8 กลุ่มธุรกิจที่ตอบโจทย์รับสังคมผู้สูงอายุ
ส่อง 8 อุตสาหกรรมหลักในญี่ปุ่น ที่มีการปรับตัวให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการและยกระดับคุณภาพชีวิต รับสังคมผู้สูงอายุ
ส่อง 8 อุตสาหกรรมหลักในญี่ปุ่น ที่มีการปรับตัวให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการและยกระดับคุณภาพชีวิต รับสังคมผู้สูงอายุ
การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองต่อผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวจึงเพิ่มสูงขึ้น ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุมากขึ้น
เช่น การใช้ GPS ในการนำทางผู้สูงอายุหลงลืมเส้นทางกลับบ้าน การใช้โทรศัพท์ระบบหน้าจอสัมผัสช่วยให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพูดคุยกับลูกหลานได้อย่างง่ายขึ้น เครื่องช่วยฟัง ถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น ยังมีความพยายามที่จะผลิตหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุระยะไกลอีกด้วย พยาบาลก็ต้องทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงก้าวหน้า ใส่ใจสนใจเพื่อนำเทคโนโลยีมาดูแลผู้สูงอายุ
ที่ขาดไม่ได้ คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ตอบโจทย์และเหมาะสมกับประชากรสูงวัยที่มีรายละเอียดค่อนข้างซับซ้อน และในฐานะที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรสูงวัยมากที่สุดในโลก และมีความพร้อมในการรับมือต่อการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมามาก ภาคธุรกิจต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในการ Create & Design เพื่อให้สามารถนำเสนอโซลูชั่นที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายสูงวัยได้อย่างครอบคลุม มีธุรกิจเพื่อผู้สูงวัยเพิ่มจำนวนมากขึ้นและในหลากหลายธุรกิจใน 8 กลุ่มตัวอย่างต่อไปนี้
1.Residential กลุ่มธุรกิจบ้านและที่อยู่อาศัย ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบบ้านและที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงวัยให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
2.Amusement การจัดกิจกรรมเพื่อมอบความบันเทิงต่างๆ สันทนาการ เล่นเกม เล่นกีฬา การจัดทริปท่องเที่ยว หรือการจัดเวิร์กช็อปต่างๆ สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ
3.Food & Beverage ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ให้ความสำคัญกับการคำนวณความเหมาะสมในเรื่องของอาหารและเครื่องดื่มที่ผู้สูงวัยควรได้รับในแต่ละมื้อ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม รวมไปถึงขนาดของชิ้นอาหารหรือวัตถุดิบที่ใช้ปรุง ให้เหมาะสมกับทั้งสภาพฟันและระบบการย่อยตามวัย
4.Service ธุรกิจให้บริการต่างๆ เนื่องจากผู้สูงอายุในญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะอยู่ด้วยตัวเอง ทำให้ค่อนข้างเหงา ทำให้ธุรกิจบริการต่างๆ การพาไปเที่ยวนอกบ้าน การไปรับประทานอาหารเป็นเพื่อน ไปเป็นเพื่อนช็อปปิ้ง หรือผู้ช่วยดูแลสุขภาพ
5.Community การสร้างกิจกรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีความชื่นชอบในเรื่องเดียวกันมีโอกาสได้มาทักทาย พบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเรื่องของสุขภาพ กีฬา การทำงานอดิเรก รวมไปถึงการทำงานด้านจิตอาสา ได้เพื่อนใหม่ รู้สึกเติมเต็ม คุณค่ามากขึ้น
6.Furniture Design การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่ต้องมองถึงความเหมาะกับสรีระที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้สูงวัย และมีฟังก์ชั่นในการใช้งานที่หลากหลายและตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น การมีที่นอนหรือฟูกที่ออกแบบมาให้รองรับสรีระและป้องกันการกดทับ
7.Law & Regulation ข้อกฎหมายและกฎระเบียบที่เอื้ออำนวยต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัย ซึ่งญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการดูแลประชากรสูงวัยอย่างมาก ทำให้ดูแลการออกกฎและข้อบังคับต่างๆ เพื่อคุ้มครองและดูแลสิทธิในการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัยอย่างครอบคลุม การจ่ายเงินบำนาญเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีความสุข จะรวยหรือจนก็มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
8.Renovation ธุรกิจรับปรับปรุงและแต่งเติมที่อยู่อาศัย ทั้งการให้คำปรึกษาแก่เจ้าของบ้านที่อยู่มาตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนเข้าสู่ช่วงสูงวัย แม้แต่การเข้าไปฟื้นฟูสภาพบ้านภายหลังจากเจ้าของบ้านรายเดิมซึ่งเป็นผู้สูงอายุได้เสียชีวิตลงจนทำให้บ้านหลายหลังกลายเป็นบ้านร้าง
ภาพ freepik