การเมืองกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน(2)
ยังจบไม่ลงครับ ว่าตัวแทนหรือหัวหน้าราษฎรในหมู่บ้านมาจากการแข่งขันเลือกผู้ใหญ่บ้านและกำนัน จะมีวาระ 5 ปี หรืออยู่จนถึงอายุ 60 ปี อันไหนจะดีกว่ากัน จะมีการกดดันจากกำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ จนฝ่าย สส. หรือสภาผู้แทนฯ ต้องพิจารณาถอนร่างกฎหมายออกไปหรือไม่ จึงสมควรที่ต้องพินิจการเมืองกันอีกรอบดังนี้ (โดยผู้เขียนอ้างอิงจากงานวิจัยที่เสนอต่อกรมการปกครอง พ.ศ. 2555) งานวิจัยในเชิงคุณภาพพบว่า
ยังจบไม่ลงครับ ว่าตัวแทนหรือหัวหน้าราษฎรในหมู่บ้านมาจากการแข่งขันเลือกผู้ใหญ่บ้านและกำนัน จะมีวาระ 5 ปี หรืออยู่จนถึงอายุ 60 ปี อันไหนจะดีกว่ากัน จะมีการกดดันจากกำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วประเทศ จนฝ่าย สส. หรือสภาผู้แทนฯ ต้องพิจารณาถอนร่างกฎหมายออกไปหรือไม่ จึงสมควรที่ต้องพินิจการเมืองกันอีกรอบดังนี้ (โดยผู้เขียนอ้างอิงจากงานวิจัยที่เสนอต่อกรมการปกครอง พ.ศ. 2555) งานวิจัยในเชิงคุณภาพพบว่า
1.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่กำนันผู้ใหญ่บ้านถึงอายุ 60 ปี และให้มีการประเมินผลงานทุก 5 ปี โดยมีกรรมการหลายภาคส่วนในพื้นที่ที่มีส่วนร่วมในการประเมิน (ภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ผู้มีสิทธิได้เสียอื่นๆ) มีเหตุผลสนับสนุน กล่าวคือ เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย (Spirit of Law) แห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2547 เข้าใจได้ว่า กำนันผู้ใหญ่บ้านคือนักปกครองท้องที่ ไม่ใช่นักเลือกตั้งหรือนักการเมือง ซึ่งมีลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเหมือนข้าราชการอื่นๆ เพียงเป็นผู้นำราษฎรที่มาจาก “การเลือก” ที่ไม่ใช่ “การเลือกตั้ง” จากราษฎร เพราะ “การเลือก” เป็นวิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง เป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่มีน้ำหนัก ป้องกันการสับสนว่าบทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านไม่ใช่นักการเมืองท้องถิ่นเหมือน อบต. เทศบาล หรือ อบจ. กระแสประชาธิปไตยที่มุ่งแต่ “การเลือกตั้ง” มักเป็นคำตอบสุดท้ายที่อยากทำให้การปกครองส่วนท้องที่ มีการเข้าสู่ตำแหน่งเหมือนการปกครองส่วนท้องถิ่น มีวาระการดำรงอยู่ 5 ปี แล้วกลับไปเลือกตั้งใหม่ ซึ่งสุ่มเสียงต่อการทำให้นักปกครองท้องที่กลายเป็นนักการเมือง
2.การปกครองท้องที่ในส่วนของกำนันผู้ใหญ่บ้าน มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองมานานกว่า 100 ปี มีบทบาทในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้ช่วยนายอำเภอ มีความใกล้ชิดกับราษฎร ปฏิบัติงานตามกฎหมายและแนวนโยบายของรัฐ ไม่ว่าพรรคไหนมาเป็นรัฐบาลก็มีหน้าที่รับคำสั่ง ประสานงานระหว่างส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งการรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและแก้ไขต่างๆ เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้วิจัยพบว่ากำนันผู้ใหญ่บ้าน ส่วนใหญ่มาจากบุคคลที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้างของราษฎร มีพื้นฐานคลุกคลีใกล้ชิด ได้รับการไว้วางใจมานาน การมีวาระจนถึงอายุ 60 ปี เป็นเหตุผลหนึ่งที่บุคคลนั้นมีแรงบันดาลใจที่จะอุทิศตนทำงานได้อย่างต่อเนื่อง อันไปสู่การพัฒนาความรับผิดชอบ ที่ทำให้เป็นเกณฑ์ชี้วัดถึงผลงานตามมา เรามักเรียกหา “ความรับผิดชอบ” ลองมองความเป็นจริงดู ว่าหากบุคคลนั้นละเลยหรือมีมาตรฐานการทำงานที่ต่ำ ความรับผิดชอบก็ต้องต่ำไปด้วย อันเป็นเหตุให้มีการ “ประเมินผลการปฏิบัติงาน” ที่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีการวัดผลตามตัวชี้วัด ดังนั้นความท้าทายอยู่ที่ “กำนันผู้ใหญ่บ้าน” ต้องมีตัวชี้วัด (KPI) ในการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบการประเมินผลจากผู้ที่เกี่ยว
3.ระบบคณะกรรมการประเมินผลระดับหมู่บ้าน เป็นแนวทางที่ทันสมัยเปิดโอกาสราษฎรมีการให้คะแนนการทำงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านได้อย่างตรงไปตรงมา กอปรกับการประเมินผลงานเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่ทำให้เกิด “การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ” สำคัญอยู่ที่ว่าต้องเป็นการประเมินผลงานที่สุจริต เน้นการมีส่วนร่วมของราษฎร ทำช่วงเวลาที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ มีการทบทวน ปรับปรุงภาระงานของกำนันผู้ใหญ่บ้านให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ความจริงแล้วกระบวน “การวัดและประเมินผล” น่าจะเป็นอีกทางเลือกใหม่ที่ควรทำให้เกิดความจริง เราอาจมีองค์ความรู้ใหม่ ว่ากำนันผู้ใหญ่บ้านจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านที่แข่งขันกันสร้างผลงานเชิงประจักษ์มากกว่าการหาเสียงเป็นครั้งไปๆ ที่สำคัญหากกฎหมายกลับมาใช้แบบวาระ 5 ปี คนแก่อายุ 60 ปี ก็กลับมาแข่งขันได้อีก ทั้งๆ ที่ควรเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาทำงานแบบนี้ที่มีพันธะผูกพันกับรัฐในฐานเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องสำเหนียกว่าเขาคือ เจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทหนึ่งที่ควรมีวันเกษียณอายุราชการ พวกเขาควรได้รางวัล หรือสิทธิอื่นๆ เหมือนข้าราชการบำนาญอื่นๆ เหมือนกันด้วยซ้ำไป
4.หากมีการชุมนุมคัดค้านเป็นจำนวนมากที่ไม่เอาร่างกฎหมายใหม่นี้ รัฐสภาต้องเอาใจใส่ ที่สำคัญคือ กระทรวงมหาดไทยวันนี้แนวคิดการกระจายอำนาจ หรือการปกครองส่วนท้องถิ่น มีอิทธิพลกับนักการเมืองไทยและประชาชนหัวก้าวหน้าอย่างมาก ถึงขั้นจะยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค ครั้งนี้เป็นการเมืองเชิงลึกสำหรับกำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทยจะมีทางออกอย่างไรดี
ความจริงประเทศของเราทันสมัยมากที่มีคนทำงานในพื้นที่ 2 ประเภท คือ นักการเมืองท้องถิ่นกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ (กำนันผู้ใหญ่บ้าน) ทำไมต้องตัดส่วนใดส่วนหนึ่งทิ้ง หากแต่ควรทำงานในเชิงสร้างสรรค์ มีผลประโยชน์สูงสุดร่วมกัน การคงอัตลักษณ์ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน นัยหนึ่งเป็นประชาธิปไตยในด้านความมั่นคงของรัฐ และสามารถถ่วงดุลอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะบางเรื่องท้องถิ่นทำไม่ได้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หากทั้งสองส่วนทำงานร่วมกันได้ มีความขัดแย้งอยู่บ้าง แต่ไม่ถึงขั้นเป็นอุปสรรคของการพัฒนาหมู่บ้าน
โดยสรุปสภาพการณ์ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ทำให้เกิดการรับรู้เหมือนจะอยู่นานจนถึงอายุ 60 ปี คนอื่นๆ ก็เลยคิดว่าจะเกิดผูกขาดอำนาจยาว แต่จริงๆ แล้วหากกลับไปเลือกตั้ง 5 ปี ก็มีสิทธิผูกขาดได้เหมือนกัน เลือกทุกครั้งชนะทุกครั้งหรือให้ลูกหลานตัวเองเป็นแทน ดังนั้นวาระการดำรงตำแหน่ง 60 ปี หรือ 5 ปี ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง หากแต่ “การวัดประเมินผลงาน” เป็นความจริงที่จะเป็นจริงได้อย่างไร ทำกันเป็นหรือไม่ ที่สำคัญอย่าทำแก้บนนะครับ...