วิถีช้าง กับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
ช้าง เป็นสัตว์สัญลักษณ์ในวัฒนธรรมเอเชีย เปรียบได้กับความเฉลียวฉลาดและมีความจำดี ตั้งแต่ครั้งโบราณช้างได้รับเกียรติ
ช้าง เป็นสัตว์สัญลักษณ์ในวัฒนธรรมเอเชีย เปรียบได้กับความเฉลียวฉลาดและมีความจำดี ตั้งแต่ครั้งโบราณช้างได้รับเกียรติให้เป็นพาหนะของชนชั้นสูงในการเดินทาง เป็นเหมือนรถถังขนาดใหญ่ที่ใช้นำหน้ายามต้องทำศึกสงคราม นับครั้งไม่ถ้วน ที่ต้องสละเลือดเนื้อและชีวิต ออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่คู่กับบูรพมหากษัตริย์ไทย ดังเช่นเมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงช้างกระทำยุทธหัตถีกอบกู้เอกราช ถือว่าเป็นมหายุทธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติชาติไทย ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในอดีตหลายประเทศทั่วโลกต่างเคยใช้ช้างเป็นพาหนะสำคัญในการทำศึก
ปัจจุบันวิถีชีวิตของช้างเปลี่ยนไป มีปางช้างกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ ช้างถูกใช้เป็นพาหนะให้บริการนักท่องเที่ยวขี่ชมสถานที่ท่องเที่ยว อาทิ เมืองประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา การนั่งช้างเที่ยวชมป่า เช่น ปางช้างใน จ.กาญจนบุรี มีการฝึกช้างเพื่อแสดงโชว์ตามสวนสัตว์ หรือฝึกเพื่อแสดงหนัง โฆษณามากมาย
ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ความจำเป็นของช้างลดลง และถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี วันที่ 13 มี.ค.ของทุกปี จึงถูกจัดให้เป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าของช้าง และร่วมอนุรักษ์ช้างไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป
อนุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัยทรงช้างออกศึก ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา แสดงถึงการมีส่วนสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย ภาพ : กฤษณ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
“คุณยายฮานาโกะ” ช้างไทยหนึ่งเดียวในญี่ปุ่น - ภาพ : เอพี
คลายร้อนให้ช้าง - ภาพ : กฤษณ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
งานทำบุญช้างเสียชีวิต เนื่องในวันช้างไทย ที่เพนียดคล้องช้าง จ.พระนครศรีอยุธยา - ภาพ : กฤษณ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
นิโคล โบนนี่ เคลลี่แอน และคาเรน ช้างนักแสดงประจำคณะละครสัตว์ ริงลิง บราส์ แอนด์ บรานุม แอนด์ ไบเลย์ ในสหรัฐ - ภาพ : เอพี
การแข่งขันโปโลช้าง เพื่อระดมทุนให้การช่วยเหลือช้างเร่ร่อนให้ออกจากท้องถนนที่สนามโปโลชั่วคราวริมแม่น้ำเจ้าพระยา - ภาพ : ภัทรพงศ์ ฉัตรภัทรศิลป์
ลูกช้างซุกซอกใต้ท้องแม่เพื่อจะกินนม - ภาพ : กฤษณ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
อาบน้ำช้าง - ภาพ : กฤษณ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
ช้างใส่บาตร - ภาพ : กฤษณ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร