ประกาศแล้ว! Thailand Social Awards ครั้งที่ 11
ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยกับ “Thailand Social Awards ครั้งที่ 11” งานประกาศรางวัลที่รวมผู้ทรงอิทธิพลบนโซเชียล แบรนด์ นักแสดง ศิลปิน อินฟลูเอ็นเซอร์ไว้มากที่สุดในไทย ซึ่งจัดขึ้นโดย ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด
การประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 ได้แบ่งหมวดหมู่ของผู้ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดียออกเป็น 6 กลุ่มรางวัลซึ่งผู้ชนะในแต่ละสาขา มีดังต่อไปนี้
1. Best Brand Performance on Social Media จำนวน 29 สาขา ได้แก่
Automotive (กลุ่มธุรกิจยานยนต์) ได้แก่ Toyota Motor Thailand
Bank (กลุ่มธุรกิจธนาคาร) ได้แก่ SCB
Beverage (กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม) ได้แก่ NESCAFÉ
Broadcasting (กลุ่มสื่อวิทยุและโทรทัศน์ภายใต้การดูแลของ กสทช.) ได้แก่ one31
Construction Material (กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง) ได้แก่ SCG
Cosmetics (กลุ่มธุรกิจเครื่องสำอาง) ได้แก่ Maybelline
Delivery (กลุ่มธุรกิจบริการจัดส่ง และบริการแท็กซี่) ได้แก่ Grab
Financial Service (Credit Card) (กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการบัตรเครดิต) ได้แก่ Krungsri First Choice
Financial Service (Leasing) (กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการสินเชื่อทางการเงิน) ได้แก่ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)
Food & Snacks (กลุ่มธุรกิจอาหาร และขนมขบเคี้ยว) ได้แก่ Taokaenoi
Gold & Jewelry (กลุ่มธุรกิจทองคำและอัญมณี) ได้แก่ Aurora
Government & State Enterprise (กลุ่มหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ) ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Home & Decoration (กลุ่มธุรกิจตกแต่งบ้าน) ได้แก่ IKEA
Hospital (กลุ่มธุรกิจบริการทางการแพทย์) ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
Hospitality & Travel Agency (กลุ่มธุรกิจการโรงแรมและตัวแทนบริษัทนำเที่ยว) ได้แก่ Love Andaman
Hypermarket & Supermarket (กลุ่มธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์มาร์เก็ต) ได้แก่ Big C
Insurance & Assurance (กลุ่มธุรกิจประกันภัย (ประกันวินาศภัยและประกันชีวิต)) ได้แก่ Muang Thai Life
Logistics (กลุ่มธุรกิจบริการขนส่งพัสดุ และไปรษณียภัณฑ์) ได้แก่ ไปรษณีย์ไทย
Marketplace & E-Commerce Platform (กลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายสินค้า) ได้แก่ Shopee
Mass Transit (กลุ่มธุรกิจบริการขนส่งสาธารณะ) ได้แก่ BEM
Mobile & Consumer Electronics (กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค) ได้แก่ Samsung
Mom & Baby (กลุ่มธุรกิจสินค้าแม่และเด็ก) ได้แก่ D-nee
Out of Home Entertainment (กลุ่มธุรกิจสถานบันเทิงและสวนสนุก) ได้แก่ Major Cineplex
Personal Care (กลุ่มธุรกิจสินค้าของใช้ส่วนตัว) ได้แก่ Vaseline
Residential Real Estate (กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำหรับที่อยู่อาศัย) ได้แก่ SANSIRI
Restaurant (กลุ่มธุรกิจบริการอาหารและคาเฟ่) ได้แก่ KFC
Shopping Center & Department Store (กลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้า) ได้แก่ centralwOrld และ Siam Paragon
Skincare (กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์บำรุงผิว) ได้แก่ GIFFARINE
Telecommunication (กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม) ได้แก่ AIS
2. Best Performance on Platforms (จำนวน 18 รางวัล) ได้แก่
Best Brand Performance by LINE สาขา Highest View on LINE VOOM แบรนด์ที่มียอดการเข้าชมสูงที่สุดบน LINE VOOM ได้แก่ หมอพร้อม กระทรวงสาธารณสุข
Best Brand Performance by LINE สาขา Best Video Performance on LINE VOOM แบรนด์ที่ทำผลงานวิดีโอยอดเยี่ยมบน LINE VOOM ได้แก่ Thai PBS
Best Brand Performance by LINE สาขา Best Campaign on LINE VOOM แบรนด์ที่ทำแคมเปญยอดเยี่ยมบน LINE VOOM ได้แก่ OR
Best Brand Performance by Meta สาขา Best Mobile First Video แบรนด์ที่ทำผลงานวิดีโอยอดเยี่ยมบนมือถือ ได้แก่ DOVE, Unilever Thailand
Best Brand Performance by Meta สาขา Best Campaign Innovation แบรนด์ที่ทำแคมเปญยอดเยี่ยม ได้แก่ Central Department Store
Best Brand Performance by Meta สาขา Best Reels แบรนด์ที่ทำ Reels ยอดเยี่ยม ได้แก่ Yves Saint Laurent Beauté
Best Brand Performance by Pantip สาขา Fast Response แบรนด์ที่ช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วที่สุดบนช่องทาง Pantip.com ได้แก่ AIS
Best Brand Performance by Pantip สาขา Highest Quality แบรนด์ที่แบ่งปันสาระความรู้ และตอบคำถามอย่างมีคุณค่าบนช่องทาง Pantip.com ได้แก่ โรงพยาบาลธนบุรี
Best Content Performance by Pantip สาขาละคร ละครที่ได้รับความนิยมและมีการตั้งกระทู้พูดคุยมากที่สุดบนช่องทาง Pantip.com ได้แก่ เข็มซ่อนปลาย ช่อง 7
Best Brand Performance on TikTok สาขา Best Performance Campaign แบรนด์ที่ทำแคมเปญ การโฆษณา และการตลาดยอดเยี่ยมบนช่องทาง TikTok ได้แก่ Maybelline
Best Brand Performance on TikTok สาขา Most Innovative Campaign แบรนด์ที่ทำแคมเปญ การโฆษณา และการตลาดอย่างสร้างสรรค์บนช่องทาง TikTok ได้แก่ LINE MAN
Best Brand Performance on TikTok สาขา Best Shoppertainment Campaign แบรนด์ที่ทำแคมเปญ Shoppertainment ได้อย่างยอดเยี่ยมบนช่องทาง TikTok ได้แก่ Freshdoze
Best Brand Performance on Twitter สาขา Best Connect แบรนด์ที่ใช้พรีเซนเตอร์ได้อย่างสร้างสรรค์และสร้างการมีส่วนร่วมได้อย่างยอดเยี่ยมบนช่องทาง Twitter ได้แก่ Maybeline
Best Brand Performance on Twitter แบรนด์ที่ทำแคมเปญได้อย่างมีประสิทธิภาพบนช่องทาง Twitter ได้แก่ NocNoc
Best Brand Performance on Twitter สาขา Best Rising Star แบรนด์ที่ทำแคมเปญและได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมตาม Twitter Best Practice บนช่องทาง Twitter ได้แก่ Tasto (BJC)
Best Brand Channel on YouTube แบรนด์ที่ทำช่องบน YouTube ได้อย่างยอดเยี่ยม ได้แก่ LEO Thailand
Best Creator Channel on YouTube ครีเอเตอร์ที่ทำช่องบน YouTube ได้อย่างยอดเยี่ยม ได้แก่ SpriteDer SPD
Best Creator Channel on YouTube สาขา YouTube Shorts Rising Star ครีเอเตอร์ YouTube Shorts ดาวรุ่ง ได้แก่ Non Tachi
3. Best Content Performance on Social Media จำนวน 4 สาขา ได้แก่
Thai Movie (กลุ่มรางวัลภาพยนตร์ไทย) ได้แก่ บุพเพสันนิวาส ๒
Thai News Program (กลุ่มรางวัลรายการข่าว) ได้แก่ เรื่องเล่าเช้านี้
Thai Series (กลุ่มรางวัลละครไทย) ได้แก่ KinnPorsche The Series
Thai TV Program (กลุ่มรางวัลรายการโทรทัศน์) ได้แก่ ร้องข้ามกำแพง
4. Best Creator Performance on Social Media จำนวน 23 สาขา ได้แก่
Actor & Actress (กลุ่มรางวัลนักแสดง) ได้แก่ วอร์ วนรัตน์
Art & Illustration (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะและงานวาด) ได้แก่ คิ้วต่ำ
Beauty & Fashion (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับความงามและแฟชั่น) ได้แก่ Soundtiss
Cooking & Chef (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการทำอาหารและสอนทำอาหาร) ได้แก่ กับข้าวกับปลาโอ Plaocooking
Film & Literature (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับสื่อภาพยนตร์และหนังสือ) ได้แก่ JUST ดู IT.
Food & Dining (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการรีวิวอาหารและร้านอาหาร) ได้แก่ Mawinfinferrr
Gadget & Technology (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับอุปกรณ์และเทคโนโลยี) ได้แก่ นายอาร์ม
Gaming & E-sport (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับเกมและกีฬาอีสปอร์ต) ได้แก่ กิต งายย
Global Citizen (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในต่างประเทศ) ได้แก่ สะใภ้เกาหลี ซอแฟนเพจ
Group Artist (กลุ่มรางวัลศิลปินกลุ่ม) ได้แก่ 4EVE
Health & Fitness (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกาย) ได้แก่ Bebe Fit Routine
Investment & Personal Finance (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการเงินและการลงทุน) ได้แก่ ลงทุนแมน
Knowledge & Education (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้และการศึกษา วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์) ได้แก่ อาจารย์อดัม
Local (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่น ข่าวสาร ประเพณี ภาษา และวัฒนธรรม) ได้แก่ Tagple
MC & Reporter (กลุ่มรางวัลผู้สื่อข่าวและพิธีกร) ได้แก่ หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย
Parenting & Kids (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัวและการเลี้ยงลูก) ได้แก่ Beam-Oil Family
Pets (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง) ได้แก่ Japan จอมโหด and friends
Social Change (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาและประเด็นทางสังคม) ได้แก่ iLaw
Solo Artist (กลุ่มรางวัลศิลปินเดี่ยว) ได้แก่ BOWKYLION
Sport (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬา) ได้แก่ ขอบสนาม
Travel (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว) ได้แก่ I Roam Alone
Variety (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาเกี่ยวกับรายการความบันเทิงและเกมโชว์) ได้แก่ My Mate Nate
Virtual Creator (กลุ่มรางวัลผู้ผลิตเนื้อหาโดยใช้ตัวตนเสมือน (Avatar)) ได้แก่ Aisha Channel
5. Rising Creator Performance on Social Media ครีเอเตอร์ดาวรุ่งที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย 5 รางวัล ได้แก่ ayutts, Backpaeger แบกเป้เกอร์, Monsty Planet, ตุ้ยลุยครัว, ทางช้างผ่าน
6. Special Award รางวัลที่มอบให้กับผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อสังคม 1 รางวัล ได้แก่ ทีมงานเพื่อนชัชชาติ ชมรมกรุงเทพฯ น่าอยู่กว่าเดิม สร้างปรากฏการณ์ใหม่ผ่านการสื่อสารบนโซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสะท้อนตัวตน, มุมมองทางการเมือง และประเด็นต่างๆ ให้ชาวกรุงเทพฯ และสร้างกระแสในวงกว้างให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจเรื่องการเมือง
ทั้งนี้ เกณฑ์การวัดผลในการประกาศรางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 ได้ถูกปรับปรุงร่วมกับคณะที่ปรึกษาจากหลากหลายแวดวง จำนวน 18 ท่านด้วยกัน โดยแบ่งการวัดผลออกเป็น 3 เกณฑ์ ดังนี้
1. BRAND METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยวัดจากช่องทางของตัวเอง (Own Channel) และช่องทางจากการที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earn Channel) ผ่าน 4 แพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter และ YouTube
2. CONTENT METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของเนื้อหารายการบันเทิงต่างๆ เช่น ละครไทย, ภาพยนตร์ไทย, รายการข่าว, รายการโทรทัศน์ โดยพิจารณาจากกระแสการพูดถึงของคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย
3. CREATOR METRIC ใช้ในการวัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของบุคคลที่มีผลงานหรือมีชื่อเสียงอยู่บนโซเชียลมีเดีย รวมทั้งดารา ศิลปิน ไอดอล พิธีกร และอินฟลูเอนเซอร์
โดยวัดผลคอนเทนต์บนช่องทางของตัวเอง (Own Channel) และจากการถูกพูดถึงหรืออ้างถึง (Earn Channel) บนแพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และ TikTok