รู้จัก 'ภาวะความดันต่ำ' สังเกตอาการพร้อมรับมือและป้องกัน
"90/60" สองตัวเลขชี้วัด "ความดันโลหิตต่ำ" เป็นภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจไม่พบอาการผิดปกติร้ายแรงจนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน
"90/60" สองตัวเลขชี้วัด "ความดันโลหิตต่ำ" เป็นภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจไม่พบอาการผิดปกติร้ายแรงจนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน แต่หากวัดค่าความดันโลหิตได้สูงต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท หมายถึงภาวะความดันเลือดต่ำ และหากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป จะจัดเป็นภาวะความดันโลหิตสูง
ภาวะความดันโลหิตต่ำพบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิงในอัตราใกล้เคียงกัน และพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุ
สาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำที่พบส่วนใหญ่ คือ ภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี ทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ ผนังหลอดเลือดแดงไม่แข็งแรง และคลายตัวมากเกินไป การสูญเสียโลหิต ทั้งแบบกะทันหัน เช่นอุบัติเหตุ หรือการสูญเสียโลหิตแบบเรื้อรัง เช่น บาดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้หรือที่ไต การสูญเสียน้ำ เช่น เหงื่อ ท้องเสีย การติดเชื้อรุนแรง การตั้งครรภ์ และโรคบางชนิด อาทิ โรคหัวใจ ภาวะซึมเศร้า
จับอาการผิดสังเกตของภาวะความดันโลหิตต่ำ
ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ โดยธรรมชาติมักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่ภาวะความดันโลหิตต่ำบางครั้งอาจเป็นผลมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในร่างกาย ผู้ป่วยจึงอาจพบอาการเหล่านี้ชั่วคราว
- วิงเวียนศรีษะ หน้ามืด เป็นลม
- ทรงตัวไม่อยู่
- มองเห็นภาพไม่ชัด
- ใจสั่น ใจเต้นแรง
- อาการมึนงง สับสน
- คลื่นไส้
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- หายใจตื้นและถี่
- กระหายน้ำ
- ตัวเย็น ผิวซีด หนาวสั่น
สำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำระดับไม่รุนแรงและมีสุขภาพแข็งแรง สามารถควบคุมภาวะความดันโลหิตต่ำได้ด้วยการปฏิบัติตนตามคำแนะนำทั่วไป ดังนี้
- หากเกิดอาการอันเนื่องมาจากภาวะความดันโลหิตต่ำ ควรนั่งพักหรือนอนลงทันทีที่มีอาการ โดยพยายามยกเท้าให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ
- ควรเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงเช้าของวัน เพื่อเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย เช่น ยืดเส้นยืดสายทุกเช้าก่อนลุกขึ้นมาทำกิจกรรมอื่นๆ ของวัน อาจเป็นการบิดตัว ไข้วขา เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันภาวะโลหิตต่ำที่เกิดจากการสื่อสารผิดระหว่างหัวใจและสมอง
- สวมใส่ถุงเท้าประเภทที่ช่วยเพิ่มความดัน ซึ่งเป็นถุงเท้าที่ทำมาจากผ้ายืดมีความยืดหยุ่นและรัดแน่น เพื่อช่วยระบบการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มความดันโลหิต แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ เพราะอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยทุกราย
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนในตอนกลางคืน และจำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจไปกระตุ้นให้เกิดภาวะความดันต่ำได้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ในมื้อเดียว แต่ควรแบ่งรับประทานอาหารทีละน้อยในแต่ละมื้อ
วิธีการป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำ
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เกลือแร่ และเพิ่มปริมาณเลือดให้สูงขึ้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน เน้นอาหารประเภทผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
- การลุกหรือนั่งไม่ควรเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็วมากเกินไป
- ตรวจเช็กความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละมื้อ โดยแบ่งรับประทานเป็นมื้อย่อย ๆ หลายมื้อ และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น มันฝรั่ง ข้าว พาสต้า และขนมปัง ในปริมาณมาก เพื่อป้องกันความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็วหลังรับประทานอาหาร
ภาพ freepik