การประชุมนานาชาติณ เมืองพาราณสี อินเดียกรณีพระธรรมวินัยกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ (ตอน ๒๐)
อธิกรณ์ทั้ง ๔ นี้ พระสงฆ์พึงระงับลงด้วยอธิกรณสมถะ มีอุบายวิธี ๗ ประการ
โดย...พระอาจารย์อารยะวังโส
อธิกรณ์ทั้ง ๔ นี้ พระสงฆ์พึงระงับลงด้วยอธิกรณสมถะ มีอุบายวิธี ๗ ประการ คือ
๑.ให้พระสงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย หมายถึง นำอธิกรณ์เสียเฉพาะหน้าพระสงฆ์ เฉพาะหน้าพระวินัย เฉพาะหน้าพระโจทก์ จำเลย ยอมรับผิดชอบพร้อมหน้ากัน (วิธีระงับในที่พร้อมหน้า)
๒.ให้พระสงฆ์พึงให้สติวินัย หมายถึง นำอธิกรณ์เสียด้วย อันสมมติให้เป็นผู้มีสติแท้ ดังสมมติให้แก่พระอรหันต์เจ้า (วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก)
๓.ให้พระสงฆ์พึงให้อมูฬหวินัย หมายถึง นำอธิกรณ์เสียได้ ให้เป็นแต่เพียงว่า ผู้หลงเคลิ้มสติไปเฉพาะเป็นบ้า จะโจทก์ก็มิขึ้น (วิธีระงับสำหรับผู้หายเป็นบ้า)...
๔.ให้พระสงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ หมายถึง นำอธิกรณ์ให้ระงับ ด้วยปฏิญญาณรับโทษ สมคำโจทก์ จำเลย (เป็นการทำตามที่รับ)
๕.ให้พระสงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา หมายถึง กิริยาที่ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสมมติยกโทษแก่ภิกษุ ผู้มีบาปหนัก ต้องอาบัติเนืองๆ กำจัดเสียซึ่งหมู่สงฆ์ ทรมานให้ละพยศลง เห็นว่า เธอนั้นจักเยียวยาได้ พึงสวดระงับอธิกรณ์ (เป็นการตัดสินแก่ผู้ผิดที่ไม่รับ)
๖.ให้พระสงฆ์พึงให้เยภุยยสิกา หมายถึง กิริยาที่ให้ระงับอธิกรณ์ ด้วยพระธรรมวาทีชุกชุมมากกว่า สมมติให้สัญญาแก่กันตามสำคัญด้วยฉลาก (เป็นการตัดสินตามคำของคนข้างมาก)
๗.ให้พระสงฆ์พึงให้ติณวัตถารกวินัย หมายถึง นำอธิกรณ์ให้สงบลงได้ ด้วยลาดหญ้าปิดทับไว้ เพราะอธิกรณ์นั้นจะนำไปสู่สังฆเภทได้ พระวินัยธรตัดสินไปตกลง พระสงฆ์พึงพร้อมกันสวดสัญญาให้อธิกรณ์นั้นสาบสูญเสีย (เป็นวิธีการประนีประนอม)
อ่านต่อฉบับพรุ่งนี้