"ณิชารีย์ โกมลกิติ"กราฟิกดีไซเนอร์สาวไทยผู้โชว์ฝีมือในนิวยอร์ก

02 สิงหาคม 2561

ประสบการณ์น่าสนใจจาก "ณิชารีย์ โกมลกิติ" กราฟฟิกดีไซเนอร์สาวที่ได้โชว์ฝีมือของคนไทยให้เป็นที่ประจักษ์ด้วยผลงานระดับโลก

ประสบการณ์น่าสนใจจาก "ณิชารีย์ โกมลกิติ" กราฟฟิกดีไซเนอร์สาวที่ได้โชว์ฝีมือของคนไทยให้เป็นที่ประจักษ์ด้วยผลงานระดับโลก

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา New York Times หนังสือพิมพ์อันดับหนึ่งของนิวยอร์ก ได้เขียนถึงงาน Marketing Campaign รูปแบบใหม่ของ Stuyvesent Town หรือ StuyTown อสังหาริมทรัพย์ใหญ่ยักษ์ที่กินอาณาเขตถึงหนึ่งเขตที่อยู่อาศัยของแมนแฮตตัน โดยมี Lead Designer คนไทย ฟ้า โกมลกิติ หรือ ณิชารีย์ โกมลกิติ เป็นผู้ออกแบบ ผ่านทางครีเอทีฟเอเจนซี่ Dark Roast Media ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานปัจจุบันของเธอในนิวยอร์ก

แคมเปญรูปแบบใหม่ที่ลงในหนังสือพิมพ์ New York Times นี้มาในรูปแบบโฆษณาเคลื่อนที่ โดยตัวรถบรรทุกที่ยาวถึง 6.6 เมตร ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นห้องนั่งเล่นล้อมด้วยกระจกใส ตัวรถถูกรังสรรค์ด้วยภาพกราฟิกของณิชารีย์ ซึ่งมีโทนสีสดใส บอกเล่าตัวแบรนด์และข้อมูลเกี่ยวกับ StuyTown ทำให้ตัวรถดูแปลกใหม่ เป็นที่เตะตา และน่าเข้าถึงในทุก ๆ ที่ที่ขับผ่าน จนทาง New York Times ถึงกับเขียนว่า “It’s original and smart and memorable…”

ภาพจาก the new york times ถ่ายโดย Katherine Marks \"ณิชารีย์ โกมลกิติ\"กราฟิกดีไซเนอร์สาวไทยผู้โชว์ฝีมือในนิวยอร์ก

ภาพจาก the new york times ถ่ายโดย Katherine Marks \"ณิชารีย์ โกมลกิติ\"กราฟิกดีไซเนอร์สาวไทยผู้โชว์ฝีมือในนิวยอร์ก

 

“โปรเจคนี้ใช้เวลาในการทำประมาณสามเดือนควบคู่ไปกับโปรเจคอื่น ๆ โดยใช้หลักใส่ให้เยอะ ซึ่งในยุคที่ทุกอย่างมินิมอล ทำให้ไปที่ไหนก็เด่น อย่างคำว่า Hi ตัวใหญ่ที่แปะไว้ที่ด้านหน้ารถ คือเป็นอะไรที่เห็นแล้วต้องหันกลับมามองอีกรอบด้วยความสงสัย จุดยากอยู่ที่ต้องออกแบบให้กราฟิกสามารถใช้ได้จริงกับรถบรรทุก และก็ดูแปลกจนคนหยุดมอง”

ณิชารีย์เริ่มทำงานกับ Dark Roast Media ครีเอทีฟเอเจนซี่ที่นิวยอร์กเมื่อเดือนสิงหาคม 2017 โดยเธอได้รับบรรจุเข้าทำงานในตำแหน่งกราฟิกดีไซเนอร์หลังจบปริญญาตรีจาก Maryland Institute College of Art หรือ MICA (ไมก้า) ที่เมือง Baltimore รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

ที่ Dark Roast Media ณิชารีย์ยังทำโปรเจคให้กับลูกค้าในเครืออสังหาฯ อีกสองเจ้าใหญ่ ๆ เจ้าแรกคือ LeFrak ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หลากหลายแห่งทั่วประเทศ

ณิชารีย์สร้างแบรนด์และแคมเปญให้กับ Ellipse ซึ่งได้ถูกกล่าวถึงใน New York Times และ NBC New York ว่าเป็นอพาร์ตเม้นที่แพงที่สุดในรัฐนิวเจอร์ซี่ และอีกสองแคมเปญที่เธอเป็นผู้นำในการออกแบบอย่าง Newport ชุมชนที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ติดแม่น้ำ และ Revetment House ซึ่งจะเปิดให้เช่าในเดือนหน้า

\"ณิชารีย์ โกมลกิติ\"กราฟิกดีไซเนอร์สาวไทยผู้โชว์ฝีมือในนิวยอร์ก Ellipse 

\"ณิชารีย์ โกมลกิติ\"กราฟิกดีไซเนอร์สาวไทยผู้โชว์ฝีมือในนิวยอร์ก ผลงานการสร้างสรรค์โลโก้ Ellipse 

\"ณิชารีย์ โกมลกิติ\"กราฟิกดีไซเนอร์สาวไทยผู้โชว์ฝีมือในนิวยอร์ก ผลงานออกแบบเว็บไซต์ Ellipse 

 

\"ณิชารีย์ โกมลกิติ\"กราฟิกดีไซเนอร์สาวไทยผู้โชว์ฝีมือในนิวยอร์ก ผลงานการออกแบบแคมเปญให้กับ newport

ญิชารีย์ยังได้ทำ Motion Graphic Video ให้กับอพาร์ตเมนท์ Caesura  ในบรุ้คลินเป็นการเปิดตัวห้องพักและเฟอร์นิเจอร์แบบประหยัดพื้นที่ และทำแบรนดิ้งให้กับอพาร์ตเมนท์ที่กำลังรีโนเวตในบอสตัน ซึ่งทั้งคู่เป็นอสังหาฯ ในเครือ Bozzuto Group โดยมีกำหนดจะนำเข้าแข่งขันทางด้านโมชั่นกราฟิกในปีหน้า

 

นอกจากลูกค้าทางด้านอสังหาฯ ณิชารีย์ยังพูดถึงผลงานทางด้านวีดีโอกับผู้นำด้านเครื่องสำอางอย่าง Estee Lauder อีกด้วย โดยเธออธิบายว่าเป็นวิดีโอสัมภาษณ์ผู้หญิงจากหลายเชื้อชาติและ Generation เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองต่อการพรีเซนท์เครื่องสำอางตามสื่อต่าง ๆ วีดีโอได้ถูกเปิดในงาน Innovation Day และถูกนำไปพัฒนาด้านมาร์เก็ตติ้งของ Estee Lauder ในปีต่อ ๆ ไป

เส้นทางของณิชารีย์ในฐานะกราฟิกดีไซเนอร์เริ่มต้นจากการวาดภาพศิลปะ ก่อนมาศึกษาปริญญาตรีที่นี่ ณิชารีย์เรียนที่โรงเรียนมาแตร์เดอี วิทยาลัย และต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ประเทศนิวซีแลนด์ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เธอลงเรียนวิชาการเขียนเว็บเบื้องต้น และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการนำศิลปะและเทคโนโลยีมาประยุกต์เข้าด้วยกัน โดยผลงานทางด้าน Graphic & Interactive Design ผลงานแรกเป็นโปรเจคกลุ่มสี่คน เป็นการดีไซน์และเขียนระบบหุ่นยนต์ให้เต้นตามจังหวะเพลงและเส้นทึบที่ขีดบนพื้น ชนะเลิศระดับภาคของ Robocup Junior ที่เมืองโอ๊คแลนด์

“ที่จริงแล้วกว่าฟ้าจะมาถึงจุดนี้ได้ก็เหนื่อยมาก ๆ ทุก ๆ งานทุก ๆ การกระทำมีความท้าทายในตัวของมันเอง ตั้งแต่การเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยตัวคนเดียวตั้งแต่อายุ 14 ในประเทศที่แตกต่างทั้งทางวัฒนธรรมและภาษา จนกระทั่งถึงตอนนี้ที่ทำงานอยู่ในนิวยอร์กที่มีการแข่งขันสูง และมีเวลาชีวิตที่เดินไปอย่างรวดเร็วจนต้องวิ่งตามเพื่อคว้าโอกาส ซึ่งฟ้าต้องขอบคุณครอบครัวและอีกหลาย ๆ คนที่ช่วยสนับสนุนให้ฟ้าเดินมาถึงตรงนี้ ซึ่งฟ้าเชื่อว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็น กราฟิกดีไซเนอร์ ในรูปแบบหนึ่งเท่านั้น”

ณิชารีย์เล่าว่าเธอทำงานและฝึกงานมาตลอด ทั้งระหว่างเรียนและหลังเรียนจบ เพราะเธอเชื่อว่างานกราฟิกดีไซน์เป็นงานฝีมือที่ต้องฝึกฝนอยู่เสมอ แม้แต่การโต้รุ่งติดต่อกันถึง 55 ชั่วโมงก็เคยมาแล้ว

“ในปี 2013 และ 2014 ฟ้าได้รับโอกาสให้ทำงานแรกในฐานะดีไซเนอร์กับทาง rkd retail/iQ บริษัทออกแบบด้านอินทีเรียร์และกราฟิก ซึ่งฟ้าต้องขอบคุณที่ให้โอกาสฟ้าในทั้งสองครั้งนี้มาก ๆ ค่ะ”

ตัวอย่างงานที่ณิชารีย์ได้ทำ ได้แก่งานออกแบบป้ายบอกทางและไอคอนให้กับ T Galleria ห้างสรรพสินค้าของ DFS Duty Free ซึ่งเพิ่งรีแบรนด์และเปิดตัวในฮ่องกงในปี 2013 และ กราฟิกของซูเปอร์มาร์เก็ต Hyper-mart ของ Bubugao ในประเทศจีน ซึ่งได้รับรางวัลอันดับหนึ่งในการประกวดของ Chain Store Age สาขา Discount Store ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2014

ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่ MICA ณิชารีย์ได้กลับมาฝึกงานที่ G49 ในปี 2015 ซึ่ง G49 เป็นบริษัททางด้านกราฟิกในเครือ 49 Group ซึ่งเป็นผู้นำในด้านดีไซน์แบบครบวงจรในประเทศไทย

“ที่ G49 ฟ้าได้มีโอกาสดีไซน์ผลงานที่มีกลิ่นอายไทยเป็นครั้งแรก สนุกกับการดัดตัวอักษรภาษาไทยให้มีลักษณะผสมผสานแบบไทยร่วมสมัยมาก ๆ ซึ่งทำให้งานส่วนตัวของฟ้าหลังจากนั้นมีกลิ่นอายไทย ๆ ผสมลงไปด้วยอยู่ช่วงหนึ่ง”

ที่ G49 ณิชารีย์ได้เป็นผู้ออกแบบโปสเตอร์เกี่ยวกับสปีกเกอร์ที่มาเข้าร่วมงาน Design Forum ในการประชุมของ ARCASIA ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของสมาคมสถาปนิกประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย และวนมาจัดที่อยุธยา ประเทศไทยในเดือนพฤษจิกายน ปี 2015

“ถ้าพูดถึงงานที่เคี่ยวที่สุดคงเป็นที่ The Charles ที่นิวยอร์ก ฟ้าทำงานให้ The Charles ในปี 2016 เป็นเอเจนซี่ทางด้าน Digital Experience ซึ่งเป็นด้านที่ฟ้าชอบมากที่สุด ตอนนั้นโชคดีมากคือครีเอทิฟไดเรกเตอร์ชอบพอร์ตของฟ้า ฟ้าเลยได้รับงานเว็บไซต์ ซึ่งเป็น Interactive Ad Campaign ออกกับทาง Wall Street Journal ฟ้าทำให้กับลูกค้าอย่าง Netflix และ Microsoft Cloud  โดยหลัก ๆ ฟ้าต้องทำให้มันเป็น Responsive Design ก็คือทำให้ตัวเว็บสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับทุกรูปแบบของสื่อดิจิตัล โดยคงความว้าวไว้ในทุกขนาด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและต้องทำให้ดีในยุคที่คนส่วนมากใช้มือถือในการเสพสื่อออนไลน์เป็นหลัก”

\"ณิชารีย์ โกมลกิติ\"กราฟิกดีไซเนอร์สาวไทยผู้โชว์ฝีมือในนิวยอร์ก ผลงานที่ทำให้ Netflix

 

\"ณิชารีย์ โกมลกิติ\"กราฟิกดีไซเนอร์สาวไทยผู้โชว์ฝีมือในนิวยอร์ก ผลงานที่ทำให้ Microsoft Cloud 

 

นอกจากนี้ณิชารีย์ยังได้ทำ Social Media Video Campaign ของ Cartier เพื่อเป็นการโปรโมทการเปิดตัวของแมนชั่นในแมนแฮตตัน ที่เก็บสะสมและโชว์เครื่องประดับดัง ๆ ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกอีกด้วย

หากพูดถึง Inspiration ณิชารีย์บอกว่าเธอมักได้ไอเดียดี ๆ จากการศึกษาเว็บไซต์ใหม่ ๆ และการพูดคุยกับคนอื่น เพราะเป็นช่วงที่ Articulate Idea ได้ดีที่สุดสำหรับเธอ แนวศิลปะที่เธอชอบมากที่สุดคือแนวมินิมอล ส่วนศิลปินที่ชื่นชอบคือประติมากร Richard Serra ซึ่งเป็นสายแอ็บสแตรคและมินิมอลแบบสุดโต่ง เธอบอกว่าเธอสนใจการใช้พื้นที่และความว่างเปล่าในการไกด์คนให้เดินตาม อย่างประติมากรรมที่ทำจากเหล็กคดงอสูงเทียบเพดานจนบางทีแทบลอดตัวผ่านไม่ได้หรืออาจทำให้รู้สึกเหมือนเดินวนอยู่ที่เดิม ซึ่งเธอบอกว่าการใช้ space ให้เป็นประโยชน์และมีความหมายโดยการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป หรือเพิ่มเพื่อประสบการณ์ที่แตกต่าง เป็นการดีไซน์ที่เธอชื่นชอบและนำมาประยุกต์ใช้กับงานกราฟิกเสมอ

“เวลาฟ้าดีไซน์งานที่ไม่ใช่ Artistic แบบสุด ๆ ฟ้าจะถือคติไว้อยู่อย่างหนึ่ง คือการ Design with Purpose หรือถ้าแปลตรง ๆ ก็คือการออกแบบโดยมีวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟ้าใช้อยู่ตลอดโดยเฉพาะกับพวกอสังหาฯ ที่ทำงานอยู่ด้วยในปัจจุบัน เพราะทุกการออกแบบที่แปลกใหม่สำหรับเขา เราต้องอธิบายให้ได้ว่าทำไปเพื่ออะไร และจะส่งผลอย่างไร ถือเป็นหลักการที่ต้องตั้งไว้ตั้งแต่แรกในทุก ๆ การดีไซน์ โดยเฉพาะหากต้องการดีไซน์ที่แตกต่างไปจากเดิม”

*******************

ภาพรถบรรทุกจาก the new york times ถ่ายโดย Katherine Marks

Thailand Web Stat