ติดแชตมือถือก่อนิสัยคิดตื้นเขิน
ในยุคมือถือสมาร์ตโฟนครอง เมืองเช่นนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่ผู้คนจะหันมานิยมใช้บริการส่งข้อความแชตผ่านทางวอตส์แอพ ไลน์ ไปจนถึง ทวิตเตอร์ และกูเกิลพลัส กันบ่อยครั้งขึ้น เพราะนอกจากจะถูกกว่าการใช้โทรศัพท์โทรหากันแล้ว ก็ยังมีลูกเล่นต่างๆ มาให้ได้เลือกใช้อีกมาก ทั้งการส่งภาพและสติกเกอร์แทนความหมายของคำพูด และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ของผู้พูดได้อีกด้วย
ในยุคมือถือสมาร์ตโฟนครอง เมืองเช่นนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่ผู้คนจะหันมานิยมใช้บริการส่งข้อความแชตผ่านทางวอตส์แอพ ไลน์ ไปจนถึง ทวิตเตอร์ และกูเกิลพลัส กันบ่อยครั้งขึ้น เพราะนอกจากจะถูกกว่าการใช้โทรศัพท์โทรหากันแล้ว ก็ยังมีลูกเล่นต่างๆ มาให้ได้เลือกใช้อีกมาก ทั้งการส่งภาพและสติกเกอร์แทนความหมายของคำพูด และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ของผู้พูดได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีข้อดีอยู่มาก แต่การใช้มากเกินพอดีก็อาจส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยผลการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยวินนีเพคในแคนาดา เตือนผู้ที่ใช้การส่งข้อความแชตแบบตอบโต้กันไปมาว่ากำลังมีแนวโน้มจะทำให้กลายเป็นคนที่ติดนิสัยที่ชอบรู้อะไรแบบตื้นเขิน ไม่ลึกซึ้งกับสิ่งต่างๆ รอบตัว แถมยังเป็นคนขี้บ่นไม่อดทนต่อความยากลำบาก
“ผลการศึกษาชี้ว่านักเรียนผู้ที่ชอบแชตผ่านข้อความมากเกินไปมักจะให้ความสำคัญกับในเรื่องของจิตวิญญาณ ปรัชญาความคิด และความงดงามในสุนทรียศาสตร์น้อยลง แต่จะหันไปให้ความสำคัญกับเรื่องของภาพลักษณ์ที่ดูดี และฐานะที่บ่งบอกว่าตนรวยมากขึ้น” ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวินนีเพค ระบุ
ข้อสรุปดังกล่าวที่ออกมาทั้งหมดนั้น ทางมหาวิทยาลัยวินนีเพคเปิดเผยว่า มาจากการเฝ้าติดตามดูพฤติกรรมของผู้ใช้ รวมถึงข้อความแชต ซึ่งก็พบว่าคนส่วนใหญ่ที่ใช้การส่งข้อความแชตมักจะตอบแบบรวดเร็ว แต่ขาดความลึกซึ้งและขาดการใช้ความคิดที่ลึกซึ้งกับประเด็นที่พูดคุยด้วย ซ้ำร้ายยังไม่สนใจการสะกดคำผิดถูกอีกด้วย
จึงถือเป็นข้อควรระวังสำหรับเหล่านักแชตทั้งหลายที่วันๆ มักจะพิมพ์ส่งข้อความกันไปมา เพราะภาวะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับตนเองอย่างไม่รู้ตัว