บรอมีเลียด สับปะรดสีในสวน
กล่าวถึงต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่มบางชนิด ซึ่งไม่ควรนำบรอมีเลียดไปปลูกอยู่ในบริเวณใต้ร่มเงา เนื่องจากอันตรายจากโรคแมลงบางชนิด
โดย...ม.ล.จารุพันธ์ ทองแถม
กล่าวถึงต้นไม้ใหญ่และไม้พุ่มบางชนิด ซึ่งไม่ควรนำบรอมีเลียดไปปลูกอยู่ในบริเวณใต้ร่มเงา เนื่องจากอันตรายจากโรคแมลงบางชนิด นอกจากนี้มะม่วงยังมีส่วนดอก (เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย) และผลอ่อนซึ่งอาจร่วงหล่นลงมาในปริมาณมาก สิ่งเหล่านี้หากขังในยอดบรอมีเลียด มักจะนำมาซึ่งโรคยอดเน่าแก่บรอมีเลียดในสวน
ต้นไม้ เช่น ส้มโอ อะโวคาโด ทองหลางด่าง แม้แต่ลั่นทมขนาดใหญ่สามารถปลูกบรอมีเลียดได้โดยปลอดภัย ยางอินเดีย ยางใบซอ และกร่างด่าง อาจใช้ปลูกบรอมีเลียดได้เช่นกัน บริเวณโคนต้นอาจใช้ปลูกบรอมีเลียดประเภทชอบร่ม เช่น กุซแมเนีย รีเซีย ได้ดี ส่วนบริเวณกิ่งก้านใช้ปลูกบรอมีเลียดประเภทพืชอิงอาศัย เช่น ทิลแอนเซีย เอคเมียร์ โฮเอน เบิกเอีย บิลเบิกเอีย ฯลฯ
ปาล์มชนิดต่างๆ อาจปลูกบรอมีเลียดร่วมกันได้ไม่ว่าจะเป็นหมากเหลือง หมากเขียว หมากแดง ปาล์มขวด หรือแม้แต่ตาลกิ่ง ปาล์มทนแล้ง เช่น อินทผลัม (Phoenix) ชนิดต่างๆ ใช้ทิลแอนเซียปลูกร่วมเป็นไม้อิงอาศัยได้เช่นเดียวกับกล้วยไม้ ปาล์มเขตร้อน เช่น สิบสองปันนา เมื่อมีอายุ 45 ปี จะสร้างลำต้นสูงพอจะให้ร่มเงาและมีลำต้นเปล่าเปลือยดูงดงามพอจะใช้บรอมีเลียดหลายสกุล หลายชนิดปลูกเกาะติด เช่นเดียวกับกูดต้นออสเตรเลีย (Cyathea Cooperii) ซึ่งมีลำต้นสูง และปลูกได้ในกรุงเทพฯ แม้จะต้องอาศัยการพรางแสงและการจัดระบบพ่นหมอกลดอุณหภูมิให้ก็ตาม ปรง (Cycads) หลายชนิดปลูกร่วมกับบรอมีเลียดได้ดีพอกับหมากผู้หมากเมีย ซึ่งปลูกให้เห็นเป็นฉากหลังร่วมกับหนวดปลาหมึกออสเตรเลีย (Schefflera Actinophylla) หรือจะใช้หนวดปลาหมึกจากป่าไทยและต้าง (Trevesia spp.) ก็ใช้ได้อย่างกลมกลืนเป็นธรรมชาติ ให้บรรยากาศป่าเขตร้อนชื้น ต้นไม้ผลัดใบหลายชนิดไม่ควรใช้ปลูกบรอมีเลียดใต้ร่มเงา เช่น หูกวาง หูกระจง (พอใช้ได้แต่ควรระมัดระวังบรอมีเลียดที่มียอดขังน้ำ) (TankType Brome Liads) ทั้งหลายด้วยเหตุผลที่กล่าวไปแล้วในตอนต้น
อุณหภูมิกับการจัดสวนบรอมีเลียด
การปลูกบรอมีเลียดในเขตร้อนชื้น เช่น กรุงเทพฯ จะเป็นปัญหาในด้านคุณภาพของสีใบ ทั้งนี้ เพราะการสร้างเม็ดสีหรือรงค์วัตถุในใบบรอมีเลียดนั้นจะเกิดขึ้นในพื้นที่มีอุณหภูมิต่ำพอเหมาะและมีความชุ่มชื้นสูง ซึ่งสภาพดังกล่าวจะหาไม่ได้เลยในสภาพการของกรุงเทพฯ (อุณหภูมิดังกล่าวจะอยู่ที่ 15 ?C (59.0 F) โดยเฉลี่ยและความชื้นในอากาศจะอยู่ที่ 75--80 เปอร์เซ็นต์) ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการปรับสภาพแวดล้อมให้บรอมีเลียดสามารถเจริญเติบโตอยู่ได้โดยมีคุณภาพ (สีใบและการสร้างสะสมอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรตในต้น) อยู่ในเกณฑ์ซึ่งยอมรับได้สำหรับผู้ปลูกเลี้ยงบรอมีเลียดในกรุงเทพฯ ดังที่เราพบเห็นอยู่ในท้องตลาดโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม แหล่งปลูกเป็นการค้ารายใหญ่ของบรอมีเลียดจะกระจายตัวอยู่ทั่วไป มิใช่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น แต่มีอยู่ทั่วทางภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่บนภูเขาระดับสูง ตั้งแต่ 650 เมตร ขึ้นไปจนถึง 1,100 เมตร เป็นแหล่งที่มีการผลิตบรอมีเลียดที่มีคุณภาพสูงดังเช่นที่เราได้เห็นในตลาดไม้ประดับของกรุงเทพฯ ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะแก่การผลิตบรอมีเลียดคุณภาพสูงอยู่ในช่วงค่อนข้างกว้าง 15 C (59.0 F) ถึง 25 C (77. 0 F) ทั้งนี้ ต้องควบคุมปริมาณความชื้นในอากาศให้สูง (75-85 เปอร์เซ็นต์) จึงจะเหมาะที่สุดสำหรับบรอมีเลียดส่วนใหญ่
การปลูกบรอมีเลียดสำหรับจัดสวน
ปกติเราจะใช้วัสดุปลูกบรอมีเลียดหลายชนิด สำหรับการจัดลงประดับในสวน แต่ส่วนใหญ่วัสดุปลูกที่หาได้ค่อนข้างง่ายสุดของไทย ฟิลิปปินส์ กาบมะพร้าวชิ้นใหญ่ วัสดุปลูกอื่นที่ใช้ประกอบ ได้แก่ อิฐหัก (อิฐมอญ) ถ่านไม้ (ขี้กบชิ้นใหญ่ที่ผ่านการหมักจนสลายตัวหมดความร้อนแล้ว) ใบไม้ผุ ทรายหยาบ (ทรายแม่น้ำที่ล้างสะอาดแล้ว) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แปลงปลูกบรอมีเลียดควรยกให้นูนสูง เพื่อการระบายน้ำเสมอ เพราะบรอมีเลียดเป็นพืชอิงอาศัยเป็นส่วนใหญ่ หรือมิฉะนั้นอาจเป็นพืชที่มาจากพื้นที่ภูเขา เนินทราย มีรากซึ่งต้องการออกซิเจนสูง จึงไม่ชอบเครื่องปลูกซึ่งมีน้ำขัง หรือการระบายอากาศไม่ดี บรอมีเลียดที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น วีเซีย (Vriesea Hieroglyphica หรือ Alcantarea Imperialis) และเอคเมีย (Aechmea) หลายชนิดต้องการพื้นที่กว้าง จึงไม่ควรปลูกให้เบียดกันจนเกินไป อาจใช้ระยะห่างระหว่างต้นตั้งแต่ 1.01.5 เมตร จะปลอดภัยที่สุด ส่วนพื้นที่ช่องว่างอาจใช้บรอมีเลียดขนาดเล็กกว่าปลูกแซมลงไป หรือจะใช้ไม้คลุมดินอื่นๆ ที่มีความต้องการคล้ายกันปลูกร่วมด้วยก็ได้