เด็กสาววัย15เครียดป่วยเป็นโรค"แพ้Wi-Fi" สุดท้ายคิดสั้นผูกคอดับ
เด็กสาวชาวอังกฤษวัย15ปีผูกคอดับ แม้อ้างลูกเครียด-ป่วยเป็นโรค"แพ้Wi-Fi"
เด็กสาวชาวอังกฤษวัย15ปีผูกคอดับ แม้อ้างลูกเครียด-ป่วยเป็นโรค"แพ้Wi-Fi"
เว็บไซต์ข่าว'เทเลกราฟ'รายงานว่า เกิดเหตุ'เจนนี่ ไฟร์'วัยรุ่นสาววัย 15 ปีในเมืองแชดลิงตัน ในอังกฤษ ได้คิดสั้นแขวนคอฆ่าตัวตายที่ต้นไม้ข้างบ้าน แม่เผยว่าสาเหตุมาจากลูกสาวเครียดที่เป็นโรคไวต่อการสัมผัสสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Hypersensitivity: EHS) ทำให้แพ้สัญญาณWi-Fi
ผู้เป็นแม่กล่าวว่า ลูกสาวของเธอเริ่มแสดงอาการของEHSมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2012 ทุกครั้งที่เข้าใกล้จุดแพร่สัญญาณWi-Fi เจนนี่จะมีอาการเหนื่อยแรงและปวดศีรษะ ดังนั้นเธอจึงถอดเครื่องกระจายสัญญาณWi-Fiออกจากบ้าน
อย่างไรก็ตาม เจนนี่ยังคงต้องประสบอาการป่วยทุกครั้งที่ไปโรงเรียนซึ่งมีการติดตั้งเครื่องกระจายสัญญาณWi-Fi "เจนนี่ต้องถูกกักบริเวณบ่อยครั้งมาก ไม่ใช่เพราะเธอก่อกวนชั้นเรียนหรือมีพฤติกรรมแย่ แต่มักจะเดินออกจากห้องเรียนหาพื้นที่ที่เธอสามารถทำงานได้ ครั้งหนึ่งฉันเคยนำข้อมูลเรื่องอาการป่วยจากสัญญาณWi-Fiไปให้อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนดู แต่เขากลับยืนยันว่าสัญญาณWi-Fiนั้นไม่ทำอันตรายใดๆ"
เจนนี่ได้ส่งข้อความคร่ำครวญถึงความทุกข์ทรมาณถึงเพื่อนๆ หลายครั้ง ก่อนที่เธอจะก่อเหตุฆ่าตัวตาย "เจนนี่บอกเสมอว่าอยากทำงานที่โรงเรียนให้ดี และเข้ามหาวิทยาลัย แต่เธอรู้ว่าสัญญาณWi-Fi ส่งผลแย่ต่อการเรียนรู้ของเธออย่างมาก ทำให้ทุกครั้งที่เธอต้องใช้สมาธิทำงาน เจนนี่ต้องเข้าไปในห้องที่ไม่ใช้แล้วและไม่มีเครื่องกระจายสัญญาณWi-Fi"
ขณะนี่ทางครอบครัวของเจนนีกำลังรณรงค์เพื่อให้ตระหนักถึงอาการของผู้ป่วย EHS ซึ่งเป็นหนึ่งสาเหตุที่พรากชีวิตลูกสาวของพวกเขาไป
อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ใดๆ พิสูจน์ว่าเจนนี่มีอาการEHS
จากข้อมูลของสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ระบุว่า กลุ่มอาการไวต่อการรับสัมผัสสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ Electromagnetic Hypersensitivity (EHS) เป็นกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยซึ่งรู้สึกว่าได้รับสัมผัสสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่นปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ความรู้สึกที่ผิวหนังเช่น ชา คัน ปวดแสบปวดร้อน กลุ่มอาการนี้ถูกรายงานครั้งแรกที่ประเทศสวีเดน ในปี ค.ศ. 1999 จากการสำรวจทางระบาดวิทยาในประเทศสวีเดนคาดว่า ผู้ที่มีกลุ่มอาการนี้น่าจะมีอยู่ราวๆ ร้อยละ 1.5 ของประชากร และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
อย่างไรก็ดีเนื่องจากกลุ่มอาการนี้แม้จะมีอาการที่รุนแรงในผู้ป่วยบางราย แต่กลับไม่พบอาการผิดปกติทางร่างกายที่แพทย์ตรวจได้เลย ทำให้กลุ่มอาการนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโรค functional somatic syndrome และยังไม่มีหลักฐานใดชี้ชัดว่ากลุ่มอาการนี้เกิดจากการสัมผัส ELF-EMF จริง มีการทดลองแบบสุ่มหลายการทดลองที่ทำกับผู้ที่มีกลุ่มอาการนี้ ซึ่งเชื่อว่าตนเองสามารถรับรู้ถึงสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังอ่อนได้มากกว่าคนทั่วไป แต่ผลการศึกษาส่วนใหญ่ก็พบว่าคนกลุ่มนี้มีความสามารถในการรับรู้ถึงสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังอ่อนไม่ต่างจากคนปกติ
ที่มา telegraph, http://www.anamai.moph.go.th/occmed/indexarticle_elf_emf.htm