นอน เปลี่ยน โลก(โรค) เมื่อแพทย์ก็ต้องการนอนให้พอ
กิน อยู่ นอน คือสามปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย อย่างไรก็ตาม ‘การนอน’ กลับเป็นสิ่งที่คนเราให้ความสำคัญน้อยที่สุด แต่กลับส่งผลต่อทุกระบบในร่างกาย การทำงานและใช้ชีวิต! โดยเฉพาะอาชีพแพทย์ ที่ขาดแคลน ต้องทำงานหนัก แต่กลับนอนไม่พอ!
คุณภาพการนอนสำคัญอย่างไร
การนอนที่ไม่ปกติ อย่างเช่น การนอนไม่พอหรืออดนอน การนอนที่ไม่ตรงเวลา เป็นพฤติกรรมทั่วไปแต่กลับก่อให้เกิดผลเสียต่อทุกระบบของร่างกาย
คนไข้ที่อดนอน ทำให้ระบบต่างๆ เกิดความแปรปรวน และส่งผลในทุกระบบ อาการที่แสดงออกมาไม่ว่าจะเป็น การคิดช้า ความจำเสื่อม โรคทางจิตเภท เบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ รวมไปถึงการปวดตามข้อต่อต่างๆ มากขึ้น ฮอร์โมนที่ผิดปกติ รวมไปถึงระบบเผาผลาญของร่างกาย
จากผลวิจัยพบว่า ผลของการอดนอน 24 ชม. เท่ากับมีแอลกอฮอล์ในร่างกาย 0.1% หากอดนอนมากกว่า 36 ชม. จะทำให้หลับในและมีผลต่อความจำ และหากอดนอนมากถึง 48 ชม. จะทำให้เกิดอาการหลอนได้! นอกจากนี้ 70% ของอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นเกิดจากปัญหาด้านคุณภาพการนอนแทบทั้งสิ้น!
นอกจากนี้ ยังมีอีกโรคหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนอนที่ควรให้ความสำคัญ คือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA) ซึ่งเป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากส่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างร้ายกาจแต่กลับถูกมองข้าม
จากสถิติของสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยปี 2563 ประชากรไทยเกือบ 20% มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น และประชากรทั่วโลกป่วยด้วยภาวะนี้ประมาณ 1 พันล้านคนหรือประมาณ 14% ของประชากรทั้งโลก!
บุคลากรทางการแพทย์กับคุณภาพการนอน
ดังที่ได้เกริ่นมาแล้วว่า ปัญหาการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคนอนไม่หลับ ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงสูงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น โรคหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น นอกจากนี้ความอ่อนเพลียในตอนกลางวันจากการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ หรือไม่มีคุณภาพ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงาน
และหากว่างานนั้นเป็นงานที่กระทบต่อชีวิตของผู้อื่น? อย่างเช่น อาชีพแพทย์ ก็ยิ่งเกิดผลเสียมากขึ้น!
เพราะแพทย์ต้องรับผิดชอบชีวิตผู้อื่น หากเกิดภาวะการนอนที่ผิดปกติ ก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของอุบัติเหตุขณะทำงาน หรือขณะขับรถได้อีกด้วย
ในขณะเดียวกัน จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในปี 2564 ทั่วประเทศไทย มีแพทย์จำนวน 38,820 คน สัดส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากร คิดเป็นแพทย์ 1 คน ต่อประชากร 1,680 คน (กลุ่มคลังข้อมูลสถิติ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ ) นอกจากแสดงให้เห็นว่าภาระหน้าที่ของแพทย์มีมากขึ้นแล้ว เรายังได้เห็นปรากฎการณ์ตามข่าว ซึ่งมีนักเรียนแพทย์บางส่วนลาออกจากราชการ โดยหนึ่งในสาเหตุที่พบมากคือการทำงานหนักและพักผ่อนไม่เพียงพอ!
สถานการณ์ภาวะขาดแคลนแพทย์ในปัจจุบัน กดดันแพทย์ในประเทศไทยให้ทำงานหนักจนเกิดผลกระทบโดยตรงต่อทั้งร่างกายและจิตใจ สุดท้าย เมื่อไม่ไหว จึงก่อให้เกิดการสูญเสียบุคลากรแพทย์ไปในที่สุด
การสูญเสียเช่นนี้ถือเป็นการสูญเสียที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อวงการแพทย์และประเทศชาติ
ตรวจคุณภาพการนอน และรู้จักการนอนของตัวเอง
นายแพทย์จิรยศ จินตนาดิลก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ คลินิกเวชศาสตร์การนอนหลับ โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวถึงความสำคัญของการตรวจคุณภาพการนอนว่า
‘การตรวจคุณภาพการนอนหลับเป็นเหมือนการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันการเป็นโรคอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งบางคนยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ... เพราะเราเห็นว่าแพทย์เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความแม่นยำและประสิทธิภาพ”
สำหรับแพทย์ที่อยากจะดูแลตัวเองเพิ่มเติม สิ่งสำคัญที่สามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง คือต้องสังเกตว่ามีสัญญาณอันตรายจากการนอนหรือไม่ เช่น นอนแล้วแต่ก็ยังมีอาการเพลียๆ ง่วง หงุดหงิด และงีบหลับตอนกลางวัน หรือสังเกตว่าเป็นคนนอนลักษณะไหน และจัดตารางการนอนของตัวเองให้คงที่และสม่ำเสมอ ทั้งปริมาณชั่วโมงการนอนและช่วงเวลาการนอน.
ประกอบกับการเข้ารับการตรวจคุณภาพการนอนก็จะทำให้รู้ทันโรค และสามารถป้องกันความเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นได้
โดยในปีนี้ สำหรับแพทย์ที่สนใจเข้ารับการตรวจคุณภาพการนอน โรงพยาบาลเมดพาร์ค โดยคลินิกเวชศาสตร์การนอนหลับ ได้สานต่อโครงการเพื่อสังคมด้วยโครงการเมดพาร์คอาสาดูแลหมอ “หลับดี มีคุณภาพ Save Doctors’ Sleep Quality” บริการตรวจวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) และอาการอื่นๆ ที่ทำให้การนอนไม่มีประสิทธิภาพ ให้แก่แพทย์ทั่วประเทศไทยโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการตรวจ เพื่อเปิดโอกาสให้แพทย์มีโอกาสได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาความผิดปกติขณะนอนหลับและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและเหมาะสม
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่เข้าร่วมโครงการ คือ แพทย์สัญชาติไทย อายุ 30-75 ปี ที่ยังปฏิบัติงานทางการแพทย์อยู่ และไม่มีประวัติการตรวจมาก่อน
แพทย์ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการเมดพาร์คอาสาดูแลหมอ “หลับดี มีคุณภาพ Save Doctors’ Sleep Quality” ได้ที่ https://medpark.hospital/SleepRegistration ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน - 31 ธันวาคม 2566
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกเวชศาสตร์การนอน โรงพยาบาลเมดพาร์ค ชั้น 8 เคาน์เตอร์ C โทร. 094-216-7978 ในวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 น. – 20.00 น.