posttoday

แรงงานพม่าอยากกลับบ้าน!

20 ธันวาคม 2556

ไอโอเอ็มระบุแรงงานพม่าเกือบ 4 ใน 5 อยากกลับบ้าน เหตุเศรษฐกิจและการเมืองปรับตัวดีขึ้นคาดกระทบไทยขาดแคลนแรงงานหนัก

ไอโอเอ็มระบุแรงงานพม่าเกือบ 4 ใน 5 อยากกลับบ้าน เหตุเศรษฐกิจและการเมืองปรับตัวดีขึ้นคาดกระทบไทยขาดแคลนแรงงานหนัก

เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมใช่แรงงานหนักเช่น ประมง เกษตร และการก่อสร้าง ต้องพึ่งพาแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นกำลังสำคัญ โดยแรงงานเหล่านั้นเลือกที่จะทำงานในเมืองไทยเนื่องจากค่าจ้างที่สูงกว่าที่บ้านเกิด ทว่าเมื่อเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำลังดึงดูดให้แรงงานเหล่านี้กลับไป ทำให้มีการคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนักในอนาคต

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) แห่งประเทศไทยรายงานว่า ปัจจุบันมีชาวพม่าอพยพอยู่ในไทยราว 3 ล้านคน กว่า 2.3 ล้านคนเป็นแรงงานที่มีฝีมือแรงงานต่ำและทำงานใช้แรงงานหนักอยู่ในภาคการเกษตร ประมง และ การก่อสร้าง หลายคนจากบ้านด้วยเหตุผลด้านแรงกดดันทางการเมืองและยากลำบากเศรษฐกิจภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารพม่าในช่วง 50 ปีที่ผ่าน

ไอโอเอ็มประเทศไทยได้ร่วมกับศูนย์วิจัยการโยกย้ายถิ่นฐานเอเชีย (เออาร์ซีเอ็ม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำรวจความคิดเห็นของผู้อพยพชาวพม่ากว่า 5,027 คน ใน 7 จังหวัดของประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการทำความเข้าใจต่อสถานะและมุมมองของผู้อพยพ ซึ่งผลสำรวจออกมาว่า มีผู้อพยพชาวพม่าในไทยกว่า 80% ระบุว่าต้องการกลับไปทำงานที่พม่า ในขณะที่ 82% ของผู้ที่ตอบว่าอยากกลับบ้าน ให้เหตุผลตรงกันว่า เนื่องจากพม่ามีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองในทางที่ดีขึ้น

แรงงานพม่าอยากกลับบ้าน!


 
ทั้งนี้ หากเกิดกรณีแรงงานพม่าเคลื่อนย้ายกลับบ้านเกิดครั้งใหญ่ จะเป็นการสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมประมงและการก่อสร้างของไทยอย่างไม่ต้องสงสัย  เพราะกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวต้องพึ่งพาอาศัยแรงงานจากผู้อพยพชาวพม่าเป็นหลัก
 
อย่างไรก็ตามกลุ่มธุรกิจในเมืองไทยอาจจะยังมีเวลาเตรียมตัวกับปัญหาดังกล่าว เนื่องจากยังมีผู้อพยพชาวพม่าบางส่วน “ที่อยู่เมืองไทยมานานและเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย” มีแนวโน้มที่จะอยู่เมืองไทยต่อเนื่องจากพอใจในค่าตอบแทนที่สูงกว่าในบ้านเกิด นอกจากนี้มีเพียง 14 % ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้นที่ตอบว่า มีแผนกลับไปพม่าภายใน 2 ปีข้างหน้า

ผลสำรวจยังระบุข้อมูลที่น่าสนใจอีกด้วยว่าอีก แรงงานจากพม่าสองกลุ่มใหญ่กลับมาจากรัฐที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยคือ รัฐมอญ (26.7%) และ จากรัฐฉาน (19%) ซึ่งทั้งสองรัฐมีชายแดนติดกับประเทศไทย โดยแรงงานจากรัฐฉานให้เหตุผลที่ต่างจากแรงงานจากพม่าในภูมิภาคอื่นๆว่า เข้ามาทำงานในเมืองไทยเพื่อหนีปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรง ในขณะนี้แรงงานชาวพม่าส่วนอื่นๆที่เข้าทำงานด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ
 
ทางด้าน  เปรมใจ วังศิริไพศาล ผู้วิจัยจากเออาร์ซีเอ็มกล่าวว่า ผลการสำรวจดังกล่าวมีนัยยะสำคัญต่อประเทศไทย ซึ่งตรงกับการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ระบุว่า ประเทศไทยจะประสบกับภาวะขาดแคลนแรงงานกว่า 5.36 ล้านคน ในปี 2025

"ภาคแรงงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำจะได้รับผลกระทบมากที่สุด หากอยากรักษาแรงงานไว้ก็จำเป็นต้องเพิ่มค่าจ้างให้กับแรงงานต่างด้าว" เปรมใจกล่าว
 
ในปัจจุบัน ประเทศไทยนับเป็นประเทศมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและอัตราคนว่างงานต่ำกว่า 1% นอกจากนี้ นโยบายเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากอยากเข้ามาทำงานในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หากการเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็นับเป็นการกระตุ้นให้แรงงานต่างด้าวเหล่ากลับไปทำงานที่บ้านเกิด เนื่องจากโดยลึกๆแล้วไม่มีใครอยากทำงานไกลบ้าน ปัญหาขาดแคลนแรงงานจึงเป็นปัญหาที่ต้องคอยจับตามองและเตรียมการรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้แล้ว

แรงงานพม่าอยากกลับบ้าน!