ความเท่าเทียมคืออะไร และอะไรคือความเหลื่อมล้ำ

07 ธันวาคม 2566

แท้จริงแล้ว ความเหลื่อมล้ำก็แปลความหมายได้ง่ายมาก คือ ความไม่เท่าเทียม หรือ Inequality ในภาษาอังกฤษ แต่การแปลความหมายของความเหลื่อมล้ำนั้น ไม่ได้ง่ายอย่างที่กล่าวไว้ ความเท่าเทียม และความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องปัจเจก และอยู่กับกับสังคมเรามาอย่างยาวนาน

กล้าพูดได้เลยว่า ไม่มี หรือ อย่าคิดหาความเท่าเทียมบนโลกใบนี้ จบนะ! อะไรคือความเท่าเทียมที่หลายๆ คนได้พูดถึงกัน เมื่อพูดถึงความเท่าเที่ยม ก็ขาดไม่ได้ที่จะต้องโยงไปถึงความเหลื่อมล้ำ ครั้งหนึ่ง เคยได้มีโอกาสได้ถามคำถามนี้กับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่า ความเหลื่อมล้ำคืออะไร มีคำจำกัดความว่าอย่างไร? คำตอบที่ได้คือ ยังเป็นสิ่งที่ต้องหาคำตอบอยู่ 

 

แท้จริงแล้ว ความเหลื่อมล้ำก็แปลความหมายได้ง่ายมาก คือ ความไม่เท่าเทียม หรือ Inequality ในภาษาอังกฤษ แต่การแปลความหมายของความเหลื่อมล้ำนั้น ไม่ได้ง่ายอย่างที่กล่าวไว้ ความเท่าเทียม และความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องปัจเจก และอยู่กับกับสังคมเรามาอย่างยาวนาน และก็จะคงอยู่อย่างนี้ตลอดไป กล้าพูดอีกครั้งว่า ไม่มีใครที่จะปฏิเสธความเหนือระดับในการเข้าถึงทั้งสินค้าและบริการ

 

การที่ใครคนหนึ่งเรียกร้องสิทธิ์ความเท่าเทียม จากการที่คนนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย กับอีกคนหนึ่งที่พยายามอย่างหนักเพื่อให้สามารถมีโอกาสที่มากขึ้น ถ้าการเรียกร้องสิทธิ์นั้นเป็นผล ก็ดูจะไม่เป็นธรรมกับผู้ที่มานะ อุตสาหะ อดหลับ อดนอน ตั้งใจ และพยายามเป็นอย่างมาก สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับ และต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมากคือ แต่ละคนมีต้นทุนที่แตกต่างกัน ฟังดู อาจจะรู้สึกว่ามีอคติ แต่มันความจริง ที่ไม่ได้วิ่งอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์

 

ถ้าจะพูดถึงความเท่าเทียมหรือว่าเหลื่อมล้ำของสังคมไทย อยากให้มองเป็นภาพใหญ่ ซึ่งถือได้ว่าประเทศไทยได้แก้ปัญหาได้อย่างดีระดับหนึ่ง เรามีระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานขั้นบังคับในระดับประถมศึกษา เรามีบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค เรามีสวัสดิการเบี้ยผู้สูงอายุ และอื่นๆ บางคนอาจจะดูว่าน้อยไป ไม่เพียงพอ แต่บางคนก็ว่าเพียงพอที่ดำรงอยู่ได้ ถึงต้องกลับมาถามอีกว่า คำว่าพอของแต่ละคนอยู่ที่เท่าไหร่ เท่าไหร่ถึงเรียกว่าพอ


สิ่งที่เราต้องช่วยกันส่งเสริมคือการมีจำนวนโรงเรียนให้มากพอ กระจายตามพื้นที่ห้างไกลต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้เด็กเหล่านั้นได้มีความรู้พื้นฐาน ไว้นำไปใช้ประโยชน์ เอาตัวรอด ไม่ตกเป็นเหยื่อหรือทาสของยาเสพติด และสามารถพัฒนาสู่ระดับการศึกษาที่สูงขึ้นได้ ประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตัวเองและช่วยเหลือครอบครัว ส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงวัยให้สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ลดอัตราภาวะพึ่งพิง ให้ลูกหลานสามารถออกไปมีอาชีพได้อย่างอิสระ และส่งเสริมคุณภาพสมรรถภาพร่างการให้มีกำลังวังชา เพื่อลดอัตราการไปโรงพยาบาล ซึ่งก่อให้เกิดเป็นค่าใช้จ่ายแบบต่อเนื่อง  ถ้าเราช่วยกันส่งเสริมได้อย่าง โอกาสที่เราจะหลุดพ้นโคจรความเหลื่อมล้ำก็พอจะเห็นได้บ้าง แต่ถ้าพูดให้สวยคือ สังคมจะอยู่ง่ายถึง ถ้าทุกคนสามารถที่จะกินอิ่ม นอนหลับ ในบริบทของตัวเองโดยไม่เปรียบเทียบ

 

ดร ฉันฑิต สว่างเนตร

ความเท่าเทียมคืออะไร และอะไรคือความเหลื่อมล้ำ

Thailand Web Stat