posttoday

เมื่อฉันไม่กล้าสบตา

22 กุมภาพันธ์ 2559

เคยสังเกตตัวเองไหมว่า เวลาที่เราสนทนากับอีกฝ่าย เรามักจะหลบตามองต่ำอยู่ ตลอดเวลา ไม่กล้าจ้องหน้าหรือสบตา กับคนอื่น ถ้าเป็นแบบนี้กับคนที่เราชอบ นั่นเรียกว่าอาการเขินอาย แต่ถ้าเป็นกับทุกคนที่มาพูดคุยด้วยไม่จำกัดหญิงชาย คุณอาจจะจัดอยู่ในกลุ่มอาการโรคกลัวสังคม หรือกลัวการเข้าสังคม มีลักษณะอาการไม่อยากพูดคุยกับใคร เพราะไม่มั่นใจว่าจะคุยอะไร หรือกลัวการพูดคุยกับคนแปลกหน้ามาก เกินไป

เคยสังเกตตัวเองไหมว่า เวลาที่เราสนทนากับอีกฝ่าย เรามักจะหลบตามองต่ำอยู่ ตลอดเวลา ไม่กล้าจ้องหน้าหรือสบตา กับคนอื่น ถ้าเป็นแบบนี้กับคนที่เราชอบ นั่นเรียกว่าอาการเขินอาย แต่ถ้าเป็นกับทุกคนที่มาพูดคุยด้วยไม่จำกัดหญิงชาย คุณอาจจะจัดอยู่ในกลุ่มอาการโรคกลัวสังคม หรือกลัวการเข้าสังคม มีลักษณะอาการไม่อยากพูดคุยกับใคร เพราะไม่มั่นใจว่าจะคุยอะไร หรือกลัวการพูดคุยกับคนแปลกหน้ามาก เกินไป

ปัญหานี้อาจจะเกิดจากวัยเด็กถูกแกล้งรังแก โดนผู้ใหญ่ตำหนิเรื่องการพูด ล้อเลียนคำพูดอยู่บ่อยครั้ง จนเกิดอาการไม่มั่นใจเวลาพูด

ทางแก้ หากอาการกลัวสังคมไม่หนักจนเกินไปในระดับที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ให้คุณพยายามมองโลกในแง่บวก เพิ่มความมั่นใจในตัวเอง และพูดคุยในสิ่งที่เป็นจริง ถ่อมตน ไม่ เสแสร้ง เป็นตัวของตัวเอง เวลาสนทนาเปลี่ยนจากการมองพื้นหรือมองไปทางอื่น เป็นการมองที่หัวคิ้วของอีกฝ่ายแทนการสบตา ซึ่งจะทำให้อีกฝ่ายยังรู้สึกว่าได้มองหน้ากันอยู่

เพิ่มระยะห่างเวลาสนทนาจากปกติห่างกันประมาณ 1 ก้าว ให้เพิ่มเป็น 2 ก้าว ระยะห่างที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งทำให้คุณรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น และถ้าสนทนาแล้วคุณรู้สึกสบายใจ ไม่ประหม่าหรือกลัวแล้ว ระยะห่างระหว่างคุณกับคู่สนทนาจะค่อยๆ เขยิบเข้าใกล้กันเองโดยอัตโนมัติ

ปัญหานี้คุณต้องใช้ความพยายามฝึกอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 6 เดือน คุณจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเองได้อย่างชัดเจน