posttoday

@ work

18 มีนาคม 2556

บริษัทที่ปรึกษา เอพีเอ็ม กรุ๊ป แนะนำว่าการให้ Feedback ไม่ใช่การต่อว่า ด้วยอารมณ์และเหตุผลส่วนตัว

โดย...กันย์

1.Feedback อย่างไรให้ถูกต้อง...

บริษัทที่ปรึกษา เอพีเอ็ม กรุ๊ป แนะนำว่าการให้ Feedback ไม่ใช่การต่อว่า ด้วยอารมณ์และเหตุผลส่วนตัว หากแต่เป็นการมุ่งหวังที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการพัฒนาที่ต่อเนื่องแก่ผู้ถูกให้ Feedback การให้ Feedback หรือการให้ข้อมูลป้อนกลับนั้นมีความสำคัญมากในการพัฒนาองค์กรให้บุคลากรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบ แก้ไข ปรับปรุงการทำงานให้มีคุณค่าอยู่อย่างตลอดเวลา เปรียบเสมือนการต่อชิ้น Jigsaw ซึ่งแต่ละส่วนต้องประกอบเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเกิดเป็นภาพใหญ่ การ Feedback ก็เช่นกันเปรียบได้กับเครื่องมือช่วยการเติมเต็มผลงานให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

มีหลักการง่ายๆ 4 ข้อ จะช่วยให้คุณสามารถปรับปรุงการ Feedback ได้ดียิ่งขึ้น

สม่ำเสมอ การให้ Feedback ที่สม่ำเสมอเป็นการสร้างความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบให้กับผู้ถูกสอนงาน เพื่อมุ่งหวังประโยชน์และการพัฒนาที่ สม่ำเสมอ

ชัดเจน การให้ Feedback ที่ไม่มีรายละเอียดชัดเจนจะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ถูกให้อย่างมาก เพราะอาจจะทำให้สับสนประเด็นได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความชัดเจน

มองไปข้างหน้า การให้ Feedback ที่มีการ เน้นอนาคต คือ การบอกว่าคุณต้องการให้เขาทำอะไรเป็นลำดับต่อไปและจะพัฒนาอย่างไรนั่นเอง

ทันเวลา การให้ Feedback ที่ล่าช้าส่งผลให้สิ่งที่พูดไปนั้นไม่เกิดผลเท่าที่ควรเพราะฉะนั้นควรให้ Feedback ที่ทันเวลา

2.หากรู้สึกท้อแท้ได้แต่อย่านาน

จงลุกขึ้นสู้ งานทุกอย่างย่อมมีปัญหาเสมอ คนไม่มีปัญหาคือคนไม่ทำงาน ให้กำลังใจตัวเองเสมอว่า

ปลาที่ยังเป็นอยู่ ล้วนเรียนรู้ที่จะว่ายทวนน้ำ ส่วนปลาตาย มักไหลตามน้ำ ปัญหาทำให้คนธรรมดาท้อ แต่ทำให้คนมีปัญญาลุกขึ้นมาแก้ไข ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางออกเสมอ

3.รับมือกับงานเยอะมากให้ได้ผล...

(1) รู้ว่างานเยอะ ต้องรีบทำ

(2) อย่าดองงาน ข้ามปีข้ามชาติ

(3) เรียงลำดับ ความสำคัญของงาน สำคัญก่อนให้รีบทำ สำคัญน้อยค่อยทยอยทำ

4.การเปลี่ยนแปลง มีความสำคัญในโลกธุรกิจ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความสัมพันธ์ หรือด้านอื่นๆ ที่ทักษะมนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย ทั้งหมดนี้อาจเริ่มต้นจากการประเมิน หรือการขอข้อมูลป้อนกลับจากเพื่อนร่วมงาน เกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานกับผู้อื่น การเป็นผู้ฟังที่ดีหรือการมีสมาธิจดจ่อกับประเด็นในระหว่างการประชุม

การไม่ตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่าตนเองจะสามารถทำงานได้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น หากร่วมมือกับผู้อื่นไม่ถือว่าเราไม่มีความสามารถและเราไม่ได้ตระหนักรู้ ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีสมรรถนะในการทำงานกับผู้อื่น แต่เราอาจมีความสามารถด้านอื่นที่สามารถพัฒนาได้โดยที่ยังไม่ตระหนักถึง

เมื่อเรารู้ตัวแล้ว เราจะสามารถรับเอาพฤติกรรมใหม่เข้ามาอย่างรวดเร็วได้บ่อยมากเพียงใด การเปลี่ยนแปลงในด้านภาวะผู้นำหรือรูปแบบของการแสดงมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่นจะเกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งหมายความว่าต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น และพยายามที่จะควบคุมและคงพฤติกรรมนั้นไว้จนกลายเป็นธรรมชาติ

ขณะที่นำเทคนิคนี้ไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะการฟังให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และให้แสดงพฤติกรรมบางอย่างมีสติ เมื่อมีเพื่อนร่วมงานเข้ามาคุยงาน ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่ามีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาอย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด เช่น 1) ไม่ด่วนตัดสินในสิ่งที่พวกเขาจะพูด 2) ไม่ขัดจังหวะพวกเขา และ 3) พูดทวนความหรือสรุปความหลังจากที่พวกเขาพูดเสร็จแล้วบางครั้ง วิธีเหล่านี้ช่วยให้สามารถจดจ่อกับสาร ให้เกียรติผู้พูด (สร้างความไว้ใจ) และบูรณาการความคิดของพวกเขา เพื่อที่จะบรรลุผลลัพธ์การทำงานที่ต้องการ

ขั้นตอนง่ายๆ เหล่านี้ยังมีประโยชน์ในแง่อื่นๆ อีก เช่น ทำให้มีแผนและเครื่องช่วยเตือนให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง ขณะที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนเหล่านี้ยังช่วยให้ตระหนักได้ว่าเราอยู่ ณ จุดใดของการเดินทาง อันช่วยให้ทราบว่าหากยังคงมุ่งมั่นกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ ท้ายที่สุดก็จะสามารถก้าวไปสู่ขั้นต่อไปได้ และแน่นอนว่าองค์ประกอบสำคัญสำหรับก้าวผ่านกระบวนการนี้ก็คือ เราจะต้องตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นและคุ้มค่าที่จะลงมือทำ