COVID-19 กับเรื่องต้องรู้ : การกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine)
เรื่องต้องรู้ระหว่างการกักกัน หรือคุมไว้สังเกตในที่พักอาศัย กรณีใดเข้าข่ายเฝ้าระวัง? ทำไมต้อง 14 วัน? ระหว่างนี้ควรทำอะไร ห้ามทำอะไรบ้าง? คนที่อาศัยในบ้านเดียวกันต้องทำอย่างไร?
การกักกันคืออะไร?
การกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) เป็นการจำกัดกิจกรรมของบุคคลที่มีสุขภาพดี เนื่องจากสัมผัส (Expose) กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อระหว่างช่วงที่แพร่เชื้อ (Period of communicability) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อถ้าบุคคลที่มีสุขภาพดีติดเชื้อ
ทำไมต้อง 14 วัน?
ระยะเวลาเฝ้าสังเกตอาการจะไม่นานเกินกว่าระยะฟักตัวที่ยาวที่สุดของเชื้อก่อโรค ซึ่งในกรณีของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีระยะฟักตัวของโรคนาน 2-14 วัน ดังนั้น จึงแยกตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน
วัตถุประสงค์ของการกักตัวคืออะไร?
สำหรับวัตถุประสงค์ของการกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) ก็เพื่อใช้สำหรับให้การดูแลและควบคุมผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในข่ายต้องกักกันเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย หรือหากพบการป่วยก็ต้องแยกกัก (isolation) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ใครบ้างที่ควรกักตัว?
ผู้ที่เข้าเกณฑ์การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
1.ผู้ป่วยที่มีประวัติไข้ หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หรือหายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก) และมีประวัติในช่วง 14 วัน ก่อนวันเริ่มมีอาการ
- มีการเดินทางไปหรือมาจากประเทศ หรือ อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดต่อเนื่องของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ
- เป็นผู้ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดต่อเนื่องของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ
- มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2.ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ และมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่สงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
3.ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ และเป็นบุคลากรทางการแพทย์
4.ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเฉียบพลันชนิดรุนแรงที่หาสาเหตุไม่ได้
การปฏิบัติตัวระหว่างการกักกัน หรือคุมไว้สังเกตในที่พักอาศัย
1) อยู่ในที่พักอาศัย 14 วันนับจากวันเดินทางถึงประเทศไทย ทำการวัดอุณหภูมิร่างกายตนเองทุกวัน สังเกตอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก ครั่นเนื้อตัว และอื่นๆ บันทึกในรายงานที่กำหนดเป็นประจำทุกวัน หากมีอุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาขึ้นไป หรือพบอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทราบทันที
2) ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น
3) ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน ผ้าห่ม แก้วน้ำ
4) ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่นาน 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์ 70% ลูบมือจนแห้ง
5) เมื่อต้องอยู่กับผู้อื่น ต้องสวมหน้ากากอนามัย และอยู่ห่าง จากคนอื่นประมาณ 1-2 เมตรหรือหนึ่งช่วงแขน
6) หลีกเลี่ยงการพูดคุยใกล้ชิดกับคนอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง
7) การทิ้งหน้ากากอนามัยให้ทิ้งใส่ถุงพลาสติก ปิดถุงให้สนิท ก่อนทิ้งลงถังขยะที่ปิดมิดชิด จากนั้นท้าความสะอาดมือด้วย น้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ 70% ทันที
8) เมื่อไอ จาม ให้ใช้ทิชชูปิดปาก ปิดจมูกถึงคางทุกครั้ง ทิ้งทิชชูใส่ถุงพลาสติก ปิดถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงถังขยะที่ปิดมิดชิด จากนั้นท้าความสะอาดมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์ 70% ทันทีหากไม่มีทิชชูใช้ต้นแขนด้านใน
9) ทำความสะอาดบริเวณที่พัก ด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 99 ส่วน) หรือเช็ดพื้นผิวสัมผัสด้วยแอลกอฮอล์ 70%
10) ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู หรืออื่นๆ ด้วยผงซักฟอกและน้ำธรรมดา หรือซักผ้าด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 70-90 องศา
การปฏิบัติตัวของผู้อยู่อาศัย และการทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมของบ้านที่มีผู้ถูกกักกัน หรือคุมไว้สังเกต
1) ผู้อาศัยร่วมบ้านทุกคนล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่นาน 20 วินาทีขึ้นไป หรือแอลกอฮอล์ 70% ลูบมือจนแห้ง
2) หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด และควรนอนแยก กับผู้ถูกกักกัน หรือคุมไว้สังเกต
3) เมื่อต้องอยู่กับผู้ถูกกักกันหรือ คุมไว้สังเกตอาการให้สวม หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และอยู่ห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เมตร หรือหนึ่งช่วงแขน
4) ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับ ผู้ถูกกักกัน หรือคุมไว้สังเกต
5) หากต้องรับประทานอาหาร ร่วมกัน ให้แยกชุดอาหาร และนั่งห่างกัน ไม่น้อยกว่า 1 เมตร
6) ทำความสะอาดเสื้อผ้าผ้าปูเตียงผู้ขนหนูหรืออื่นๆด้วยผงซักฟอกและน้ำธรรมดา
7) ทำความสะอาดบริเวณที่พัก ด้วยน้ ายาฟอกขาว 5% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ าสะอาด 99 ส่วน) หรืออาจเช็ดพื้นผิวสัมผัส ด้วยแอลกอฮอล์ 70% พร้อมสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น ถุงมือ หน้ากาก แว่นตาขนาดใหญ่
8) สังเกตอาการเจ็บป่วยของ ตนเอง 14 วัน หลังสัมผัส ใกล้ชิดผู้ถูกกักกัน หรือคุมไว้ สังเกตครั้งสุดท้าย