posttoday

มัดรวม ‘บัตรปชช.ใบเดียว รักษาทุกที่’ ได้ใช้เมื่อไหร่? อย่างไร?

26 ธันวาคม 2566

‘บัตรปชช.ใบเดียว รักษาทุกที่’ เป็นการปฏิวัติทั้งระบบการจัดเก็บข้อมูลด้านสาธารณสุข รวมไปถึงการเข้าถึงการรักษาของประชาชน เริ่มใช้กับจังหวัดนำร่อง 8 ม.ค.นี้ และจะสมบูรณ์ภายในเดือนตุลาคมหน้า จะมีจังหวัดไหน และเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเข้ารับบริการที่โรงพยาบาล?

3 ระยะดำเนินการ ใครอยู่จังหวัดไหนได้ใช้เมื่อไหร่?

 

สำหรับเฟสนำร่อง ได้แก่ 4 จังหวัด คือ จังหวัด แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส ซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 80 โดยพบว่าแต่ละจังหวัดมีการยืนยันตัวตนแล้ว แพร่ 1 แสนคน เพชรบุรี 1.8 แสนคน ร้อยเอ็ด 3.41 แสนคน และนราธิวาส 1.51 แสนคน

มัดรวม ‘บัตรปชช.ใบเดียว รักษาทุกที่’ ได้ใช้เมื่อไหร่? อย่างไร?

 

ระยะที่ 2  มีนาคม 67 ครอบคลุม 8 จังหวัด

  • เพชรบูรณ์
  • หนองบัวลำภู
  • นครสวรรค์
  • อำนาจเจริญ
  • สิงห์บุรี
  • นครราชสีมา
  • สระแก้ว
  • พังงา

มัดรวม ‘บัตรปชช.ใบเดียว รักษาทุกที่’ ได้ใช้เมื่อไหร่? อย่างไร?

 

ระยะที่ 3  คือทุกจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 1,4,8 และ 12 ซึ่งสามารถใช้งานได้ในเดือนเมษายน 2567

  • เขตสุขภาพที่ 1 ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน
  • เขตสุขภาพที่ 4 ประกอบด้วย สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
  • เขตสุขภาพที่ 8 ประกอบด้วย อุดรธานี สกลนคร นครพนม เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ
  • เขตสุขภาพที่ 12 ประกอบด้วย ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา

มัดรวม ‘บัตรปชช.ใบเดียว รักษาทุกที่’ ได้ใช้เมื่อไหร่? อย่างไร?

 

ระยะต่อๆ ไป    ระยะที่ขยายผลครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งมีการตั้งเป้าที่เดือนตุลาคม 2567 (ภายใน 1 ปี)

 

 การพัฒนาระบบของกระทรวงสาธารณสุข ครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ระยะด้วยกัน 

ระยะที่ 1 

1. พัฒนาระบบบันทึกข้อมูล ทั้งจาก รพ.รัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นอกสังกัดสธ. รพ.เอกชน รพ.สต. คลินิก ร้านยา

2. พัฒนาระบบยืนยันตัวตน ได้แก่ การยืนยันตัวตนผู้รับบริการ  ดิจิทัลไอดี  ยืนยันตัวตนผู้ให้บริการ การตรวจสอบสิทธิ การยืนยันเข้ารับบริการ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

3. พัฒนาระบบการทำงาน ได้แก่ ประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับรองแพทย์ดิจิทัล ใบสั่งยา/ สั่งแล็ป การแพทย์ทางไกลและเภสัชกรรมทางไกล สมุดสุขภาพประชาชน การนัดหมายออนไลน์ การรับส่งยาและเวชภัณฑ์ที่บ้าน การเบิกจ่ายกับกองทุน

 4. พัฒนาระบบเชื่อมต่อประชาชน ทั้งการผ่าน LINE OA และ Application  เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงประชาชนทั้งประเทศ

 

มัดรวม ‘บัตรปชช.ใบเดียว รักษาทุกที่’ ได้ใช้เมื่อไหร่? อย่างไร?

 

ระยะที่ 2 คือ เมษายน ปี 67 

  • ระบบการจ่ายเงินออนไลน์ 
  • การส่งต่อการรักษา
  • ข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน 
  • รวมไปถึงการยืนยันตัวตนต่างด้าว

 

สิ่งที่ประชาชนจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ (นำร่อง 4 จังหวัดก่อน) แบ่งเป็น 2 ระยะคือ

 

ระยะที่ 1

  • เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัด ( ใน 4 จังหวัดนำร่องตอนนี้ครบแล้ว 100% ) ภายใต้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
  • ประชาชนจะมีประวัติสุขภาพแสดงบนโทรศัพท์และสามารถดึงประวัติของตนเองมาเก็บไว้ในสมุดสุขภาพของตนเองได้ ส่วนหญิงตั้งครรภ์จะมีสมุดฝากครรภ์สีชมพูบนโทรศัพท์
  • หากต้องการใบรับรองแพทย์ จะเป็นใบรับรองระบบดิจิทัลที่มีลายเซ็นของแพทย์
  • หากประสงค์จะไปรับยาที่ร้านยา หรือเจาะเลือดก็จะมีใบสั่งยาหรือแล็บแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงไปยังร้านยาและแล็บแบบอัตโนมัติ
  • สามารถใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเชื่อมต่อประวัติสุขภาพผ่านโทรศัพท์ และมีระบบนัดหมายออนไลน์
  • มีการส่งยาทางไปรษณีย์

 

ระยะที่ 2

  • เพิ่มระบบจ่ายเงินออนไลน์ ไม่ต้องรอที่เคาท์เตอร์จ่ายค่าบริการ เพื่อลดระยะเวลาการรอรับบริการในโรงพยาบาล หรือมีตู้คีย์ออสในกรณีที่ไม่มีสมาร์ทโฟน
  • การส่งตัวผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัวอีกต่อไป
  • ระบบสามารถเชื่อมโยงถึงการเจาะเลือดใกล้บ้าน และการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ผู้ป่วยระยะประคับประคองอีกด้วย

 

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

  • สิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ จะสามารถเข้าถึงการรักษาแบบ บัตรปชช.ใบเดียว รักษาทุกที่ได้เช่นเดียวกับสิทธิ 30 บาท
  • การเบิกจ่ายเงินจะมุ่งให้หน่วยบริการได้รับเงินภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากการส่งเบิก