138 ปีแห่งตำนาน แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ
ประเทศไทยไม่เคยมีโรงแรมมาก่อน กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
โดย...ภาดนุ
ประเทศไทยไม่เคยมีโรงแรมมาก่อน กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงโปรดฯ ให้เริ่มมีการค้าขายกับชาติตะวันตกในปี พ.ศ. 23982399 จึงได้ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ประเทศอังกฤษเข้ามาตั้งสถานกงสุลในเมืองไทย เพื่อทำการติดต่อค้าขายเป็นประเทศแรก
เดือน เม.ย. 2398 ชาวอังกฤษกลุ่มแรกเดินทางมาทางเรือเข้าทางแม่น้ำเจ้าพระยา รัชกาลที่ 4 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้พำนักและซื้อหรือเช่าทรัพย์สินในประเทศไทยได้ วังแห่งหนึ่งในสมัยนั้นจึงถูกยกให้ใช้เป็นโรงแรมสำหรับผู้บังคับการเรือและกลุ่มพ่อค้าชาวต่างชาติได้พำนักอาศัย
ตามบันทึกของหมอบรัดเลย์ นักสอนศาสนาชาวอเมริกัน ว่า ในเดือน มิ.ย. 2408 โรงแรมดังกล่าวได้ถูกไฟไหม้จนหมด และในปี 2419 นายทหารชาวเดนมาร์กสองนาย ซึ่งตัดสินใจตั้งรกรากในเมืองไทย จึงได้สร้างโรงแรมขึ้นบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและดำเนินกิจการเรื่อยมา
นั่นคือต้นกำเนิดของโรงแรมโอเรียนเต็ล หรือปัจจุบัน คือ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ
ปี 2419 ร้อยเอกจาร์ดและชาร์ล สองนายทหารชาวเดนมาร์กร่วมกันสร้างโรงแรมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยตั้งชื่อว่า โรงแรมโอเรียนเต็ล (Oriental)
ปี 2430 กิจการโรงแรมโอเรียนเต็ลเปลี่ยนมือมาอยู่ภายใต้การดูแลของ เอช. เเอนเดอร์สัน ชาวเดนมาร์กเช่นเดียวกัน ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับโรงแรมโอเรียนเต็ลเป็นอย่างมาก โดยวันที่ 19 พ.ค. ปีเดียวกัน มีพิธีเปิดโรงแรมโอเรียนเต็ลอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้มาร่วมงาน 180 คน
ปี 2431 ลาซาลัส กลายเป็นลูกค้ารายแรกที่ได้มีการจดบันทึกไว้ เขาเดินทางมาเข้าพักในช่วงเดือน ม.ค. นอกจากนี้ ยังมี โจเซฟ คอนราด นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษ ผู้แต่งนวนิยาย เรื่อง Lord Jim ก็ได้เดินทางมาพักที่นี่เช่นกัน
ปี 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงเสด็จฯ เยี่ยมโรงแรมเป็นการส่วนพระองค์ ในวันที่ 17 ธ.ค.
ปี 2434 เริ่มมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรกในโรงแรมโอเรียนเต็ล
ปี 2436 หลุยส์ โธมัส เรียวโนเวนส์ ลูกชายของของหม่อมแอนนา ผู้แต่งหนังสือ Anna and the King of Siam เข้ามาซื้อกิจการ
ปี 2453 มาดามมาเรียแมร์ เข้ามารับช่วงดำเนินกิจการ โดยได้บริหารกิจการติดต่อกันมาถึง 22 ปี
ปี 2465 ซอมเมอร์เซ็ต มอห์ม นักเขียนชื่อดังในยุคนั้น ก็เดินทางมาพักที่โรงแรมโอเรียนเต็ล
ปี 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย มาดามมาเรียแมร์ได้ถอนตัวจากกิจการของโรงแรม ซึ่งตกมาอยู่ภายใต้การบริหารของไซโลว์
ปี 2488 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง มาดามครูลล์ ได้เข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมโอเรียนเต็ล
ปี 2492 โรงแรมเป็นเปิดแจ๊ซบาร์ ชื่อว่า “แบมบูบาร์” ขึ้น
ปี 2501 มีการเปิดตึกการ์เด้นวิง และห้องอาหารนอร์มังดีขึ้นเป็นครั้งแรก
ปี 2510 เคิร์ท วาซไฟลท์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ (จนถึงปัจจุบัน)
ปี 2517 บริษัท อิตัลไทย ร่วมกับบริษัท ฮ่องกงแลนด์ เข้ามาเป็นเจ้าของกิจการ
ปี 2518 มีการก่อตั้งเครือโรงแรม โดยนำชื่อของโรงแรมแมนดาริน และโรงแรมโอเรียนเต็ล ซึ่งเป็นโรงแรมที่มีชื่อเสียงของทั้งสองบริษัทมารวมตัวกันเป็น “แมนดารินโอเรียนเต็ล โฮเต็ล กรุ๊ป”
ปี 2519 เปิดตัวตึกริเวอร์วิงขึ้นมา
ปี 2524 โรงแรมโอเรียนเต็ลได้รับรางวัล โรงแรมที่ดีที่สุดในโลก จากนิตยสารอินสติติวชั่นแนล อินเวสเตอร์ นิวยอร์ก สหรัฐ โดยได้รับรางวัลนี้เป็นเวลา 10 ปีติดต่อกัน จนถึงปี 2533
ปี 2537 โรงแรมโอเรียนเต็ลได้กลับมาเป็น “โรงแรมที่ดีที่สุดในโลก” อีกครั้งจากการจัดอันดับของนิตยสารฉบับเดิม และได้รับรางวัลนี้ติดต่อกัน 2 ปีซ้อน
ปี 2539 โรงแรมโอเรียนเต็ลมีอายุครบ 120 ปี
ปี 2543 โรงแรมโอเรียนเต็ลได้กลับมาเป็น “โรงแรมที่ดีที่สุดในโลก” อีกครั้ง จากการจัดอันดับของนิตยสารอินสติติวชั่นนอล อินเวสเตอร์ เหมือนเดิม
ปี 2549 โรงแรมโอเรียนเต็ลมีอายุครบ 130 ปี
ปี 2551 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ”
ปี 2557 โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ มีอายุครบ 138 ปี