5 ปีที่รอคอย ! เตรียมระเบิดศึก ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 75

31 มกราคม 2568

ธรรมศาสตร์ จัดใหญ่แถลงเป็นเจ้าภาพ จัดบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ หลังเว้นไป 5 ปี "สมชาย พูลสวัสดิ์" ผจก.ธรรมศาสตร์ ประกาศทวงแชมป์คืน ด้านจุฬาฯลั่น ของคว้าแชมป์สมัยที่ 3 ติดต่อกัน

วันนี้(31 มกราคม 2568) งานแถลงข่าวการจัดแข่งขันฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ที่ สมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ งานนี้ถือเป็นการกลับมาอีกครั้งของฟุตบอลประเพณีที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน หลังจากไม่ได้จัดมากว่า 5 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด19 

ปีนี้ทางสมาคมธรรมศาสตร์ฯ จะรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ สลับกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นเจ้าภาพในครั้งที่ผ่านมา โดยจะแข่งวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ 

สมชาย พูลสวัสดิ์ ผู้จัดการทีมฟุตบอลธรรมศาสตร์ เผยว่าสถิติที่ผ่านมาธรรมศาสตร์ คว้าแชมป์ฟุตบอลประเพณีได้มากกว่าถึง 24 ครั้ง และครั้งนี้จะทวงตำแหน่งแชมป์กลับคืนมาหลังพลาดให้จุฬาฯในครั้งที่แล้ว

ขณะที่ สุทธิพันธ์ วรรณวินเวศน์ ผู้จัดการทีมฟุตบอลฝั่งจุฬาฯก็มั่นใจว่า ด้วยนักฟุตบอลที่มีจะสามารถรักษาตำแหน่งแชมป์ได้อีก ที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย เป็นแชมป์มาแล้ว 2 สมัยติด และหวังว่าจะสามารถทำแฮททริกแชมป์ 3 ครั้งติดได้

สมชาย พูลสวัสดิ์ ผู้จัดการทีมฟุตบอลธรรมศาสตร์ สมชาย พูลสวัสดิ์ ผู้จัดการทีมฟุตบอลธรรมศาสตร์

สถิติทำเนียบแชมป์ฟุตบอลประเพณี จุฬา - ธรรมศาสตร์ 

ธรรมศาสตร์ แชมป์ 24 ครั้ง 
จุฬาลงกรณ์  แชมป์ 18 ครั้ง 
ครองแชมป์ร่วมกัน 32 ครั้ง
 

สำหรับนักฟุตบอลของทีมธรรมศาสตร์ จะมี "เมสซี่ เจ" นำทัพ ขณะที่ทางฝั่งจุฬาฯ นำโดย "ลีซอ" ธีรเทพ วิโนทัย และ สมปอง สอเหลบ 2 อดีตกองหน้าที่ชาติไทย โดยเฉพาะ "สมปอง" ในวัย 39 ปี จะเล่นให้ "จุฬาฯ" เป็นปีสุดท้าย ซึ่งแมตช์นี้ เปรียบเหมือน เทสติโมเนียล แมตช์ให้ สมปองไปในตัว

ด้าน "ลีซอ" ยืนยันว่า แม้เขาจะเลิกเล่นฟุตบอลอาชีพไปนาน 2 ปี แล้ว แต่ด้วยวัย 40 ปี เขายังคงฟิตและรักษาร่างกายอยู่เสมอ มั่นใจว่ายังสามารถเล่นฟุตบอลประเพณีได้ต่อไปเรื่อยๆ ตราบที่มหาวิทยาลัยยังเรียกใช้อยู่

สมปอง สอเหลบ และ ธีรเทพ วิโนทัย วองกองหน้าตัวเก๋าของจุฬาฯ สมปอง สอเหลบ และ ธีรเทพ วิโนทัย วองกองหน้าตัวเก๋าของจุฬาฯ

ฟุตบอลประเพณีฯ ปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 75 ที่ผ่านมาจัดทุกปี แต่ต้องว่างเว้นไป 5 ปีเนื่องจากเกิดการระบาดของ โควิด-19 การกลับมาในครั้งนี้ จึงถือเป็นการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด “Dawn of Memory” 

ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการจัดงานในครั้งนี้ ทั้งสองมหาวิทยาลัยได้หยิบยกแนวคิดนี้มาตีความในมุมมองที่แตกต่างกันอย่างน่าสนใจ 

ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตีความออกมาได้ว่า “ความทรงจำในวันใหม่” และ ฝั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในแนวคิด “The time of tapestry อดีต อนาคต ของปัจจุบัน” อีกสิ่งสำคัญที่เมื่อนึกถึงงานฟุตบอลประเพณีฯ ต้องนึกถึงสิ่งนี้ นั่นก็คือ เสื้อเชียร์ประจำงาน ซึ่งทีมธรรมศาสตร์ได้จัดทำเสื้อเชียร์ภายใต้คอนเซปต์ "My place, my race, my victory" ออกแบบโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภากานต์ หะวะนี และโลโก้เลข 75 ออกแบบโดยนักศึกษาปริญญาโท รัฐฟ้า ดวงดาว เสื้อเชียร์ธรรมศาสตร์ตัวนี้เป็นการออกแบบอย่างพิถีพิถันโดยมีการผสมผสานทั้งดีไซน์ที่ทันสมัยอย่างตารางขาวดำที่เป็นเส้นชัยเป็นการบ่งบอกของความสำเร็จ และสัญลักษณ์ของธรรมศาสตร์ นั่นก็คือรูปโดมธรรมศาสตร์ที่เป็นสไตล์ไทย ความแตกต่างที่ลงตัวของสองอย่างนี้ทำให้กลายมาเป็นเสื้อเชียร์ที่บ่งบอกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของทีมธรรมศาสตร์ที่จะร่วมกันคว้าชัยในงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งนี้ 
ทีมเชียร์ธรรมศาสตร์ ทีมเชียร์ธรรมศาสตร์

งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ไม่ได้เป็นเพียงการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสองมหาวิทยาลัยเท่านั้น ยังเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้นิสิตและนักศึกษาจากทั้งสองสถาบันได้แสดงศักยภาพของตนเองผ่านการทำงานร่วมกัน ฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างความสามัคคี และสรรสร้างมิตรภาพอันดีระหว่างกันอีกด้วย 

ทีมลีดเดอร์จุฬาฯ ทีมลีดเดอร์จุฬาฯ

และยังเป็นโอกาสสำคัญสำหรับศิษย์เก่าของทั้งสองสถาบัน ที่จะได้กลับมาพบปะเพื่อนเก่าในบรรยากาศอันคุ้นเคยของงานฟุตบอลประเพณีฯ พร้อมย้อนภาพความทรงจำจากงานฟุตบอลประเพณีฯ ในอดีตที่เต็มไปด้วยความทรงจำอันงดงามและอบอุ่น ไฮไลต์สำคัญของงานยังคงเป็นกิจกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่ทุกคนเฝ้ารอ ไม่ว่าจะเป็นการแปรอักษร ซึ่งบอกเล่าถึงเรื่องราวของสังคมผ่านพลังมวลชนบนสแตนด์เชียร์ของทั้งสองฝั่ง ขบวนพาเหรดอันยิ่งใหญ่ ประกอบด้วย

5 ปีที่รอคอย ! เตรียมระเบิดศึก ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 75

ขบวนพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขบวนธรรมจักรแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขบวนเฉลิมพระเกียรติ ขบวนล้อการเมือง และขบวนสะท้อนสังคม พร้อมด้วยกิจกรรมที่จะมาสร้างสีสันตลอดทั้งงานอย่าง ดรัมเมเยอร์ ผู้อัญเชิญพานนำขบวนธรรมจักร ผู้แทนถือป้ายนามมหาวิทยาลัย จุฬาฯ คทากร เชียร์ลีดเดอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหน้าที่นำเสียงเชียร์จากผู้ชมบนสแตนด์ทั้งสองฝั่งส่งไปถึงนักกีฬา

5 ปีที่รอคอย ! เตรียมระเบิดศึก ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 75

งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ขอเชิญชวนทุกท่ามมาร่วมส่งเสียงเชียร์ และกำลังใจให้แก่ทีมธรรมศาสตร์และจุฬาฯ ในการแข่งขันนัดล้างตาแห่งประวัติศาสตร์ ในวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ประตู 5 (ฝั่งธรรมศาสตร์) และประตู 18 (ฝั่งจุฬาฯ)
5 ปีที่รอคอย ! เตรียมระเบิดศึก ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 75

Thailand Web Stat