ป่าไม่ผลัดใบและป่าผลัดใบ
หลายตอนที่ผ่านมาได้กล่าวถึงป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อนของโลก
หลายตอนที่ผ่านมาได้กล่าวถึงป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อนของโลก
โดย..ม.ล.จารุพันธ์ ทองแถม
หลายตอนที่ผ่านมาได้กล่าวถึงป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อนของโลก ซึ่งในเรื่องนี้ความเห็นของนักวิชาการป่าไม้หลายคนดูจะไม่สอดคล้องหรือเห็นพ้องต้องกันนัก หลายคนยืนยันว่าในประเทศไทยไม่มีป่าฝน (Rainforest) แต่อีกหลายคนยังถือว่าประเทศไทยมีป่าฝนแต่เหลือพื้นที่ลดน้อยลงมากแล้วก็ตาม
จากรายงานของกรมป่าไม้ ข้อมูลการศึกษา AsiaPacific Forestry Sector Outlook Study ภายใต้หัวข้อแหล่งป่าไม้ของประเทศไทย ได้กล่าวถึงเรื่องของพันธุ์ไม้ในป่าประเภทต่างๆ ของประเทศ โดยยืนยันว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าซึ่งแบ่งกว้างๆ เป็นป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous)
ลักษณะของป่าไม่ผลัดใบดังกล่าวประกอบด้วยต้นไม้ที่มีเรือนยอดดูเขียวตลอดปี ประเภทต้นไม้เป็นชนิดที่ไม่ผลัดใบ เช่น ยางหลายชนิด (Dipterocarpus Spp) ตะเคียนชนิดต่างๆ (Hopea Spp.) กระบาก (Anisoptera) เคี่ยม (Cotylelobium Lancolatum) ไม้ต้นสกุล Shorea Spp. และ พันจำ (Vatica Spp.) เป็นต้น ผู้ที่สนใจในพืชเด่นๆ ของป่าไม่ผลัดใบหรือป่าดิบชื้น ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า ป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rainforest) น่าจะอ่านหนังสือเรื่อง ป่าของประเทศไทย โดย ศ.ดร.ธวัชชัย สันติสุข พิมพ์โดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปี พ.ศ. 2549 ไว้อ่านจะได้ความรู้จากนักวิชาการซึ่งเชื่อถือได้
ป่าไม่ผลัดใบแบ่งย่อยออกเป็นหลายกลุ่ม ได้แก่ ป่าดิบชื้น (Tropical Evergreen Rainforest หรือ Tropical Rainforest) ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) ป่าเมฆ (Cloud Forest) ป่าละเมาะเขาสูง (Upper Montane Forest) ป่าโกงกางหรือป่าชายเลน (Mangrove Forest) ป่าพรุ (Peat swamp Forest)
สำหรับป่าดิบแล้ง (SemiEvergreen Forest) มีอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศ ลักษณะเด่นคือ ปริมาณฝนตกต่อปีอยู่ระหว่าง 1,000-2,000 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่อยู่บนภูเขาสูงไม่เกิน 950 เมตร ต้นไม้เด่นได้แก่ ยางนา ยางแดง ยมหอม ตะเคียนทอง ทองหลางป่า เป็นต้น ป่าดิบแล้งมีไม้ผลัดใบขึ้นแทรกในกลุ่มไม้ต้นไม่ผลัดใบ ไม้ต้นผลัดใบที่โดดเด่นบางชนิดได้แก่ ตะแบกชนิดต่างๆ เสลาใบใหญ่ ปออีเก้ง สมพง ยมป่า ปาล์ม ซึ่งพบในป่าดิบแล้ง ได้แก่ หมากลิง ชิดหรือตาว เต่าร้าง และค้อ เป็นต้น
ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) ป่าไม้ที่มีการทิ้งใบตามฤดูกาล พบทั่วประเทศ เนื่องจากมีช่วงฤดูแล้งยาวนานชัดเจน เป็นเวลา 47 เดือน ป่าผลัดใบจะไม่พบในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ อ.ท่าใหม่ ไปจนถึงตลอด จ.ตราด ป่าผลัดใบแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ ป่าผลัดใบผสมหรือป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp Forest) และป่าเต็งรังไม้สน (PineDeciduous)
ไม้ต้นป่าผลัดใบที่เด่นได้แก่ กระถินพิมาน มะสัง กระแจะ ตะขบป่า พฤกษ์ คาง มะค่าโมง ทองกวาว ตะเคียนหนู แดง ปีบ เป็นต้น
สำหรับไม้ต้นซึ่งพบในป่าเต็งรังไม้สน ซึ่งอยู่บนภูเขาสูง 700-1,350 เมตรนั้น เป็นสนเกี๊ยะทั้งสนสองใบและสนสามใบ ป่าแบบนี้พบในเขตภูเขียว จ.ชัยภูมิ และน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ในป่าเราอาจพบไม้ต้น เช่น เหียง พลวง เต็ง รัง เหมือดขน มะขามป้อม เหมือดหอม ส้าน ก่อต่างๆ เป้งดอย เป็นปาล์มซึ่งพบมาก
ในป่าดิบเขาซึ่งมีอากาศกึ่งร้อนชื้นแบบนี้จะพบว่า ตามกิ่งไม้หรือผิวโขดผาหินมักมีไลเคนหรือฝอยลมเกาะติดอยู่ ซึ่งนักนิเวศวิทยาใช้เป็นตัววัดประเภทของป่าแบบนี้ ต้นไม้ที่พบมากในป่าดิบเขาสูงได้แก่ โอ๊กหรือก่อ ในสกุล Castanopsis Lithocarpus และ Quercus ชนิดต่างๆ
สนสามใบ (Treeneedle Pine) ที่กล่าวมานี้พบทางยอดดอยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่สนสองใบ (TwoNeedle Pine) นั้นพบทางภาคเหนือและทิศตะวันตกของภาคกลาง ซึ่งดินมีความสมบูรณ์ต่ำ กรวดหินมาก หรือเป็นดินผสมลูกรัง
สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับสถานภาพป่าไม้ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ตาม ล้วนแต่ถูกคุกคามโดยไม้ยืนต้นผลัดใบจากต่างถิ่นที่เข้ามาสู่ประเทศไทยอย่างองอาจ ในนามของต้นไม้เศรษฐกิจ “ยางพารา”
&<2288;