posttoday

เดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า แรงบันดาลใจของทายาทร้านเพชร

28 มิถุนายน 2557

ถ้าใครได้เดินทางผ่านไปยังถนนบรมราชชนนี บริเวณศาลพระศิวะ ที่เคยเป็นร้านอาหาร ป.กุ้งเผา

โดย...เจียรนัย อุตะมะ

ถ้าใครได้เดินทางผ่านไปยังถนนบรมราชชนนี บริเวณศาลพระศิวะ ที่เคยเป็นร้านอาหาร ป.กุ้งเผา ตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา จะพบว่ามีศูนย์การค้าชุมชนผุดขึ้นมา 1 แห่ง ชื่อว่า เดอะเซ้นส์ ปิ่นเกล้า โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

บริเวณด้านหน้าโครงการเป็นร้านกาแฟสด 24 ชั่วโมง ภายในศูนย์การค้า เป็นที่ชุมนุมของร้านค้าเก๋ๆ เหมาะสำหรับการแฮงเอาต์หลังเลิกงาน

ร้านส่วนใหญ่ในนี้เป็นร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านสะดวกซื้อที่เปิดให้บริการตั้งแต่ 11.00 น. เป็นต้นไป และบางร้านเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง

เดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า แรงบันดาลใจของทายาทร้านเพชร

 

เจ้าของโครงการ “พจนีย์ พินิจศักดิ์กุล” วัย 29 ปี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ต วิลล์ ดีเวลลอปเม้นท์ ผู้ประกอบการโครงการ เดอะเซ้นส์ ปิ่นเกล้า ทายาทคนโตของบริษัท เพชรวิจิตรภัณฑ์ ไปสรรหามาจากร้านดังทั่วกรุง ที่ไม่เคยมีในย่านนี้มาก่อน ให้มาเปิดให้บริการที่นี่ อาทิ ร้านทัม แอนด์ ทัมส์ คอฟฟี่ (TOM &TOMs Coffee) ร้านอาหาร T24 และร้านไอศกรีม นอกจากนั้นยังมีสถานความงาม ร้านนวด สปา เลเซอร์ คลินิก ร้านแว่นตา ร้านเสื้อผ้า และร้านซักรีด เป็นต้น

ศูนย์การค้าแห่งนี้ตั้งเป้าหมายเป็นที่พักผ่อน แฮงเอาต์ของชนชั้นกลางขึ้นไป

เดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า แรงบันดาลใจของทายาทร้านเพชร

 

พจนีย์ เล่าว่า จุดเริ่มต้นของโครงการเกิดจากบิดา “สมศักดิ์” ไปประมูลที่ดิน 6 ไร่ครึ่ง ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของร้านอาหาร ป.กุ้งเผา จากบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ (บสก.) ได้ เพราะต้องการนำกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกเพชรไปต่อยอดทำธุรกิจเดิมอย่างทองแท่ง หรือเครื่องประดับ ต้องศึกษาข้อมูลเยอะมากและเหนื่อย เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายควบคุมการนำเข้าส่งออกทองด้วย

“คุณพ่อสนใจที่นี่ เพราะครอบครัวมีบ้านบริเวณนี้อยู่แล้ว จึงมองเห็นศักยภาพของทำเล และประมูลซื้อมาเมื่อปี 2540 และไม่ได้ทำอะไร”

จนกระทั่งกว่า 10 ปีผ่านไป ถึงจุดจะต้องตัดสินใจว่าจะให้คนเช่าต่อ ขายที่ดินออกไป หรือต่อยอดธุรกิจทำโครงการ สุดท้ายก็มาจบที่ทำอย่างไรไม่ให้ต้องขายที่ออกไป

เดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า แรงบันดาลใจของทายาทร้านเพชร

 

บิดาให้โจทย์เธอมา กลางปี 2554 จนถึงปี 2555 สุดท้ายก็ได้คำตอบว่าต้องทำคอมมูนิตี้มอลล์ เพราะห้างแต่ละแห่งในย่านนี้ใหญ่เกินไป ควรจะมีศูนย์การค้าชุมชนเกิดขึ้น

“ถ้าไม่ใช่คอมมูนิตี้มอลล์ เงินลงทุนหลักพันล้านคงหมด เพราะพื้นที่เราเล็กนิดเดียว เมื่อได้คำตอบ เดือน ก.ค. 2555 ได้ยื่นแบบขออนุมัติในการก่อสร้าง และเริ่มก่อสร้างได้ปลายปี 2555”

พื้นที่ 6 ไร่ครึ่ง นับว่าเป็นศูนย์การค้าที่ไม่ใหญ่ เราเจาะใต้ดินเป็นพื้นที่จอดรถ 200 คัน พื้นที่บนดินอีก 50 คัน บนอาคารอีก 250 คัน และฟรีชั่วโมงแรกที่จอด

เดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า แรงบันดาลใจของทายาทร้านเพชร

 

“เราปิดจุดบอดของคอมมูนิตี้มอลล์ที่เราไปดูมาทั้งหมดทั่วกรุง รวมถึงไปดึงร้านค้าที่มีลูกค้าประจำอยู่แล้วมาไว้ย่านนี้ทั้งหมด”

พจนีย์ จบปริญญาตรีสาขาเอกการจัดการ สาขาโทรคมนาคมจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐ และปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจบปริญญาตรีได้เริ่มงานแรกที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอเบอร์ดีน เป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ในปี 25512552 จากนั้นออกมาช่วยธุรกิจครอบครัวเป็นผู้ช่วยผู้จัดการบริษัท เพชรวิจิตรภัณฑ์ ก่อนที่จะมาเป็นรองกรรมการผู้จัดการบริษัท อาร์ต วิลล์ ดีเวลลอปเม้นท์ ผู้ประกอบการโครงการเดอะเซ้นส์ ปิ่นเกล้า

เดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า แรงบันดาลใจของทายาทร้านเพชร

 

เธอเล่าว่า บิดาไม่ได้บังคับให้ต้องมาทำงานในธุรกิจครอบครัว โดยให้อิสระในการดำเนินชีวิต

“หลังจบปริญญาโทที่ศศินทร์ คุณพ่อถามว่าอยากทำงานอะไร ด้านการตลาด กลยุทธ์การจัดการ หรือเป็นที่ปรึกษา เมื่อคุณพ่อไม่บังคับเรายิ่งอยากทำงานให้เขา คุณพ่อเป็นคนทันสมัย มีวิสัยทัศน์”

ทั้งนี้ หากพจนีย์ไม่สนใจดูแลธุรกิจครอบครัวล่าสุด คือ โครงการเดอะเซ้นส์ ปิ่นเกล้า เธอเชื่อว่าเขาคงให้น้องชายดูแล หรือให้ใครมาเช่าทำโครงการ เพราะคุณพ่อไม่มีเวลา

เดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า แรงบันดาลใจของทายาทร้านเพชร

 

สำหรับเธอเองมองว่าโครงการนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถ และคาดว่าจะใช้เวลานับสิบปีกว่าจะถึงจุดคุ้มทุนที่ลงทุนไปทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านบาท

โครงการทั้งหมดจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ วันที่ 8 ส.ค.นี้ หลังจากทดลองเปิดมาตั้งแต่เดือน เม.ย.

“เราอยู่ย่านนี้มาเกือบ 20 ปี เห็นกลุ่มลูกค้าพอสมควร ทั้งตึกออฟฟิศเซ็นทรัล ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลตั้งแต่ช่วงเปิดดำเนินการ กว่าจะบูมใช้เวลา 45 ปี ส่วนสำนักงานใช้เวลานานกว่านั้น กว่าอัตราการเช่าจะเต็ม”

เธอมองว่าย่านปิ่นเกล้าเป็นทำเลทองที่ยากที่จะมีคู่แข่งคอมมูนิตี้มอลล์เกิดขึ้นอีก เพราะทำเลดีไม่มีแล้ว ที่นี่เป็นจุดศูนย์กลางของคนย่านนครปฐม บางกรวย ราชพฤกษ์ นนทบุรี รวมถึงพระนคร

“อย่างครอบครัวเราแม้อยู่แถวนี้ แต่บริษัทของครอบครัวตั้งอยู่ที่ดิโอลด์สยาม นอกจากนั้นยังมีกลุ่มผู้เช่า ผู้ประกอบการ ผู้มาใช้บริการระดับบนที่มีฐานะอยู่หมู่บ้านย่านนี้ไปจนถึงพุทธมณฑล”

พจนีย์ มีไลฟ์สไตล์เป็นเช่นคนยุคใหม่ในสมัยนี้ คือ ชอบหาที่รับประทานอาหาร ซื้อของ เดินเล่นใหม่ๆ ที่ชอบไปมากคือ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม เพราะเป็นห้างเล็กๆ ที่เก๋ หาซื้อสินค้าได้ง่าย หรือชอบเดินจตุจักร

ก่อนทำโครงการนี้เคยพาบิดาไปเดินดูเจ อะเวนิว ศูนย์การค้าชุมชนย่านทองหล่อ ต้นแบบศูนย์การค้าชุมชนที่ได้รับความนิยมสูง เพราะเป็นทำเลทองย่านสุขุมวิท

ระหว่างเรียนที่ศศินทร์ได้ไปดูงานที่ศูนย์การค้าเดอะเซอร์เคิล ย่านราชพฤกษ์ ซึ่งเธอบอกว่าเป็นลูกค้าคนละกลุ่มเป้าหมายกัน เพราะที่เดอะเซอร์เคิลเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนในหมู่บ้านย่านนั้น ออกแนวแฟชั่นเยอะ

สำหรับเดอะเซ้นส์เน้นความร่มรื่นให้คนเข้ามาทุกวันได้ไม่เบื่อ เป็นทางเลือกให้ผู้ใช้บริการในย่านนี้

เธอเล่าว่า ใน 1 สัปดาห์จะออกไปรับประทานข้าวนอกบ้านหรือซื้อสินค้าที่อยากได้ 12 ครั้ง หรืออาจแค่ไปเดินเล่น พักผ่อนจากการทำงาน เพื่อค้นพบที่ใหม่ คนใหม่ ประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ชีวิตนี้ กลายมาเป็นแรงบันดาลใจ และนำมาเป็นแนวทางในการบริหารโครงการได้ดีทีเดียว