เปิด 5 โลเคชั่น ลอสแองเจลิสแดนสวรรค์ในนครดารา "LA LA LAND"
ตามดู 5 โลเคชั่น แอล.เอ. แดนสวรรค์: พวกเขาทำให้‘La La Land’ ออกมายอดเยี่ยมได้อย่างไร
ตามดู 5 โลเคชั่น แอล.เอ. แดนสวรรค์: พวกเขาทำให้‘La La Land’ ออกมายอดเยี่ยมได้อย่างไร
รถติดกลางลอสแองเจลิสจะน่าสนุกได้ไหม?
ผู้ใช้รถใช้ถนนที่มุ่งหน้าเข้าตัวเมืองบนทางหลวง คงขอให้รถไม่ติด แต่สำหรับนักเขียนบทและผู้กำกับ เดเมียน ชาเซลล์ เลือกที่จะให้ฉากนี้เป็นฉากเปิดในหนังเรื่องใหม่ของเขา LA LA LAND ด้วยฉากเต้นสุดคูลขณะรถติด เป็นหนึ่งในฉากการเต้นหลายๆ ฉากในเรื่องนี้
เอ็มม่า สโตน และ ไรอัน กอสลิ่ง รับบท มีอา และ เซบาสเตียน สองศิลปินที่ตกหลุมรักกันแต่ดาวเด่นที่สุดของเรื่องคงนี้ไม่พ้นตัวเมืองเอง ในโลกภาพยนตร์ ลอสแองเจลิส เป็นเหมือนฉากหลังทั่วไปมากกว่าสถานที่สุดโรแมนติค ระหว่างการสัมภาษณ์ที่นิวยอร์ค ชาเซลล์ กล่าวว่าเขาได้แรงบันดาลใจมาจากหนังเพลงยุค 1920 อย่าง “Manhatta” หรือ “Man With a Movie Camera” ซึ่งเป็นหนังที่อุทิศให้กับความเป็นมหานคร เขายังพูดด้วยว่าหนังเรื่องนี้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของเขา การที่ต้องย้ายจากฝั่งตะวันออกมา ลอสแองเจลิส เขาวาดภาพในหัวว่าเมืองนี้คงเป็น “เป็นที่มีห้างเยอะๆ และทางหลวงหลายเส้น”
แทนที่จะบังคับให้ ลอสแองเจลิส กลายเป็นเมืองทรงสเน่ห์อย่าง ปารีส หรือ ซาน ฟรานซิสโก เขาเลือกให้ความสำคัญกับสิ่งที่ทำให้เมืองนี้ไม่เหมือนที่ไหนๆ ในโลก การจราจร ความระเกะระกะ และท้องฟ้าที่เหมือนจะไร้จุดสิ้นสุด
ชาเซลล์ อธิบายว่า เขาและทีมงานใช้ทางหลวงถ่ายร่วมกับผู้ใช้รถใช้ถนนปกติได้อย่างไร เขาทำให้เส้นทางรถรางกลับมาเปิดใหม่อีกครั้ง และทำไมเขาถึงอยากให้สถานที่จริงดูปลอมที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
เปิดเรื่องกลางเสียงแตรเซ็งแซ่
สำหรับฉากเต้นเปิดเรื่องกลางการจราจรแสนติดขัด ชาเซลล์ ต้องการมอบความรู้สึกให้คนดูว่า เมืองนี้มันกว้างใหญ่ขนาดไหน เขาถ่ายเรื่องนี้ด้วยเลนส์กว้างพิเศษเพื่อจะที่เก็บบรรยากาศได้ครบถ้วน ซีนนี้เปิดที่เพลงจากคลื่นวิทยุ มีต้นตอจากความคิดที่ว่าผู้คนที่อยู่ติดอยู่บนถนนคือดาราหนังมิวสิคัลของตัวเอง มันนำไปสู่การร้องประสาน การเต้น และ การกระโดดข้ามรถไปมา
ฉากนี้ถ่ายบนสะพานที่เชื่อมระหว่างทางหลวง 105 และ 110 “สิ่งที่ผมชอบคือมันเป็นตัวเมืองได้จากไกลๆ” ชาเซลล์กล่าว “เมื่อคุณเลือกใช้ภาพกว้างเผยให้เห็นเส้นขอบฟ้า สำหรับผมแล้วมันให้ความรู้สึกเหมือน ‘Wizard of Oz’ ถนนอิฐสีเหลืองที่นำคุณสู่เมืองมรกต” ขณะที่ผู้กำกับล้อเล่นว่าฉากนี้ “ดูปลอมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” เขายังกล่าวด้วยว่าถนนไม่ได้ปิดทั้งหมด ถ้าคุณเห็นด้านซ้ายล่างของภาพ คุณจะเห็นรถคนทั่วไปขับเหมือนอย่างเช่นทุกวัน “เราปูพื้นหนังให้รู้ตั้งแต่เริ่ม ระหว่างจินตนาการมิวสิคัลตระการตา และชีวิตคนเมืองยุคปัจจุบัน”
ปลุกชีวิตรถรางในตำนาน
ในช่วงที่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่กำลังหอมหวน มีอา และ เซบาสเตียน ไปเที่ยวยังที่ต่างๆ รวมทั้งรถราง แองเจิ้ลส์ ไฟลท์ ที่รับผู้โดยสารขึ้นเนินบังเกอร์ฮิลล์ “มันมีสเน่ห์บางอย่างในย่านพวกนี้ของแอล.เอ. ที่เริ่มจะจางไป ไม่เหมือนเดิม” ชาเซลล์ พูด “โครงสร้างเก่าๆ ถูกรื้อ แทนที่ด้วยตึกระฟ้า” รถรางนี้ถูกปิดไปเมื่อสามปีที่แล้ว เพราะมันตกราง (มีการซ่อมแซ่ม และสมาชิกชุมชุมพยายามผลักดันให้มีการกลับมาเปิดใหม่) ชาเซลล์ และทีมงานสามารถขอให้มันกลับมาใช้งานได้อีกครั้งแค่ในวันถ่ายทำ “แอล.เอ. มีความแตกต่างยิ่งกว่าทุกเมืองในอเมริกา บางครั้งมันหม่นหมอง เย็นชา มีประวัติศาสตร์ของตัวเอง” เขากล่าว “แต่มันยังมีเวทย์มนต์ เพราะมันเป็นเมืองที่เผยเปลือกออกมาทีละนิด เหมือนหัวหอมนั่นแหละ ถ้าคุณให้เวลาสำรวจมันมากพอ”
เดินเล่นขณะอาทิตย์ตกดิน
รูปนี้เป็นรูปที่ มีอา และ เซบาสเตียน กำลังเดินทอดน่องบนสะพาน โคโลราโด สตรีท ในพาซาดีดา ทีมงานถ่ายทำหลายฉากกันที่นั่น รวมถึงฉากในโรงหนังที่ทั้งคู่ดู “Rebel Without a Cause” “มันเป็นสถานที่ที่ให้บรรยากาศแบบ แอล.เอ ยุคเก่า” ชาเซลล์ กล่าว มีหลายคนที่ต้องขับรถผ่านสะพานนี้ทุกวัน “มันเป็นสถานที่ที่คุณต้องแวะสองรองเพื่อดื่มด่ำกับมัน” ขณะที่พระอาทิตย์เริ่มตก ไฟสะพานเพิ่งเปิด ท้องฟ้าสีชมพูอ่อน “ท้องฟ้าแอล.เอ.ไม่เหมิอนที่ไหน” เขากล่าว “เพราะส่วนนี้ของประเทศและช่วงเวลาที่เราถ่ายทำ” ในเดือนกันยายน “บางครั้งคุณจะได้สีท้องฟ้าแบบที่คุณหาไม่ได้ใน นิวยอร์ค” ทีมงานไม่ได้ใช้แสงตัวช่วยใดๆ เลย “เราไม่มีงบพอใช้อุปกรณ์เสริมบนสะพาน” เขากล่าว “มีแค่สองนักแสดงและตากล้อง”
แอบดูฮอลลีวู้ดยุคเก่า
ชาเซลล์ว่าสตูดิโอเก่าของเมืองบางแห่งไม่ต่างอะไรกับอนุสาวรีย์ มีอา ทำงานในร้านกาแฟใน “อนุสาวรีย์” แห่งหนึ่ง ในซีนนี่ (ไม่ได้ถ่ายกันในสตูดิโอใหญ่) ตัวละครทั้งสองมองเข้าไปในฉากเหมือนกับเป็นการย้อนมองดูฮอลลีวู้ดยุคเก่า ว่าหนังเขาเคยถ่ายมากันยังไง “ผู้ออกแบบงานสร้างของเรา เดวิด วาสโก้ ทำโปสเตอร์หนังเก่าพวกนี้ และบางครั้งผมก็เป็นคนทั้งชื่อหนังให้พวกเขา” เขาตัดสินใจใช้ชื่อหนังเรื่องแรกของเขา “Guy and Madeline on a Park Bench” เป็นหนึ่งในโปสเตอร์ ซึ่งเป็นหนังที่เขาได้แรงบันดาลใจมาจากหนังมิวสิคัลยุค 30
ให้แสงโดย ฮ็อปเปอร์
ที่หอดูดาวกริฟฟิธ ชาเซลล์ถ่ายทอดตัวอาคารและตัวเมืองได้ออกมาราวกับภาพวาด ต้องขอบคุณฝีมืออันสุดยอดของ เอ็ดเวิร์ด ฮอปเปอร์ “ฉากนี้เป็นฉากที่ทำให้เห็นภาพรวมหนังทั้งหมด” ชาเซลล์กล่าว “ที่ต้องใช้ แอล.เอ เล่าเรื่องผ่านกล้องโดยไม่ใช่เทคนิคจิตอลช่วย แต่ขณะที่เราทำแบบนั้นชีวิตจริงของตัวละครต้องดูปรุงแต่งมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้” เขาและทีมงานรอให้ตกเย็นเพื่อให้ได้ฟ้าแบบที่พวกเขาต้องการ และผู้กำกับภาพ ไลนัส แซนด้เกรน ใช้แสงสีเขียว อมขาว อาบทั้ง มีอา และ เซบาวเตียน ขณะเดียวกับที่เสริมเงาให้ทั้งคู่ ชาเซลล์ เลือก แซนด์เกรนที่เป็นชาวสวีเดน ที่ถ่ายภาพออกมาได้เป็นธรรมชาติซึ่งเป็นพื้นเพของงานฝั่งยุโรป เพราะว่า เขากล่าว “เขาให้ความรู้สึกกับหนังฮอลวีวู้ดสเกลใหญ่ แต่ไม่จัดแสงหนักเกินไปจนไม่เป็นธรรมชาติ”