สตง.แจงแล้ว สร้างตึก สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ ก่อนโซเชียลถล่มยับ

30 มีนาคม 2568

สตง. แถลงเหตุแผ่นดินไหว จนอาคารสำนักงานใหม่ 30 ชั้นถล่มทั้งอาคาร และมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ยืนยันกระบวนการดำเนินโครงการฯ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

เฟซบุ๊คสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 30มี.ค.2568 ชี้แจงเหตุก่อสร้างอาคารถล่มจากแผ่นดินไหวที่เมียนมาและส่งผลมาถึงประเทศไทยหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมาระบุข้อความตามเอกสารแนบ ดังนี้

 

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
30 มีนาคม 2568

 

สตง. เร่งตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีอาคารที่ทำการสำนักงานแห่งใหม่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว พร้อมยืนยันกระบวนการดำเนินโครงการฯ เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เปิดเผยว่า กรณีอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ บริเวณถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบความรุนแรงของแผ่นดินไหวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้สูญหาย ซึ่งถือเป็นโศกนาฏกรรมที่สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง สตง. ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้สูญหาย โดยขณะนี้ได้เร่งดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ได้รับผลกระทบ พร้อมประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลังความสามารถ และจะได้เร่งดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข พร้อมทั้งแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบโดยเร็วที่สุด

 

ทั้งนี้ สตง. ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการแห่งใหม่พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ บนพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ 3 งาน บริเวณถนนพระราม 6 เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ดังนี้

 

การออกแบบอาคาร

การออกแบบอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ได้รับการออกแบบโดยบริษัท ร่มศิริภัณฑ์ จำกัด และบริษัท โมเมนตัม (ประเทศไทย) จำกัด เป็นมูลค่าของงานจำนวน 73 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2561

 

กระบวนการก่อสร้างอาคาร

สตง. ได้เสนอข้อมูลงบประมาณรายการก่อสร้าง เป็นจำนวนเงิน 2,560 ล้านบาท และได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ต่อมาได้ดำเนินการจัดจ้างรับจ้างก่อสร้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และได้ผู้ชนะการประกวดราคา ได้แก่ กิจการร่วมค้า ไอดีที - ซีอาร์ซีจี (บริษัท จิตติเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด) ซึ่งเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด มูลค่ารวม 2,136 ล้านบาท และได้ดำเนินการก่อสร้างมาแล้วเสร็จ 22% เบื้องต้นงานยังไม่ถึงกำหนดในส่วนหลังคามูลค่า 966.80 ล้านบาท

 

การบริหารสัญญาก่อสร้าง

สตง. ให้ความสำคัญกับการดำเนินการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบรูป รายละเอียดของเหตุผลในสัญญา และไปจนถึงความปลอดภัย ระเบียบ ข้อบังคับ และระยะเวลา ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ สตง. จะเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงในทุกมิติ เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหา รวมถึงมาตรฐานของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ว่ามีคุณภาพเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ สตง. ยืนยันว่าจะดำเนินการตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดตามกฎหมายทุกประการ

ท้ายที่สุด สตง. จะเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าวตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สัญญาก่อสร้างดังกล่าวมีการประกันภัยครอบคลุมรวมถึงเหตุแผ่นดินไหวตามเงื่อนไขของสัญญา

 

สำหรับกรณีที่มีผู้กล่าวเรื่องการปรับแก้แบบโครงสร้างให้มีขนาดเล็กลง เป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากโดยข้อเท็จจริงแล้ว ในการออกแบบปรับปรุงรายละเอียด ผู้ออกแบบยังคงคำนึงถึงวิศวกรรม โดยเสาเหล็ยม้วนหน้าอาคารสูงสามชั้นมีขนาดกว้างสูงประมาณ 1.40 x 1.40 เมตร ส่วนปีก 29 ติดจากผ้า เป็นเสาลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 0.80 เมตร เพื่อรองรับน้ำหนักอาคาร ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามหลักแผ่นดินไหวที่เหมาะสม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแบบอย่างอื่นได้

 

การควบคุมงานก่อสร้าง สตง. ได้ดำเนินการตรวจสอบการจัดให้มีการกำกับดูแลการควบคุมงานก่อสร้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยวิศวกรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนความชำนาญข้อกำหนด โดยมีการจ้างบริษัท PKW (บริษัท พีเคดับบลิว จำกัด) บริษัท ว. และบริษัทงานด้วยวงเงิน 74.65 ล้านบาท ซึ่งผู้ควบคุมงานต้องควบคุมงานต่อสร้างและรับรองการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุในการก่อสร้างทุกกระทรวงแบบรูปรายการ

 

ในการดำเนินโครงการก่อสร้างต่างๆ สตง. ได้พิจารณาความสุจริต คุ้มค่า โปร่งใส ประสิทธิภาพประสิทธิผล และตรวจสอบได้ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของผู้มีการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อย่างเคร่งครัด ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่เป็นผลข้อมูลในขั้นตอน มีการปฏิบัติอย่างโปร่งใสประกอบการรายโดยแท้จริง ตลอดทุกระยะเวลาเพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความคุ้มค่าในการดำเนินโครงการฯ โดยมีวงเงินค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 2,136 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับราคากลางตามประกาศกรมบัญชีกลางที่กำหนดไว้ 2,522.15 ล้านบาท (คิดเป็นส่วนลดค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้นประมาณ 386.15 ล้านบาท) นอกจากนี้ สตง. ยังได้เสนอแนะนำแนวทางแก้ไขกรณีที่พบความบกพร่องในทุกขั้นตอน โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ประชาชนและหน่วยงานรัฐ) เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและประสิทธิภาพสูงสุดในทุกด้าน รวมทั้งได้ติดตามผลดำเนินโครงการฯ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกรมธนารักษ์ในการจัดทำรายงานผลตรวจสอบครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564

 

สตง. มีความห่วงใยและมีความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินการช่วยเหลือเยียวยากับผู้ประสบภัยและภาคส่วนต่างๆ จึงได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานในสถานที่เกิดเหตุเพื่อบูรณาการความร่วมมือกับศูนย์ปฏิบัติบริการส่วนหน้าอาคารแผ่นดินไหว (อาคารส่วนในเขตจุดจึงกรุงเทพมหานคร) รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาสัมพันธ์ อำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือกับผู้ประสบภัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว

 

สำนักงานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โทร. 0 2618 5755

“เงินแผ่นดินนั้น คือเงินของประชาชนทั้งชาติ”

สตง.แจงแล้ว สร้างตึก สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ ก่อนโซเชียลถล่มยับ

สตง.แจงแล้ว สร้างตึก สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ ก่อนโซเชียลถล่มยับ

Thailand Web Stat