ทุกมื้อกับความนุ่มอร่อย
เรื่อง วรธาร ทัดแก้ว / ภาพ วรธาร ทัดแก้ว
สำหรับทุกคนการที่จะได้รับประทานข้าวที่หอม นุ่ม อร่อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น จะต้องรู้จักวิธีการหุงที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ข้าวนั้นมีความหอม นุ่ม อร่อย และที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ “หม้อหุงข้าว” ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ข้าวหอม นุ่ม น่ารับประทาน
หม้อหุงข้าวมีส่วนไม่น้อยที่จะทำให้เราได้บริโภคข้าวที่นุ่มและหอมกรุ่น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนวัตกรรม คุณสมบัติที่พิเศษ และการใช้งานที่หลากหลายของหม้อนั้นๆ ด้วย เพราะว่าหม้อหุงข้าวทั่วๆ ไปหรือบางชนิด บางรุ่น ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ได้รับประทานข้าวที่นุ่ม หอม อร่อยทุกมื้อได้ บางมื้อหุงแล้วอาจเปียกแฉะ บางมื้ออาจออกมาแข็ง บางมื้ออาจไหม้เป็นข้าวตังติดก้นหม้อ ซึ่งเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้ตลอดถ้าผู้หุงไม่รู้วิธีการหุงที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ไม่มีใครที่อยากจะรับประทานข้าวแฉะ ข้าวแข็ง ข้าวไหม้ ดังนั้น @kitchen วันนี้จึงขอพาไปสัมผัสกับหม้อหุงข้าวของฮิตาชิ ระบบฟัซซีคอนโทรล (Fuzzy Control) ซึ่งหากดูนวัตกรรม คุณสมบัติเรื่องการใช้งานก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย
ส่วนประกอบ
ส่วนประกอบของหม้อหุงข้าวระบบฟัซซีคอนโทรล ประกอบด้วยฝาชั้นในที่สามารถถอดออกล้างได้ ฝาชั้นนอก สลักล็อกฝา หม้อใน หูหิ้ว แผงควบคุมการใช้งานอยู่ด้านหน้าหม้อหุงข้าว ช่องสายไฟ ฝาระบายไอน้ำ ช่องระบายไอน้ำ สายไฟที่เป็นปลั๊กขากลม 2 ขา ส่วนอุปกรณ์เสริมประกอบด้วยถ้วยตวงประมาณ 180 มิลลิลิตรทัพพี และถาดนึ่ง
สำหรับแผงควบคุมนั้นแสดงถึงหน้าจอแสดงผล ซึ่งแสดงไฟสัญลักษณ์ทั้งหมด เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ โดยมี ปุ่มปิด/อุ่น (OFF/WARM) (ไฟอุ่น) กดเมื่อต้องการอุ่นข้าว ไฟอุ่นจะติด และกดเมื่อต้องการปิดการทำงานของหม้อหุงข้าวไฟอุ่นจะดับ ปุ่มลด/เพิ่ม (DAWN/UN) สำหรับการตั้งเวลา (TIMER) ปุ่มหุงด่วนพิเศษ (SUPER RAPID) ปุ่มรายการเมนู (MENU) กดเพื่อเลือกประเภทการหุง เช่น ข้าวเหนียว ข้าวกล้อง เค้ก/ข้าวต้ม ข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว ข้าวญี่ปุ่น และที่สำคัญปุ่มหุงข้าว (COOK)
ฟังก์ชันหลากหลาย
ลักษณะเด่นของหม้อหุงข้าวฮิตาชิ ระบบฟัซซีคอนโทรล จะอยู่ที่ฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมหุงข้าวหอมมะลิ โปรแกรมหุงข้าวขาว โปรแกรมหุงข้าวเหนียว โปรแกรมหุงข้าวกล้องและข้าวญี่ปุ่นที่เพิ่มเข้ามา เนื่องจากปัจจุบันเทรนด์คนนิยมรับประทานอาหารญี่ปุ่นมากขึ้น โปรแกรมตุ๋น โปรแกรมหุงข้าวต้ม/โจ๊ก เค้ก ทั้งฟัซซีคอนโทรลจะใช้โปรแกรมการหุงที่เหมาะสมกับข้าวแต่ละชนิด ตั้งแต่การตั้งอุณหภูมิ ระดับน้ำ และเวลาในการหุงที่เหมาะกับข้าวชนิดนั้นๆ ซึ่งจะต่างกัน
การหุงโดยฟัซซีคอนโทรล
โปรแกรมหุงข้าวเหนียวกับข้าวกล้อง หุงได้โดยไม่ต้องแช่ข้าว ซึ่งปกติเวลาที่หุงข้าวเหนียวจะต้องแช่ข้าวทิ้งไว้ก่อนแล้วจึงหุง เพื่อให้ได้ข้าวที่เหนียวนุ่ม แต่ฟัซซีคอนโทรลไม่ใช้ซึ้ง และไม่ต้องแช่ข้าวทิ้งไว้ เพราะจะมีระบบการแช่ข้าวในตัว เวลาหุงก็ซาวข้าวเหมือนหุงข้าวทั่วไป เช่น หุง 5 ถ้วยตวง ก็เติมน้ำใส่หม้อในระดับน้ำที่ขีดเลข 5 ถ้า 6 ถ้วย ก็เติมน้ำไปที่ขีดเลข 6 โดยที่หม้อด้านในจะมีขีดบอกระดับน้ำในการหุงข้าวแต่ละชนิดเสร็จสรรพชัดเจนโดยที่ไม่ต้องเปิดคู่มือ อยากหุงข้าวอะไรก็ดูในหม้อได้ทันที
ระบบการหุงของฟัซซีคอนโทรลจะมีระบบของการแช่ข้าวในน้ำ และอุณหภูมิที่เหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากข้าวแต่ละชนิดต้องการน้ำ อุณหภูมิที่แตกต่างกัน น้ำในหม้อก็จะมีระดับน้ำที่ไม่เท่ากัน อย่างข้าวขาวกับข้าวหอมมะลิก็ต้องการระดับน้ำที่ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นหม้อนี้จะดูดซึมซับน้ำอย่างเต็มที่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อข้าวดูดซึมน้ำเข้าไปในเม็ดข้าวเรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะตัดเข้าสู่โปรแกรมการหุงข้าว พอหุงข้าวก็จะทำให้ข้าวและน้ำเดือดไปพร้อมกัน แล้วน้ำที่ซึมเข้าไปในเม็ดข้าวก็จะระเหยออกนอกเม็ดข้าว ทำให้ข้าวสุกจากแกนกลางออกมาข้างนอก ซึ่งพอถึงขั้นตอนนี้ระบบก็จะตัดเข้าสู่ขั้นตอนการดงข้าว ซึ่งการดงข้าวนี้ก็เพื่อไล่ไอน้ำส่วนเกินในหม้อข้าวออกไม่ให้ข้าวแฉะ และเพื่อให้ผิวหน้าข้าวข้างบนไม่เละ ทำให้ข้าวดูน่ารับประทาน เมื่อการดงข้าวผ่านไประบบก็จะตัดเข้าสู่ขั้นตอนการอุ่น
จะเห็นได้ว่าหม้อหุงข้าวระบบฟัซซีคอนโทรล ขั้นตอนจะเยอะกว่าหม้อหุงข้าวธรรมดา ฉะนั้นเวลาในการหุงจึงนานกว่าหม้อหุงข้าวทั่วไป ซึ่งอยู่ที่ 1530 นาที แต่ฟัซซีคอนโทรลจะอยู่ที่ 50 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งสาเหตุที่นานเพราะฟัซซีคอนโทรลจะมีกระบวนการแช่ข้าวก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการหุงต่อไป ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ข้าวที่หุงออกมานุ่มน่ารับประทาน
หุงด่วนพิเศษ/ตั้งเวลาล่วงหน้า
โปรแกรมหุงด่วนพิเศษจะทำให้หุงเร็วขึ้น โดยจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่ง 30 นาทีจะใช้ข้าวสูงสุด 5 ถ้วย ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถใช้เวลาน้อยกว่านี้ได้ แต่เนื่องจากมีขั้นตอนการแช่ข้าวในน้ำด้วย นอกจากนี้มีโปรแกรมตุ๋น ซึ่งสามารถตั้งเวลาในการตุ๋นได้นานถึง 12 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อรองรับรูปแบบการปรุงที่แตกต่างตามชนิดของส่วนประกอบอาหารที่เลือกใช้ เพื่อเมนูตุ๋นที่เปื่อยนุ่มถึงเนื้อ และน้ำซุปที่หอมกลมกล่อมอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ใครที่พรุ่งนี้เช้าต้องการตักบาตรหรือรับประทานข้าวแต่เช้า ขี้เกียจตื่นขึ้นมาหุงหรือจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นสามารถตั้งเวลาหุงได้ 12 ชั่วโมงครึ่ง สมมติหุง 1 ทุ่ม อยากให้ข้าวสุก 7 โมงเช้า ก็ตั้งเวลาไปเลย 12 ชั่วโมง โดยเลือกข้าวที่จะหุงก่อน เช่น จะหุงข้าวหอมมะลิก็กดไปที่รายการที่เป็นข้าวหอมมะลิ แล้วตั้งเวลาล่วงหน้าด้วยการกดเวลาเพิ่มไป 12 ชั่วโมง พรุ่งนี้ 7 โมงเช้า ตื่นมาเปิดหม้อข้าวก็สุก แล้วรับประทานได้เลย ซึ่งมิใช่เฉพาะหุงข้าวเท่านั้น ทุกอย่างก็สามารถตั้งเวลาล่วงหน้าได้
เคล็ดลับหุงข้าวให้อร่อย
เริ่มต้นที่การตวงข้าวให้ถูกวิธี โดยให้ใช้ถ้วยตวงที่ได้มาพร้อมหม้อหุงข้าวในการตวงข้าว เพราะบางครั้งการตวงข้าวด้วยถ้วยตวงอาจตวงได้ปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับถ้วยตวงแต่ละใบที่ได้มา แล้วการซาวข้าว แนะนำให้ซาวข้าวอย่างรวดเร็ว โดยเทน้ำซาวข้าวแรกทันที เพื่อไม่ให้ข้าวมีกลิ่นเหมือนรำข้าว จากนั้นให้ซาวข้าวซ้ำจนน้ำใสสะอาด เติมน้ำในหม้อตามขีดระดับน้ำ หลังการหุงให้พรวนข้าวในหม้อให้ทั่ว แต่อย่ากดข้าวจะช่วยให้น้ำส่วนเกินระเหยได้ดียิ่งขึ้น จะทำให้ข้าวมีรสชาติอร่อย และควรพรวนข้าวแม้ว่าจะต้องการให้ข้าวยังอุ่นอยู่หลังจากที่สุกแล้ว
ส่วนการอุ่นข้าวให้ร้อนเพื่อให้ข้าวมีรสชาติอร่อยจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำดังต่อไปนี้ คือ อุ่นข้าวที่สุกแล้วนานเกิน 12 ชั่วโมง อุ่นข้าวที่เย็นแล้วให้ร้อนอีกครั้งหรือเติมข้าวลงไป อุ่นข้าวโดยวางทัพพีไว้ในหม้อข้าว อุ่นข้าวประเภทอื่นที่ไม่ใช่ข้าวสวย เช่น ข้าวเหนียว ข้าวกล้อง ข้าวต้มหรือโจ๊ก อุ่นข้าวที่หุงสุกแล้วโดยล้างหม้อไม่สะอาด
ข้อที่ควรจำหากอุ่นข้าวสวยไว้ในหม้อนานเกิน 12 ชั่วโมง รวมทั้งข้าวประเภทอื่นๆ เราสามารถรักษารสชาติของข้าวให้ยังคงความอร่อยได้ โดยใช้พลาสติกห่อแล้วนำไปอุ่นในเตาไมโครเวฟได้ตลอดเวลา การพรวนข้าวเป็นครั้งคราวในขณะที่อุ่นข้าวจะช่วยให้ข้าวยังคงมีรสชาติอร่อย