posttoday

ไม่ทันถึงไทยแน่ เผยชาวคูเวตก็นิยมกินตั๊กแตนราคาขีดละหลายร้อย

03 กุมภาพันธ์ 2563

บางคนถึงกับตุนไว้ในปีหน้า ด้วยความกลัวว่าจะไม่มีตั๊กแตนในฤดูกาลหน้า

สำนักข่าว AFP รายงานว่า ตั๊กแตนถือว่าเป็นอาหารอันโอชะของหลายๆ คนในคูเวต บางคนชอบอบ บางคนชอบแบบตากแห้ง และตั๊กแตนมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างเหนือความคาดหมาย แม้ว่าจะไม่ใช่ทุกคนที่ติดใจมันก็ตาม

“ฉันชอบรสชาติของพวกมัน มันเป็นหนึ่งในความทรงจำในวัยเด็กของฉัน และทำให้ฉันนึกถึงปู่ย่าตายายและพ่อของฉัน” มูดี อัล มิฟตาห์ นักข่าววัย 64 ปีผู้เขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ กล่าว

ไม่ทันถึงไทยแน่ เผยชาวคูเวตก็นิยมกินตั๊กแตนราคาขีดละหลายร้อย

มิฟตาห์รอฤดูหนาวทุกปีเพื่อตุนตั๊กแตน โดยจะปรุงมันด้วยตัวเอง ด้วยความชอบรสสัมผัสที่กรุบกรอบของตั๊กแตน

เมื่อปรุงพวกมัน เธอวางถุงแมลงลงในน้ำเดือดทำให้พวกมันสุกจนเป็นสีแดงอย่างรวดเร็ว และห้องครัวของเธอมีกลิ่นหอมคล้ายกับเนื้อแกะตุ๋น

หลังจากเดือดปุดๆ ครึ่งชั่วโมง ตั๊กแตนก็พร้อมที่จะกิน แต่จะนำไปอบเพิ่มเติมให้กรุบกรอบ หรือตากแห้งเพื่อให้สามารถเพลิดเพลินกับรสชาติของพวกมันได้ตลอดทั้งปี

แต่คนใกล้ตัวของส่วนใหญ่มิฟตาห์หยุดกินตั๊กแตนมานานแล้ว

การบริโภคตั๊กแตนลดน้อยลงไปทั่วสังคมคูเวต โดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่ซึ่งหลายคนรู้สึกสะอิดสะเอียนกับการกินพวกมัน

อาลี ซาอัดด ชายหนุ่มในวัย 20 ปี รู้สึกสะอิดสะเอียนเมื่อพูดถึงการกินพวกมัน เขาบอกว่า “ผมไม่เคยคิดที่จะกินตั๊กแตน” เขาบอก "ทำไมผมจะต้องกินแมลง ในเมื่อเรามีเนื้อแดงและขาวทุกชนิด"

ตั๊กแตนมีการบริโภคในหลายส่วนของโลกและเป็นอาหารหลักของบางพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าตั๊กแตนเป็นแหล่งโปรตีนที่ยอดเยี่ยมและประหยัดพลังงานด้วย

ไม่ทันถึงไทยแน่ เผยชาวคูเวตก็นิยมกินตั๊กแตนราคาขีดละหลายร้อย

ในคูเวตการรับประทานตั๊กแตนยังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ

การจัดส่งตั๊กแตนล็อตแรกจะนำเข้าจากซาอุดิอาระเบีย มาถึงตลาดในเดือนมกราคม โดยวางขายในถุงสีแดงสดน้ำหนัก 250 กรัม

ตั๊กแตนถือเป็นอาหารชั้นเลิศ โดยจะวางไว้ข้างเห็ดทรัฟเฟิลทะเลทรายสีขาว อันเป็นอาหารอันโอชะตามแบบชาวคูเวตในช่วงฤดูหนาว ที่ตลาดอัลไร ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองคูเวต

ไม่ทันถึงไทยแน่ เผยชาวคูเวตก็นิยมกินตั๊กแตนราคาขีดละหลายร้อย

อาบู โมฮัมเหม็ด อายุ 63 ปีมาจากเมืองอาห์วาซ ในอิหร่านและปกติจะขายปลาที่ตลาด แต่เมื่อถึงฤดูกาลเขาจะกลายเป็นคนขายขายตั๊กแตนและเห็ดทรัฟเฟิล

“ตั๊กแตนถูกจับในตอนกลางคืนช่วงฤดูหนาว (ถ้าพวกมันไม่ได้บินเข้ามา) เราจะนำเข้าจากซาอุดิอาระเบีย” เขากล่าว

เขาอธิบายว่าตั๊กแตนรสชาติ "เหมือนกุ้ง" และบรรยายด้วยความรู้สึกตื่นเต้นว่าพวกมัน "เนื้ออร่อยมาก โดยเฉพาะตัวเมียที่เต็มไปด้วยไข่"

ตัวเมียที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า "el-Mekn" ในภาษาอาหรับสำเนียงคูเวต ในขณะที่ตัวผู้ที่มีขนาดเล็กกว่าเรียกว่า "Asfour"

ไม่ทันถึงไทยแน่ เผยชาวคูเวตก็นิยมกินตั๊กแตนราคาขีดละหลายร้อย

อาบู โมฮัมเหม็ด กล่าวว่าเขาขายตั๊กแตนถุงได้วันละเกือบโหลในแต่ละวัน แต่ละถุงราคา 3 - 5 ดินาร์คูเวต (307 - 512 บาทต่อถุง)

"ผมขายตั๊กแตนถุงได้มากกว่า 500 ใบช่วงฤดูตั๊กแตน ซึ่งอยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน" เขากล่าว

โมฮัมเหม็ด อัล อาวาดี ชาวคูเวตอายุ 70 ปี ส่งตั๊กแตนให้กับผู้ค้าปลีกเป็นเวลาหลายปีและเก็บแมลงแห้งในกระเป๋าของเขาเอาไว้กินเล่นอยู่ตลอด

อาวาดีได้ฉายาว่า "ราชาแห่งตลาด" เขาแสดงวิธีการกินตั๊กแตนให้ดู และบอกว่า "มันเป็นอาหารที่ดีที่สุด ผมอิ่มแล้วไม่ต้องกินอาหารกลางอีกแล้ววันนี้" เขากล่าว "ยิ่งแห้งเท่าไรยิ่งดี พ่อของผมมักจะมีของไว้ในกระเป๋าเสมอ"

ไม่ทันถึงไทยแน่ เผยชาวคูเวตก็นิยมกินตั๊กแตนราคาขีดละหลายร้อย

เจ้าหน้าที่ได้พยายามอย่างไร้ผลที่จะห้ามการบริโภคตั๊กแตน เพราะกลัวว่าอาจมีการปนเปื้อน

ตั๊กแตนสามารถทวีคูณอย่างรวดเร็วและก่อตัวเป็นฝูงซึ่งทำลายพืชผล ทำให้บางประเทศจัดการกับพวกมันด้วยยาฆ่าแมลง

ผู้สื่อข่าวยังไปสัมภาษณ์ อาเดล ทาริจี ซึ่งกำลังวางถุงกระสอบสีดำสองใบไว้ข้างรถของเขาและลูกค้าที่กำลังรอคอย ลากมันมาข้างๆ เพื่อตรวจสอบผลผลิตและต่อรองราคา

ไม่ทันถึงไทยแน่ เผยชาวคูเวตก็นิยมกินตั๊กแตนราคาขีดละหลายร้อย

ทาริจี ซึ่งขายตั๊กแตนตั้งแต่อายุ 18 ปีกล่าวว่าแม้จะมีการตอบโต้จากบางคน เขาก็ยังได้เห็นความสนใจจากผู้ซื้อที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ

ทาริจี บอกว่าลูกค้ากลุ่มนี้ยินดีจ่ายราคาที่สูงขึ้น เพราะพวกเขาเชื่อมั่นในประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์ "ออร์แกนิก"

บางคนถึงกับตุนไว้ในปีหน้า ด้วยความกลัวว่าจะไม่มีตั๊กแตนในฤดูกาลหน้า

แปลจาก Locusts boiled, baked or dried? Kuwait serves up a swarm