posttoday

โรคเบาหวาน : ภาวะน้ำตาลสูง-ต่ำ อันตรายแค่ไหน?

23 มิถุนายน 2563

รู้จักกับ “ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง-ต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน” จับทางสัญญาณบ่งบอก วิธีสังเกตอาการ การช่วยเหลือตัวเอง และการป้องกัน

ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดเป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ต่างก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ทั้งนั้น โดยคนส่วนมากจะรู้จักเพียงภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพราะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน แล้วรู้หรือไม่ว่า ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน มาทำความเข้าใจกับภาวะระดับน้ำตาลในเลือดำให้มากขึ้น พร้อมกับลองพิจารณาดูว่าเรากำลังถูกโรคนี้คุกคามอยู่หรือไม่

โรคเบาหวาน : ภาวะน้ำตาลสูง-ต่ำ อันตรายแค่ไหน?

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) 

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและไม่พบกรดคีโตนคั่ง ภาวะนี้พบได้ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ค่อยดีจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เมื่อมีความเจ็บป่วยรุนแรงหรือร่างกายเกิดการติดเชื้อ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกระหายน้ำมาก คลื่นไส้ ปัสสาวะบ่อยและมากผิดปกติ โดยเฉพาะเวลากลางคืนอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดตาพร่ามัวซึม อาจถึงขั้นหมดสติ หรือมีอาการชักกระตุกเฉพาะที่  
  2. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและมีกรดคีโตนคั่ง หมายถึง ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ร่วมกับมีสารคีโตนคั่งในเลือดเฉียบพลัน ทำให้มีกรดเกินในกระแสเลือด ภาวะนี้ค่อนข้างอันตรายรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสียชีวิตได้ มักเกิดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากขาด การฉีดอินซูลิน หรือได้รับยาไม่เพียงพอ หรือภาวะเครียดจากการเจ็บป่วย อาการทีพบบ่อย คือ คลื่นไส้ อาเจียนมาก ปัสสาวะบ่อย ลมหายใจมีกลิ่นเหมือนผลไม้ หายใจเหนื่อยหอบลึก อาจช็อคหมดสติ การรักษาภาวะฉุกเฉินนี้ ดื่มน้ำมากๆ และรีบไปโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน

ช่วยตนเองอย่างไร? ... เมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

  • ดื่มน้ำเปล่ามากๆ
  • ถ้ามีเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วที่บ้าน ควรเจาะเลือดเช็คดูระดับน้ำตาลว่าสูงเท่าใด
  • ปรับขนาดยาฉีดอินซูลินขึ้น 1-2 ยูนิต ในกรณีที่ไม่แน่ใจควรโทรปรึกษาแพทย์ หรือทีมวิทยากรเบาหวาน
  • หากมีอาการรุนแรงมากกว่านี้ ควรมาโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน

จะป้องกันอย่างไร? ... ไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

  1. ควบคุมอาหารอย่างต่อเนื่อง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. รับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  3. ตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการผิดปกติ
  4. เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ควรไปพบแพทย์
  5. ห้ามหยุดฉีดอินซูลิน หรือหยุดรับประทานยาเอง
  6. มาพบแพทย์ตามนัด เพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

โรคเบาหวาน : ภาวะน้ำตาลสูง-ต่ำ อันตรายแค่ไหน?

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

หมายถึง ภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 60 มก./ดล. หรือเป็นผู้เป็นเบาหวาน บางราย เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มก./ดล. อาจมีอาการได้ในกรณีที่มีประวัติน้ำตาลสูงมากๆ

สัญญาณบอกว่า...ว่าเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • เหงื่อออกมาก ตัวเย็น
  • ใจสั่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว
  • หิวมาก มือสั่น
  • อารมณ์หงุดหงิดง่ายปวดศรีษะ มึนงง หน้ามืด ตาลาย
  • ถ้าอาการรุนแรงอาจชักหรือหมดสติถ้าเกิดเวลากลางคืน อาจมีอาการปวดศรีษะ มึนงง เหงื่อออกมากขณะหลับ ฝันร้าย เมื่อตื่นขึ้นมาอาจสังเกตว่าเสื้อผ้าเปียกชุ่มไปด้วยเหงื่อ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกิดขึ้นได้อย่างไร?

  1. รับประทานอาหารน้อยกว่าปกติ จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน พลาดเวลาอาหารหลัก รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
  2. ฉีดอินซูลิน หรือรับประทานยามากเกินไป
  3. ออกกำลังกายหักโหม หรือทำงานหนักมากกว่าปกติ
  4. การรับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในช่วงท้องว่าง อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติได้

จะช่วยตัวเองอย่างไร?....เมื่อเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

ถ้าอาการไม่มาก และเกิดขึ้นใกล้เวลาอาหาร ควรรีบรับประทานทันที หรือรีบรับประทานของว่าง เช่น ขนมปัง นม ผลไม้รสหวานก่อน

กรณีที่มีอาการค่อนข้างมาก แต่ยังรู้สึกตัว ให้ดื่มน้ำหวาน ½ - 1 แก้ว หรืออมลูกอม 1-2 เม็ด หรือน้ำตาล 2 ก้อน อาการควรจะดีขึ้นภายใน 5-10 นาที แล้วรีบรับประทานข้าว หรืออาหารประเภทแป้ง แต่ถ้าสังเกตอาการตนเองแล้วยังรู้สึกไม่ดีขึ้น สามารถดื่มน้ำหวานซ้ำอีก 1 แก้ว ทันที

ถ้ามีอาการรุนแรงถึงขั้นหมดสติไม่รู้สึกตัว ห้าม ให้ลูกอม หรือดื่มน้ำหวาน เพราะอาจทำให้สำลัก รีบนำส่งโรงพยาบาล หรือคลินิกที่ใกล้ที่สุด แล้วแจ้งแพทย์ที่ดูแลด้วยว่าเป็นเบาหวาน

จะป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำได้อย่างไร?

  1. รับประทานอาหารให้เป็นเวลา และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
  2. ฉีดยา และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง (ทั้งปริมาณยา และเวลา)
  3. หากจำเป็นต้องออกกำลังกายนานกว่า 30 นาที ควรรับประทานอาหารว่าง เช่น นม ขนมปัง หรือผลไม้ รองท้องประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย
  4. ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องรับประทานยารักษาโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะยานั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
  5. แจ้งบุคคลใกล้ชิดให้ทราบว่าท่านเป็นเบาหวาน และอธิบายวิธีช่วยเหลือ เมื่อมีอาการผิดปกติควรมีลูกอม น้ำตาลก้อน หรือน้ำผลไม้พกติดตัวไว้เพื่อเดินทางยาม ฉุกเฉิน
  6. ถ้ามีเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้วที่บ้าน ควรเจาะเลือดเช็คระดับน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ