posttoday

การทูตแบบพหุภาคี

24 มีนาคม 2557

สัปดาห์นี้ผู้เขียนขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน นั่นก็คือการเจรจาต่อรองที่อยู่ในรูปแบบของ “การทูตแบบพหุภาคี” หรือที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า “Multilateral Diplomacy” ซึ่งจะมีความแตกต่างและความสลับซับซ้อนทั้งในกระบวนการและรูปแบบมากกว่า “การทูตแบบทวิภาคี” หรือ “Bilateral Diplomacy” แต่จะส่งผลลัพธ์ในทางที่เป็นบวกมากกว่าด้วยเช่นกัน

สัปดาห์นี้ผู้เขียนขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน นั่นก็คือการเจรจาต่อรองที่อยู่ในรูปแบบของ “การทูตแบบพหุภาคี” หรือที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า “Multilateral Diplomacy” ซึ่งจะมีความแตกต่างและความสลับซับซ้อนทั้งในกระบวนการและรูปแบบมากกว่า “การทูตแบบทวิภาคี” หรือ “Bilateral Diplomacy” แต่จะส่งผลลัพธ์ในทางที่เป็นบวกมากกว่าด้วยเช่นกัน

การทูตแบบพหุภาคี หมายความง่ายๆ ถึง การเจรจาต่อรองระหว่างผู้นำหรือผู้แทนของหลายประเทศบนเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขนาดใหญ่ร่วมกันในคราวเดียวกัน หรือถ้าการเจรจาต่อรองไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้ในคราวเดียวก็จะสามารถขยายเวลาการเจรจาออกไปได้อีก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการทูตแบบพหุภาคีมักจะใช้ระยะเวลาในการเจรจาต่อรองนานหลายปีกว่าจะบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ เนื่องจากประเด็นและเนื้อหาการเจรจาจะต้องได้รับการยอมรับจากเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมหรือในบางองค์กรระหว่างประเทศมีการกำหนดให้การบรรลุข้อตกลงต่างๆ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทุกประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ หรือที่เรียกว่า “ฉันทามติ” ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Consensus” เช่น ในองค์กรอาเซียนที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก เป็นต้น

ก่อนอื่น เรามาเรียนรู้วิวัฒนาการของการทูตแบบพหุภาคีกันก่อนนะครับ การทูตแบบพหุภาคีมีมาตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล แต่ที่โดดเด่นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ศตวรรษที่ 1719 โดยต้นกำเนิดอยู่ในทวีปยุโรป เนื่องจากความเป็นระบบรัฐมีให้เห็นก่อนภูมิภาคใดในโลก ต่อมาในศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะช่วงระยะเวลาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา คำว่า “การทูตพหุภาคี” มีการใช้กันอย่างแพร่หลายและมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในการประชุมพหุภาคีที่เรียกว่า “GATT” หรือ ที่ประชุมว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรและการค้า ซึ่งต่อมาได้รับการพัฒนาจนเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีชื่อเรียกว่า “องค์การการค้าโลก” หรือ World Trade Organization (WTO)

อย่างไรก็ตาม การทูตพหุภาคีในช่วงระยะแรกๆ หรือช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 ยังจำกัดอยู่เฉพาะวงประชุมของ “ชาติมหาอำนาจ” หรือ “Great Powers” เท่านั้น

อาทิตย์หน้าเรามาว่ากันต่อถึงความแตกต่างของการทูตแบบพหุภาคีและการทูตแบบทวิภาคี รวมถึงประโยชน์ที่ประเทศต่างๆ จะได้รับกันครับ