posttoday

พลังงานทางเลือก พลังงานทางรอด?

13 พฤศจิกายน 2553

บทความโลก 360 องศา ที่ตีพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์ เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2553 ที่ผ่านมา คงจะพอทำให้ท่านผู้อ่านมองเห็นภาพรวมด้านพลังงานของไทยชัดขึ้นในระดับหนึ่ง “อนาคต” กับ “วิกฤต” ด้านพลังงาน ดูเหมือนจะเป็นสองคำที่แยกกันไม่ค่อยจะออก สาเหตุที่แท้จริงก็เนื่องจากเรามีพลังงานทางเลือกหรือแหล่งพลังงานหลักน้อยมาก คำถามที่น่าสนใจคือ “เรามีอะไรให้เลือกบ้าง?”

บทความโลก 360 องศา ที่ตีพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์ เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2553 ที่ผ่านมา คงจะพอทำให้ท่านผู้อ่านมองเห็นภาพรวมด้านพลังงานของไทยชัดขึ้นในระดับหนึ่ง “อนาคต” กับ “วิกฤต” ด้านพลังงาน ดูเหมือนจะเป็นสองคำที่แยกกันไม่ค่อยจะออก สาเหตุที่แท้จริงก็เนื่องจากเรามีพลังงานทางเลือกหรือแหล่งพลังงานหลักน้อยมาก คำถามที่น่าสนใจคือ “เรามีอะไรให้เลือกบ้าง?”

โดย.....ดร.เอกรินทร์ วาสนาส่ง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

 

พลังงานทางเลือก พลังงานทางรอด?

บทความโลก 360 องศา ที่ตีพิมพ์ในโพสต์ทูเดย์ เมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2553 ที่ผ่านมา คงจะพอทำให้ท่านผู้อ่านมองเห็นภาพรวมด้านพลังงานของไทยชัดขึ้นในระดับหนึ่ง “อนาคต” กับ “วิกฤต” ด้านพลังงาน ดูเหมือนจะเป็นสองคำที่แยกกันไม่ค่อยจะออก สาเหตุที่แท้จริงก็เนื่องจากเรามีพลังงานทางเลือกหรือแหล่งพลังงานหลักน้อยมาก คำถามที่น่าสนใจคือ “เรามีอะไรให้เลือกบ้าง?”

คนไทยบางคนอาจคิดว่าเรามีแหล่งก๊าซธรรมชาติของเราเองหลายแหล่ง โดยหลักๆ อยู่ในอ่าวไทย ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเอราวัณ แหล่งบงกช แหล่งทานตะวัน ฯลฯ หรือมีแหล่งน้ำมันดิบของตัวเอง อย่างที่แหล่งสิริกิติ์ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร เพราะเคยฟังจากการนำเสนอของสื่อต่างๆ ที่ดูจะเขียนข่าวเกินจริงไปบ้าง แต่ความจริงแล้วเราเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการนำเข้าพลังงานหลักๆ ถึง 85%

นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เคยออกมาประกาศชัดว่าท่านจะสนับสนุนและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นไปตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดยตั้งเป้าว่าจะ “ต้องมีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นเป็น 20% ภายในปี 2565” จากปัจจุบันที่มีการใช้พลังงานทดแทนประมาณ 7% ซึ่งแผนพัฒนาฯ ของ พพ.ฉบับนี้ ดูเหมือนจะเป็นทางออกที่หลายๆ คน ซึ่งได้รับทราบถึง “วิกฤตพลังงาน” ตั้งความหวังเอาไว้ว่าน่าจะพอเป็นทางรอดของประเทศไทยได้ แต่ความจริงจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ คือคำถามที่น่าคิด

ก่อนอื่นเราคงต้องมารู้จักคำจำกัดความของคำว่า พลังงานทางเลือก (Alternative Energy) และพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) กันก่อน พลังงานทางเลือก หรือพลังงานทดแทน คือพลังงานอะไรก็ได้ที่สามารถนำมาทดแทนการใช้พลังงานในรูปแบบเดิม เช่น การนำ NGV มาทดแทนการใช้น้ำมัน ในภาคขนส่ง หรือการนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักมาใช้ในฟาร์ม ทดแทน LPG หรือนำเอทานอลมาทดแทนน้ำมันในแก๊สโซฮอล์ ส่วนพลังงานหมุนเวียนนั้น หมายถึงพลังงานที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดไป หรือสามารถเกิดใหม่ได้เรื่อยๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานคลื่นน้ำ พลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลง และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น คงจะเห็นได้ชัดว่าพลังงานทดแทนนั้นเราได้มาจากธรรมชาติทั้งสิ้น

บางคนอาจแย้งว่า แล้วพลังงานจากชีวภาพ หรือ Biomass ล่ะ ไม่ใช่พลังงานหมุนเวียนหรือ? จริงๆ แล้ว ถ้ามองในภาพรวมระดับโลกแล้ว พลังงานจากชีวภาพเป็นได้เพียงพลังงานทดแทนและมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องพื้นที่เพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ ดังนั้นถ้าเราจะตั้งหน้าตั้งตาปลูกพืชน้ำมัน หรือปลูกพืชเพื่อผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นพลังงานหลัก คงต้องผิดหวังอย่างแน่นอน เพราะถ้าเราเอาพื้นที่ในโลกปลูกพืชพลังงานไปซะหมด เราก็คงไม่เหลือพื้นที่พอให้ปลูกพืชอาหารอย่างแน่นอน

 

พลังงานทางเลือก พลังงานทางรอด?

ที่ว่าเรามีพื้นที่จำกัดนั้น เราคงต้องมองภาพรวมของโลกเราก่อน พื้นผิวโลกเรามีพื้นที่ประมาณ 510 ล้าน ตร.กม. แต่เป็นพื้นที่ทะเลไปแล้ว 360 ล้าน ตร.กม. หรือประมาณ 70% โดยเหลือเป็นพื้นที่ดินเพียง 150 ล้าน ตร.กม. ในพื้นดินที่เรามีทั้งหมดกลายเป็นทะเลทรายไปแล้ว 45 ล้าน ตร.กม. และเป็นป่าอีก 42 ล้าน ตร.กม. ส่วนที่เหลืออื่นๆ ก็จะเป็นทุ่งหญ้าสะวันนา ป่าชายเลน ทุ่งน้ำแข็ง หรือเป็นน้ำแข็งไปเลย โดยเหลือพื้นที่ให้เราเพาะปลูกได้เพียง 16 ล้าน ตร.กม. ถ้าเรานำพื้นที่เพาะปลูกเหล่านี้ไปใช้เพาะปลูกพืชเพื่อนำมาใช้ผลิตเอทานอล หรือปลูกพืชน้ำมันเพื่อผลิตไบโอดีเซลเพื่อทดแทนความต้องการใช้เชื้อเพลิงของพวกเราทั้งหมด เราจะสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารไปกว่า 60% ความหมายง่ายๆ ก็คือ “มนุษย์ก็จะไม่มีอะไรรับประทานกัน” นี่คือสาเหตุที่ผมไม่เรียก Biomass ว่า พลังงานหมุนเวียน ถึงแม้เมืองไทยเราจะมีศักยภาพสูงกว่าหลายๆ ประเทศในโลกก็ตาม แต่ก็ไม่น่าผลิตได้เกินกว่าความต้องการของคนไทย

กลับมาที่แผนพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศไทย ทาง พพ.ได้ตั้งเป้าสัดส่วนการทดแทนไว้ที่ 20.3% ของการใช้พลังงานของประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2565 โดยแบ่งเป็น พลังงานทดแทนเพื่อการผลิตไฟฟ้า 2.4% ผลิตความร้อน 7.6% เชื้อเพลิงชีวภาพ 4.1% และเป็น NGV อีก 6.2% ซึ่งคาดว่าจะลดการนำเข้าพลังงานได้กว่า 4 แสนล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับมูลค่าเชื้อเพลิงที่เราคาดการณ์ว่าต้องนำเข้ามากกว่า 3 ล้านล้านบาท ในปี 2565 แล้ว ก็คือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก ดังนั้น “พลังงานทดแทน” ที่เราฝากความหวังไว้ ก็คง “เป็นได้แค่ตัวช่วยในยามขาดแคลนเท่านั้น” แต่จะมาทดแทนทั้งหมดก็คงเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของภาคการผลิตไฟฟ้า หรือในส่วนของการขนส่งก็ตาม

 

สำหรับการผลิตไฟฟ้า ปัจจุบันมีโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในหลายพื้นที่ เนื่องจากเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องต้นทุนการผลิตที่ยังคงสูง เนื่องจากอุปกรณ์ส่วนใหญ่ต้องนำเข้า โดยส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดความร้อน คือใช้แผ่นสะท้อนรวมแสง ไม่ได้ใช้โซลาร์เซลล์เหมือนที่เราเข้าใจ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง สำหรับ ณ เวลานี้ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เขื่อนสิรินทธร ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีพิกัด 1 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนั้นก็ยังคงเป็นของ กฟผ. โดยได้ติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า ขนาดกำลังผลิต 1.25 เมกะวัตต์ จำนวน 2 ชุด รวมกำลังผลิต 2.5 เมกะวัตต์ ที่บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา สำหรับพลังงานทดแทนอื่นๆ ที่มีศักยภาพในประเทศเรา ก็ได้แก่ พลังงานจากชีวมวล ซึ่งปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวมทั้งประเทศถึงกว่า 1,600 เมกะวัตต์ ซึ่งศักยภาพที่แท้จริงจากการศึกษาของ พพ. อาจสูงถึงกว่า 4,000 เมกะวัตต์ โดยผู้ที่สามารถผลิตได้ส่วนใหญ่คือเจ้าของวัตถุดิบและเจ้าของอุตสาหกรรมการเกษตร โดยข้อจำกัดของพลังงานชีวมวลก็คือ ปริมาณผลิตผลทางการเกษตรหรือปศุสัตว์ อย่างกรณีที่เกิดอุทกภัยใหญ่ในประเทศไทยขณะนี้ เชื่อว่าจะทำให้กำลังการผลิตจากชีวมวลลดลงด้วย ส่วนพลังงานน้ำที่ดูน่าจะผลิตได้เยอะขึ้นจากเขื่อนต่างๆ ในขณะนี้ เพราะต้องปล่อยน้ำกันอย่างเต็มที่นั้น ก็คงได้เพียงชั่วขณะ เพราะในหน้าแล้งกำลังการผลิตก็จะหายไปตามปริมาณน้ำด้วยเช่นเดียวกัน ที่น่าสังเกตคือ ขณะนี้คนไทยต้องไปลงทุนสร้างเขื่อนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและพม่า เพื่อผลิตไฟฟ้ากลับมาขายประเทศตัวเอง เพราะในประเทศไทยไม่สามารถสร้างเขื่อนได้ด้วยหลายเหตุและปัจจัย “อย่างนี้จะเรียกว่ายืมจมูกเพื่อนบ้านหายใจได้หรือไม่?”

พลังงานทางเลือก พลังงานทางรอด?

พลังงานที่ดูแล้วหลายๆ คนอาจมองข้ามไป ได้แก่ พลังงานจากขยะ ซึ่งเรามีอยู่ล้นเมือง เนื่องจากระบบการบริหารจัดการที่ไม่ดีนักตั้งแต่อดีต และนิสัยการทิ้งขยะของประชาชนที่ไม่เคยถูกสอนให้คัดแยกขยะกันมาตั้งแต่เด็กๆ ทำให้เราต้องลงทุนโรงงานคัดแยกขยะ เพื่อแบ่งเป็นขยะจากชีวภาพและขยะที่สามารถรีไซเคิลก่อน จึงจะนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการผลิตพลังงาน ขยะชีวภาพจะถูกหมักเพื่อผลิตไบโอแก๊ส ก่อนนำมาผลิตไฟฟ้า ส่วนถุงพลาสติกที่ไม่มีราคาก็สามารถนำมาผ่านกระบวนการไพโลไลซิส (Pyrolysis) เพื่อแปลงกลับมาเป็นน้ำมันได้ แต่ในประเทศไทยเรามีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากขยะรวมทั้งประเทศเพียง 5 เมกะวัตต์เท่านั้น

 

เมื่อรวมๆ พลังงานทดแทนเพื่อการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศขณะนี้ เรามีพลังงานทดแทนรวมกันเพียงประมาณ 1,700 เมกะวัตต์เท่านั้น เมื่อเทียบกับความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศเราที่สูงถึงกว่า 2.4 หมื่นเมกะวัตต์แล้ว คงพอเห็นภาพว่าทดแทนอย่างไรก็คงไม่พอ แต่ในวิกฤตนี้ก็ยังมีโอกาส

เมื่อพลังงานรูปแบบเดิมกำลังจะหมดไป เทคโนโลยี หรือแหล่งพลังงานในรูปแบบใหม่ๆ ย่อมจะได้รับการพัฒนาและส่งเสริมมากขึ้น ซึ่งในครั้งนี้เทคโนโลยีที่มีคนกล่าวถึงมากที่สุดและกำลังเติบโตสูงที่สุดก็คือ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ไฮโดรเจน รวมถึงพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นทางออกของโลกในยุคที่พลังงานรูปแบบอื่นๆ เหลือน้อยลง และแพงเกินกำลังจะรับไหว