6 วิธีช่วยเหลือผู้ที่มีอาการตื่นตระหนก

04 ตุลาคม 2560

สิ่งที่ผู้ที่เป็นโรคตื่นตระหนกต้องการคือ คนที่มีสติ และสามารถทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยได้

สิ่งที่ผู้ที่เป็นโรคตื่นตระหนกต้องการคือ คนที่มีสติ และสามารถทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยได้

ในสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ทำให้เกิดความเครียด หรืออาจมีสิ่งกระตุ้นบางอย่างมากระทบจิตใจ จนหลายๆ คนมีอาการแพนิคหรือเป็นโรคตื่นตระหนกได้ ซึ่งต้องความทำเข้าใจก่อนว่าคนเหล่านี้ไม่ได้บ้า แต่เป็นเพียงอาการป่วย หรือโรคทางจิตชนิดหนึ่งเท่านั้น หากคนรอบข้างมีอาการตื่นตระหนก ให้สังเกตอาการและค่อยๆ รับมือกับพวกเขาไป หากเข้าใจก็จะสามารถผ่านมันไปด้วยกันได้อย่างง่ายดาย

6 วิธีช่วยเหลือผู้ที่มีอาการตื่นตระหนก

1. สงบสติอารมณ์ - หากคนรอบข้างเกิดอาการหวาดกลัวหรือตื่นตระหนกขึ้นมา สิ่งที่ควรทำคือตั้งสติ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้คุณผ่านมันไปได้เท่านั้น แต่ผู้ที่โดนความตื่นตระหนกเข้าโจมตีก็จะรู้สึกผ่อนคลายไปพร้อมกับคุณด้วย

2. สร้างสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย - ถ้าคนที่คุณรู้จักกำลังหวาดวิตกในพื้นที่ที่มีผู้คนหนาแน่น ให้ดูว่าพวกเขาสามารถเดินไปกับคุณได้หรือไม่ บางทีพวกเขาจำเป็นต้องนั่งอยู่ในที่เงียบๆ หรือในรถ ขณะที่พวกเขาคิดว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป

3. ถามว่าพวกเขามียาที่แพทย์สั่งหรือไม่ - คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคตื่นตระหนก (Panic Disorder) อาจมียาที่แพทย์สั่งให้ เพื่อใช้หากเกิดอาการที่ไม่สามารถควบคุมได้ ลองถามหาและให้พวกเขาทานยาดู อาจจะพอช่วยได้

4. ขอช่องทางการติดต่อคนใกล้ชิด - พยายามติดต่อครอบครัว หรือเพื่อนของเขา ที่จะสามารถมอบความผ่อนคลาย และช่วยให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยได้ หรือหากต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉินควรเรียกรถพยาบาล และอยู่กับเขาจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง

5. พูดคุยด้วยอย่างใจเย็นและเห็นอกเห็นใจ - ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ที่เป็นโรคตื่นตระหนกจะเกิดอาการหวาดกลัวหรือตึงเครียด แต่ผู้ที่อยู่ด้วยควรพยายามตั้งสติ รักษาความสงบของเหตุการณ์ให้ได้มากที่สุด พูดคุยด้วยอย่างใจเย็น ถามพวกเขาว่าพวกเขาต้องการอะไร และคุณจะช่วยได้อย่างไรบ้าง

6. อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว - ไม่ควรปล่อยผู้ที่กำลังโดนความตื่นตระหนกเข้าโจมตีให้อยู่คนเดียว เว้นแต่เขาจะเอ่ยปากขอเอง แต่ก็อยู่ใกล้ๆ ในกรณีที่พวกเขาต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม

ที่มา: care2

Thailand Web Stat