มีอัตราการเคลื่อนตัวเฉลี่ยปีละ 2 เซนติเมตร โดยในอดีตก็เคยสร้างเหตุสลดมาแล้วเมื่อปี 2473 ด้วยแผ่นดินไหวขนาด 7.3 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คนในเมียนมา
แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในไทยกว่า 20 จังหวัด
แรงสั่นสะเทือนครั้งนี้ส่งผลให้รู้สึกได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอาคารสูงมีรายงานว่ามีการแกว่งตัวชัดเจน
มีรายงานระบุ อาคารที่ถล่มคือ โครงการก่อสร้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แถวเขตจตุจักร หลังจากนี้น่าจะต้องมีการตรวจสอบมาตราฐานการก่อสร้าง เพราะโครงสร้างอาคารสร้างถึงชั้นบนแล้ว ไม่น่าจะเกิดเหตุถล่มได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-399-4547 หรือเว็บไซต์ www.earthquake.tmd.go.th
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สั่งการตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า)
จากเหตุแผ่นดินไหว ด่วน! รถไฟฟ้าทุกสาย ทั้ง BTS - MRT ประกาศหยุดให้บริการชั่วคราว
ด้านศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ภาคธรณีวิทยา จุฬาฯ ออกมาเตือน! พื้นที่ลุ่มภาคกลางตอนล่าง ระวัง ถ้าเกิดอาฟเตอร์ช็อค สามารถรุนแรงได้ถึง 6.6-6.7 ริคเตอร์