posttoday

รพ.เปาโล พหลฯ ใช้ AI ช่วยผ่าตัดกระดูกและข้อ พบเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษา

17 พฤศจิกายน 2566

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ชี้การนำ “AI Technology Robotic หุ่นยนต์ผู้ช่วยผ่าตัด” เข้ามาเป็นทางเลือกใหม่ช่วยผ่าตัด พบมีข้อดีคือ เที่ยงตรง แม่นยำ และลดความบอบช้ำของร่างกายน้อยที่สุด จึงช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยนำมาใช้กับผู้ป่วยแล้วกว่า 100 ราย

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านองค์กรแห่งนวัตกรรม จัดงาน "Beyond The Better Life With Robotic Surgery” ทางเลือกใหม่สู่การเคลื่อนไหวที่ดีกว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยเชิญทีมศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ของสถาบันกระดูกละข้อ รพ. เปาโล พหลโยธิน มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงเพิ่มขีดศักยภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยให้กับทีมแพทย์ และบุคลากรในโรงพยาบาล โดยการนำ “AI Technology Robotic หุ่นยนต์ผู้ช่วยผ่าตัด” เข้ามาเป็นทางเลือกใหม่เพื่อสร้างความมั่นใจในอีกขั้นให้กับผู้ป่วยที่มองหาเทคโนโลยีการผ่าตัดให้ได้ “เที่ยงตรง แม่นยำ” และลดความบอบช้ำของร่างกายน้อยที่สุด ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม

 

รพ.เปาโล พหลฯ ใช้ AI ช่วยผ่าตัดกระดูกและข้อ พบเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษา

 

โดยการจัดงาน “Beyond The Better Life With Robotic Surgery" ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากศัลยแพทย์ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ รพ. เปาโล พหลโยธิน ร่วมถ่ายทอดแนวคิด ประสบการณ์และส่งต่อแรงบัลดาลใจ เกี่ยวกับการผ่าตัด ด้วย AI Technology Robotic หุ่นยนต์ผู้ช่วยผ่าตัด เข้ามาช่วยในการรักษา

นพ.วิสิทธิ์ วังวิทยากุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางข้อเข่า ข้อสะโพก สถาบันกระดูกและข้อ กล่าวว่า ไม่ว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะพัฒนาก้าวไกลขึ้นมากแค่ไหนก็ตาม มนุษย์จะต้องเป็นผู้ควบคุมเทคโนโลยีนั้น เพื่อความปลอดภัย และเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย

สิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วย ศัลยแพทย์ต้องพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อให้การรักษาดียิ่งๆ ขึ้นไป ต้องมั่นใจว่าเทคโนโลยีนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย แม่นยำ ซึ่งหุ่นยนต์ทำหน้าที่วัด ตัด เล็งมุมองศา หรือความหนาที่ต้องการได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยการควบคุมของศัลยแพทย์เป็นหลัก สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การวางตำแหน่งข้อเข่าได้เหมาะสม และสร้างสมดุลย์ให้คนไข้เฉพาะรายในแบบ Personalized เพราะข้อเข่าในแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ทำให้แผนการรักษาย่อมมีความแตกต่าง การใช้ Robot ช่วยวางแผนการรักษาเฉพาะราย จะทำได้อย่างละเอียด และแม่นยำกว่าเครื่องมือผ่าตัดข้อเข่าเทียมในปัจจุบัน ทั้งในกรณีโรคทางข้อเข่าเสื่อมทั่วไป หรือแม้แต่โรคที่คำนวณการผ่าตัดได้ยากซับซ้อน ส่งผลให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยลง มีความมั่นคงของข้อเข่ามากขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวเร็ว กลับมาเคลื่อนไหวใช้ชีวิตประจำวันได้ดีใกล้เคียงปกติมากที่สุด การผ่าตัดข้อเข่าเทียมโดยปกติให้ผลการรักษาที่ดีอยู่แล้วและเมื่อเรานำเทคโนโลยี Robotic เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องลดความผิดพลาดในการผ่าตัด ก็ช่วยสร้างความพึงพอใจที่มากขึ้นเกือบ 100%

 

สำหรับข้อดีของ AI Technology Robotic เข้ามาช่วยในการผ่าตัด

  • ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว เดินได้ภายใน 24 ชม.หลังการผ่าตัด
  • งอเข่าได้ดี การเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติมากขึ้น จากการผ่าตัดรักษาแบบเฉพาะราย
  • ลดความกังวลเรื่องข้อผิดพลาดในการผ่าตัด
  • อาการปวด และการเสียเลือดน้อยลง เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบปกติเนื่องจากไม่ต้องเลาะเนื้อเยื่อมาก
  • การใช้งานของข้อได้นาน และได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากความแม่นยำในการวางตำแหน่งข้อเข่าเทียม

 

   วิทยากรที่มาแชร์ประสบการณ์ทั้งสองท่าน

 

ทางด้านนพ.อนุชิต เวชชัยชีวะ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางข้อเข่า ข้อสะโพก สถาบันกระดูกและข้อ กล่าวเพิ่มเติมถึงแรงบันดาลใจในการเลือกนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการผ่าตัด เพราะจากการผ่าตัดวิธีดั้งเดิม อาจได้ผลจากการรายงานภาพเอกซเรย์ยังไม่แม่นยำ หรือน่าพอใจตรงตามความต้องการของศัลยแพทย์ ดังนั้นจึงต้องหาผู้ช่วย หรือเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด เพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งที่ชัดเจน แม่นยำ และด้วยความชอบอยากลองนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้รักษาเพื่อช่วยพัฒนาฝีมือการรักษาให้ได้เร็ว และลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้มาก เพื่อทำให้ผู้ป่วยพึงพอใจและได้ผลลัพท์ที่ปลอดภัย นั้นคือสิ่งสำคัญที่สุด

 

ส่วนสิ่งที่ผู้ป่วยได้รับจากการใช้ AI Technology Robotic เข้ามาช่วยผ่าตัด คือ

  • เพิ่มความมั่นใจในประสิทธิภาพการใช้งานของข้อเข่าในระยะยาว จากการแสดงผลที่ชัด เที่ยงตรงของฟิล์มเอกซเรย์
  • เพิ่มความปลอดภัยในการผ่าตัดของผู้ป่วย จากการประมวลผลของ Robotic ในแบบ Real Time
  • ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เจ็บปวดจากการผ่าตัด งอเข่าได้ดี เดินได้ทันที

 

รพ.เปาโล พหลฯ ใช้ AI ช่วยผ่าตัดกระดูกและข้อ พบเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษา

 

ทั้งนี้  นวัตกรรมการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ในประเทศไทยเริ่มแพร่หลายมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จากการติดตามผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วย Robotic ประมาณ 100 ราย โดยรวมคนไข้มีความพึงพอใจมาก เพราะช่วยลดความเจ็บปวดจากการผ่าตัดให้น้อยลง ไม่กระทบกับเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง รวมถึงลดข้อผิดพลาดของศัลยแพทย์ ได้มากขึ้น ดังนั้นการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยจึงให้ผลลัพท์ที่ไม่ด้อยไปกว่าการรักษากับแพทย์  ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสิ่งใหม่ที่ทำให้เราใช้ชีวิตได้ดีขึ้น และเมื่อนำมาใช้กับการรักษาก็จะช่วยส่งผลให้การรักษาดีขึ้น แม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม