สุวิทย์ เมษินทรีย์ กุนซือ "ไทยแลนด์ 4.0"
"สิ่งที่ทำตอนนี้ คือ ปรับนโยบายการลงทุนมาเน้นดึงดูดคนที่มีศักยภาพ เพราะพวกนี้ คือ สตาร์ทอัพ นักวิจัย พวกนี้แหละคือตัวทำเงินให้เราในอนาคต"
โดย....อนัญญา มูลเพ็ญ
หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเมื่อกลางเดือน ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา “ครม.ประยุทธ์ 4” หลายตำแหน่งมีภาระหน้าที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกับ “สุวิทย์ เมษินทรีย์” ที่ปรับจาก รมช.พาณิชย์ มานั่งเป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ได้รับความไว้ใจให้รับผิดชอบดูแลหน่วยงานด้านยุทธศาสตร์ที่สำคัญ พ่วงด้วยหน้าที่ล่าสุดที่อยู่ในความสนใจของสังคมอย่างมาก คือ ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.)
เข้าสู่ยุค 2 บีโอไอ
“สุวิทย์” ฉายภาพถึงการจะขับเคลื่อนองค์กรที่อยู่ภายใต้การรับผิดชอบว่า เริ่มจากบีโอไอที่ต้องปรับบทบาทใหม่ ไทยจะต้องขยับตัวเองไปสู่การผลิตสินค้ามูลค่าสูง แต่จะทำได้ก็ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานระดับเวิลด์คลาส มีคนที่ดีพอ เครื่องมือ บรรยากาศ จากที่ผ่านมาไทยเน้นนโยบายที่เหมือนปักชำ อยากได้อะไรเราก็ให้สิทธิ ประโยชน์จูงใจคือสิทธิประโยชน์ภาษี แต่ไม่ได้ทำอีก
ขาหนึ่ง คือ สร้างคนขึ้นมารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา
การจะเปลี่ยนจากนโยบายแบบปักชำมาเป็นรากแก้วนั้น ก็คือ ไทยแลนด์ 4.0 ต้องมาดูรายละเอียดว่าถ้ามองในมุมของเทคโนโลยีที่เราอยากจะยืนอยู่บนขาของตัวเองมีอุตสาหกรรมอะไรบ้าง ซึ่งก็คัดเลือกออกมาได้เป็น 5 อุตสาหกรรม เช่น ไบโอเทค ไบโอเมด ดิจิทัล แมกคาทรอนิกส์ นี่คือที่มาที่ให้บีโอไอต้องปรับตัวจากที่เคยโฟกัสอุตสาหกรรม มาเป็นการโฟกัสที่ความสามารถ การดึงดูดการลงทุนจะต้องเปลี่ยนไปสู่การดึงศักยภาพ ขีดความสามารถเข้ามา ดึงคน โครงสร้างพื้นฐาน บริษัทที่ดีที่สุดในโลก ที่จะตอบโจทย์ประเทศ
ดังนั้น บีโอไอในยุคที่ 2 นี้จะต้องดึงแต่ละส่วนที่แบ่งเป็น 4-5 แฉก คือ หนึ่งดึงคน สองเทคโนโลยี สามคนที่จะมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเซ็กเตอร์และวิสาหกิจที่ดีที่สุด ซึ่งทำให้ตอนนี้การดึงดูดการลงทุนต้องเลือกเป็นรายบริษัทเลย และทั้งหมดนี้จะประกาศตัวออกไปในงาน โอพอร์ทูนิตี้ ไทยแลนด์ ที่บีโอไอจะเชิญนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติมารับฟังในช่วงกลางเดือน ก.พ.
ปรับเครื่องมือจูงใจลงทุน
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ตอบโจทย์การดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น “สุวิทย์” ระบุว่าตอนนี้บีโอไอมีแต่สิทธิพิเศษทางภาษีนิติบุคคลซึ่งไม่เพียงพอ จะต้องปรับปรุงไปสู่การให้สิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจึงจะสามารถดึงคนเก่งเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ แต่เครื่องมือที่สำคัญอีกประการ คือ การอำนวยความสะดวกและมาตรการต่างๆ ที่ไม่ใช่ภาษี หรือ นัน แท็กซ์ อินเทนซีฟ (Non Tax Intensive) เพื่อให้เขารู้สึกว่าไทยเป็นบ้านที่สองของเขา พาครอบครัวมาแล้วมีโรงเรียนอินเตอร์ มีทุกอย่าง ไม่ต้องคิดมากมาเมืองไทยเหมือนอยู่บ้านเดิม ซึ่งในส่วนนี้มีเรื่องต้องแก้อีกมาก เช่น เรื่องที่คนต่างด้าวต้องรายงานตัวหากอยู่เกิน 90 วัน ซึ่งเกี่ยวกับการแก้ไขตรงนี้ นายกฯ สั่งให้เคลียร์ 4-5 เรื่อง
สิ่งที่ทำตอนนี้ คือ ปรับนโยบายการลงทุนมาเน้นดึงดูดคนที่มีศักยภาพ เพราะพวกนี้ คือ สตาร์ทอัพ นักวิจัย พวกนี้แหละคือตัวทำเงินให้เราในอนาคต ส่วนเรื่องของเทคโนโลยีตอนนี้ระบบการวิจัยเรายังไปไม่ได้ เพราะว่าคนแจกโจทย์ก็ไม่ชัดและเป็นเบี้ยหัวแตก แจกวิจัยไปแล้วไม่มีการติดตาม ซึ่งบีโอไอจะเข้ามาช่วยด้วยว่าจะให้สิทธิประโยชน์อย่างไรเพื่อให้ตอบโจทย์เรื่องการวิจัยด้วยอินเซนทีฟ ที่ตอบโจทย์การวิจัยได้อย่างไร
สศช.องค์กรแผนอนาคต
“สุวิทย์” กล่าวถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจนี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องคิด โดยตนพยายามเสนอในไทยแลนด์ 4.0 ว่าเบรนพาวเวอร์ คือ แรงงานระดับบนอะไรที่มีศักยภาพสูง กับแมนพาวเวอร์ คือ กลุ่มที่ใช้แรงงานต้องแยกออกจากกัน แล้วเอานโยบายมานั่งคุยกัน ถ้าตรงไหนต้องเคลียร์ก็ต้องเคลียร์ ตนเลยใช้บีโอไอเป็นตัวขยับซึ่งทำให้รู้ด้วยว่าถ้าจะลงทุนตรงนี้ติดอะไรจะเคลียร์ตรงไหน
ในส่วนของ สศช.หรือสภาพัฒน์นั้น ก็มีส่วนที่ต้องปรับอีกเยอะ ส่วนที่คิดกันอยู่และตนจะเสนอนายก รัฐมนตรีเร็วๆ นี้ 4 เรื่อง คือ 1.การที่ประเทศจะต้องมีแล็บทดลองเกี่ยวกับอนาคต (Future Lab) คือต้องสร้างแล็บให้ประเทศเป็นส่วนที่จะเข้ามาดูว่าอนาคตจะมีโอกาสเกิดอะไรขึ้นบ้าง 2.แล็บทดลองเกี่ยวกับนโยบาย (Policy Lab) คือเมื่ออนาคตเป็นแบบนี้จะต้องมีนโยบายแบบไหนในยุทธศาสตร์ 3.ส่วนที่เรียกว่าซิสเต็ม อินเตเกรชั่น (System Integration) เมื่อนโยบายที่ทดลองได้สุกงอมแล้วก็แจกจ่ายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการ และ 4.เมื่อกระทรวงทำงานแล้วก็มีหน่วยงานติดตาม ซึ่งส่วนนี้มีกลไกเกิดขึ้นแล้ว คือ สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พีเอ็มดียู) แต่อีก 3 ส่วนไม่มีซึ่งอาจจะเป็นสภาพัฒน์ที่เข้ามาดูส่วนใดส่วนหนึ่งในอนาคต
จากปฏิรูปศึกษาสู่งานยุทธศาสตร์
“สุวิทย์” เท้าความถึงช่วงเวลาก่อนจะได้รับมอบหมายดูแลงานสำ คัญนี้ว่า “ต้องย้อนไป 2-3 ปีที่แล้วถึงความตั้งใจที่ต้องการเข้ามาทำ เรื่องปฏิรูปการศึกษา เพราะมองว่าเป็นหัวใจการปฏิรูปประเทศไทย จึงสมัครเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านปฏิรูปการศึกษา ซึ่ง เทียนฉายกีรนันท์ ประธาน สปช. ตั้งผมเป็นประธานกรรมาธิการวิสัยทัศน์และกำ หนดอนาคตประเทศไทย จึงมีโอกาสฉายภาพใหญ่ไม่เฉพาะการศึกษา แต่มองว่าอนาคตประเทศไทย 10-20 ปี อยากให้เป็นอย่างไร ที่สุดผมจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของคณะเตรียมการเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ชุดของ พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ในช่วงที่อยู่กระทรวงพาณิชย์นั้น การส่งออกตกหนักมาก แต่มันก็ทำ ให้เรามองเห็นว่าประเทศไทยไม่ปรับโครงสร้างการส่งออกและการผลิตไม่ได้แล้ว ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของไทยแลนด์ 4.0 ที่นายกรัฐมนตรีจุดประกายมา และผมก็มีโอกาสทำงานไทยแลนด์ 4.0 มาตลอดตั้งแต่ตอนนั้น พอเปลี่ยนมาเป็น รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีก็ยังให้ดูสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และมองว่าประเทศไทยจะไปนวัตกรรมไม่ดูวิจัยไม่ได้ จึงให้ดูสำ นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขณะเดียวกันเศรษฐกิจท้องถิ่นก็สำ คัญจึงมอบหมายให้ดูแลกองทุนหมู่บ้านด้วย
อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายปีที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้มองว่าถึงเวลาที่จะนำ เรื่องใหญ่ๆ มาถักทอกัน จากตอนแรกที่เข้ามามุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ไอเคโอ (ICAO) ไอยูยู (IUU)เศรษฐกิจโลกผันผวนก็ใช้เวลายื้อมา 2 ปีแล้ว ตอนนี้น่าจะดีขึ้นควรจะมองไปข้างหน้า นำ เป้าหมายที่แท้จริงออกมาทำ คือ ปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติจะต้องขึ้นรูปให้รัฐบาลใหม่ทำ ต่อ แต่่เงื่อนไข คือ ทำ ไม่ได้ถ้าบรรยากาศไม่เอื้อให้ปรองดองและสามัคคี ดังนั้นปรองดองสามัคคีจึงเป็นจิ๊กซอว์ตัวที่ 3 ซึ่งนี่เป็นที่มาของ ป.ย.ป. แต่ผมก็ได้ดูแลในฐานะฝ่ายเลขาฯ หลายคนสงสัยว่าทำ ไม ผมไม่รู้หรอก แต่เท่าที่รู้ คือ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากโอกาสที่ได้ทำงานผ่านไทยแลนด์ 4.0 เคยเป็น สปช. ดังนั้นงานของ ป.ย.ป. ก็เหมือนงานที่เคยสัมผัสอยู่
ขณะที่ ป.ย.ป. คือ กลไกที่จะส่งออกไปยังรัฐบาลถัดไป ถ้าคนในประเทศมียุทธศาสตร์ชาติร่วมกันรัฐบาลเปลี่ยนยุทธศาสตร์จะไม่เปลี่ยนและเมื่อถึงจุดที่ประชาชนเห็นว่านี่ คือสิ่งที่ดีกว่าที่เคยเป็น ไม่ต้องไปประชานิยมเขามาก เมื่อเกิดสิ่งนี้ขึ้น แม้รัฐบาลจะเปลี่ยนไม่เปลี่ยน ตรงนี้เองที่เราบอกว่าถ้าเราทำสิ่งที่ถูกความปรองดองมากขึ้น ปฏิรูปเกิดผลชัดเจน ต่อตนเอง ลูกหลาน เขา ก็อยากจะปฏิรูปต่อ อย่าไปกลัวว่ารัฐบาลใหม่มาแล้วนโยบายจะเปลี่ยน แต่อยู่ที่ว่าสิ่งที่ทำนี้ เขาเห็นไหมและรู้สึกไหมว่ามันดีกว่า ปลดล็อกตรงนี้ได้ประชาชนไม่สนหรอกว่าพรรคจะทะเลาะอะไรกัน แต่ที่ผ่านมาเรายังไม่ได้ทำให้ประชาชนเท่าที่ควร พรรคเลยอ้างว่าอย่างโน้นอย่างนี้
ถามว่าเงื่อนไขความปรองดองไม่ได้อยู่ที่ความปรองดอง แต่เมื่อมันเกิดเป็นข้อตกลงร่วมกันแล้ว มันจะนำ ไปสู่เป้าหมายร่วมที่ทุกคนอยากมองยุทธศาสตร์ชาติร่วมกัน”