posttoday

ไต้หวัน ที่เผชิญแรงกดดันจากจีน ย้ำความสำคัญของสันติภาพในการประชุมเอเปค

11 พฤศจิกายน 2566

ประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่าไต้หวันจะเน้นย้ำถึงความสำคัญของสันติภาพในภูมิภาคในการประชุมสุดยอดเอเปค ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรระหว่างประเทศไม่กี่แห่งที่ทั้งไต้หวันและจีนเป็นสมาชิกและสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ของพวกเขาพบกันในสัปดาห์หน้า

การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ที่มีสมาชิก 21 ประเทศจะพบกันที่ซานฟรานซิสโกสำหรับการประชุมสุดยอดเอเปคครั้งที่ 30 ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2554

 

ไต้หวัน ซึ่งเข้าร่วมเอเปคในชื่อ "ไชนีสไทเป" และไม่ส่งประธานาธิบดีเข้าร่วมการประชุมสุดยอด ต้องเผชิญกับแรงกดดันทางทหารที่เพิ่มขึ้นจากปักกิ่ง รวมถึงการซ้อมรบครั้งใหญ่ สองรอบในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา

 

ไช่ กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบประธานาธิบดีว่า ข้อความแรกที่เธอต้องการให้ตัวแทนของเธอ คือ มอร์ริส ชางซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทชิปยักษ์ใหญ่อย่าง TSMC ส่งต่อในการประชุมสุดยอดก็คือ ไต้หวันทุ่มเทให้กับการส่งเสริมสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค

 

“ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เราต้องทำงานร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในภูมิภาค และร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมที่สงบสุขและมั่นคงสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค” 

 

“ไต้หวันเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ ปลอดภัย และไว้วางใจได้ในประชาคมระหว่างประเทศ” ไช่กล่าวเสริม

ไต้หวัน ที่เผชิญแรงกดดันจากจีน ย้ำความสำคัญของสันติภาพในการประชุมเอเปค

ชาง ซึ่งพูดต่อจากไช่ กล่าวว่า เขาเชื่อว่าไม่มีสมาชิกเอเปคประเทศใดที่จะต่อต้านสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนา

 

อย่างไรก็ตาม ทั้งประธานาธิบดีและชางซึ่งเป็นตัวแทนครั้งที่ 6 ในการประชุมสุดยอดเอเปค ต่างไม่ตอบคำถามของสื่อมวลชน

 

เอเปค เป็นหนึ่งในการประชุมไม่กี่แห่งที่จีนและไต้หวันได้พูดคุยกัน แม้ว่าจะเป็นเพียงการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการก็ตาม

 

จีนยังไม่ได้ยืนยันการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดประจำปีของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง อย่างเป็นทางการ

 

ชาง วัย 92 ปี ได้พูดคุยสั้นๆ กับประธานาธิบดี สี จิ้นผิงในการประชุมเอเปคเมื่อปีที่แล้วที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ระดับสูงที่หาได้ยาก

ไต้หวัน ที่เผชิญแรงกดดันจากจีน ย้ำความสำคัญของสันติภาพในการประชุมเอเปค

จีนตัดกลไกการเจรจาอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน หลังจากที่ไช่ชนะตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกในปี 2559 โดยมองว่าเธอเป็นผู้ต้องการแบ่งแยกดินแดน ไช่กล่าวว่า มีเพียงประชาชนของไต้หวันเท่านั้นที่สามารถตัดสินใจอนาคตของเกาะได้ และปฏิเสธการอ้างอำนาจอธิปไตยของจีนอย่างแข็งขัน

 

ขณะที่ ชาง เกษียณจาก TSMC แล้ว แต่เขายังคงมีอิทธิพลในฐานะผู้นำอาวุโสของอุตสาหกรรมชิปของไต้หวัน