มอ.ตรังพบเด็กใต้ไม่พูดภาษาถิ่นสอนมโนราห์ยากขึ้น
ตรัง-มอ.ตรัง ค้นหาศิลปินมโนราห์คนเก่งสืบทอดศิลปะการแสดงแต่พบปัญหาการฝึกขับร้องบทกลอนเพราะเด็กใต้ยุคใหม่ไม่พูดภาษาถิ่น
ตรัง-มอ.ตรัง ค้นหาศิลปินมโนราห์คนเก่งสืบทอดศิลปะการแสดงแต่พบปัญหาการฝึกขับร้องบทกลอนเพราะเด็กใต้ยุคใหม่ไม่พูดภาษาถิ่น
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตตรัง ได้มีการสัมมนาในหัวข้อ "ตามหาโนราห์ตรัง หากคนตรังไม่เชิดชู โนราที่มีอยู่ก็สูญสิ้น" โดยมีนักวิชาการและตัวแทนมโนราห์ หรือโนราห์ จากคณะต่างๆ ทั่วภาคใต้ เข้าร่วมพูดคุยเสาวนา เพื่อค้นหาศิลปินทางด้านการรำมโนราห์ที่มีความสามารถ รวมทั้งมีใจที่จะสืบทอดศิลปะการแสดงมโนราห์ในจังหวัดตรัง แล้วนำไปสู่การเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักของเยาวชนและผู้คนในยุคปัจจุบัน
ดร.สมโภช เกตุแก้ว หัวหน้าภาควิชา วิทยาลัยนวัตกรรมการแสดงและการจัดการ มอ.วิทยาเขตตรัง กล่าวว่า สิ่งที่ทางสถาบันการศึกษาจะดำเนินการภายใน 5 ปีนี้ก็คือ การมอบคุณวุฒิให้กับมโนราห์ ด้วยการเทียบเคียงจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในแต่ละสาย เพื่อเป็นแนวทางและภูมิปัญญาสรรค์สร้างให้กับมโนราห์ ตลอดจนช่วยอนุรักษ์ศิลปะการรำมโนราห์ให้อยู่คู่กับภาคใต้และประเทศไทยสืบไป
ด้าน นางละมัย ศรีรักษา เจ้าของคณะมโนราห์ละมัยศิลป์ กล่าวว่า สำหรับอุปสรรคในการเรียนมโนราห์ก็คือ เด็กใต้ยุคนี้ไม่พูดภาษาใต้ จึงเป็นปัญหาสำหรับการฝึกขับร้องบทกลอน ซึ่งต้องใช้ภาษาถิ่น เพราะเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของมโนราห์ อีกทั้งการเรียนมโนราห์ที่ดี ต้องควบคู่กับความเชื่อความศรัทธาต่อครูบาอาจารย์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งมีความกตัญญูรู้คุณเป็นที่ตั้ง มิเช่นนั้นคงเป็นมโนราห์ที่ดีไม่ได้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตตรัง ได้มีการสัมมนาในหัวข้อ "ตามหาโนราห์ตรัง หากคนตรังไม่เชิดชู โนราที่มีอยู่ก็สูญสิ้น" โดยมีนักวิชาการและตัวแทนมโนราห์ หรือโนราห์ จากคณะต่างๆ ทั่วภาคใต้ เข้าร่วมพูดคุยเสาวนา เพื่อค้นหาศิลปินทางด้านการรำมโนราห์ที่มีความสามารถ รวมทั้งมีใจที่จะสืบทอดศิลปะการแสดงมโนราห์ในจังหวัดตรัง แล้วนำไปสู่การเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักของเยาวชนและผู้คนในยุคปัจจุบัน
ดร.สมโภช เกตุแก้ว หัวหน้าภาควิชา วิทยาลัยนวัตกรรมการแสดงและการจัดการ มอ.วิทยาเขตตรัง กล่าวว่า สิ่งที่ทางสถาบันการศึกษาจะดำเนินการภายใน 5 ปีนี้ก็คือ การมอบคุณวุฒิให้กับมโนราห์ ด้วยการเทียบเคียงจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในแต่ละสาย เพื่อเป็นแนวทางและภูมิปัญญาสรรค์สร้างให้กับมโนราห์ ตลอดจนช่วยอนุรักษ์ศิลปะการรำมโนราห์ให้อยู่คู่กับภาคใต้และประเทศไทยสืบไป
ด้าน นางละมัย ศรีรักษา เจ้าของคณะมโนราห์ละมัยศิลป์ กล่าวว่า สำหรับอุปสรรคในการเรียนมโนราห์ก็คือ เด็กใต้ยุคนี้ไม่พูดภาษาใต้ จึงเป็นปัญหาสำหรับการฝึกขับร้องบทกลอน ซึ่งต้องใช้ภาษาถิ่น เพราะเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของมโนราห์ อีกทั้งการเรียนมโนราห์ที่ดี ต้องควบคู่กับความเชื่อความศรัทธาต่อครูบาอาจารย์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งมีความกตัญญูรู้คุณเป็นที่ตั้ง มิเช่นนั้นคงเป็นมโนราห์ที่ดีไม่ได้