โรคลิชมาเนียคร่าหญิงวัย 28 ปีดับรายแรกของตรัง

28 กันยายน 2553

สสจ.ตรัง ตื่นฉีดพ่นยากำจัดลิ้นฝอยทราย มฤตยูสายพันธุ์ใหม่ พาหะโรคลิชมาเนีย หลังคร่าชีวิตหญิงวัย 28 ปี ชาว ต.กะลาเส ดับ เป็นรายแรกของ จ.ตรัง ในรอบ 20 ปี

สสจ.ตรัง ตื่นฉีดพ่นยากำจัดลิ้นฝอยทราย มฤตยูสายพันธุ์ใหม่ พาหะโรคลิชมาเนีย หลังคร่าชีวิตหญิงวัย 28 ปี ชาว ต.กะลาเส ดับ เป็นรายแรกของ จ.ตรัง ในรอบ 20 ปี

นพ.ไพศาล เกื้ออรุณ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน 9 สำนักงานสาธารณสุข จ.ตรัง กล่าวว่า โรคลิชมาเนีย เป็น 1 ใน 5 ของโรคระบาดโดยการนำของแมลง ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ และเป็นโรคติดเชื้อที่อุบัติใหม่ทางวงการแพทย์  ตัวพาหะนำเชื้อจะเป็นตัวลิ้นชนิดหนึ่งที่เรียกว่าลิ้นฝอยทราย ลักษณะคล้ายยุงแต่ตัวเล็กกว่า โดยจะนำเชื้อโปรโตรซัวที่เรียกว่า ลิชมาเนีย และทำให้เกิดโรคกับคน 2 ลักษณะ คือ ติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้แผลเปื่อยและเกิดโรคแทรกซ้อนในอวัยวะภายใน เช่น ไขกระดูก ตับ ไต ม้าม ฯลฯ เป็นต้น หากรักษาไม่ถูกวิธีอาจเสียชีวิตได้ภายในระยะเวลา 2 ปี              
 
สำหรับอาการที่สังเกตชัด คือ ผู้ป่วยจะมีแผลเปื่อย  มีไข้เป็นๆหายๆ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลง ผิวสีคล้ำขึ้น ส่วนแผลที่เป็นรอยกัดจะมีลักษณะเฉพาะเป็นแผลขอบนูนแข็ง ข้างในเป็นสะเก็ดขาวๆ ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคหากให้แน่ชัด จะต้องเจาะเลือดตรวจ ซึ่งการเจาะเลือดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น นำเนื้อเยื่อไปตรวจเพาะเชื้อ แต่โดยทั่วไปจะนิยมตรวจเลือด ซึ่งพบเชื้อในเม็ดเลือดขาว หรือตรวจหาสารทีโลโลจี้ในน้ำเหลือง  
            
ล่าสุด จ.ตรัง พบผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวแล้ว ถือเป็นรายแรกของ จ.ตรัง ในรอบ 20 ปี เป็นเพศหญิง อายุ 28 ปี ชาว ต.กะลาเส อ.สิเกา โดยประวัติผู้ป่วยนั้น หลังมีอาการป่วยได้เข้ารักษาตัวที่ รพ.ชุมชนอย่างต่อเนื่อง แต่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์จึงส่งตัวมาที่ รพ.ตรัง และส่งต่อ รพ.พระมงกุฎเกล้า กทม.อยู่ในความดูแลของแพทย์เรื่อยมา กระทั่งเมื่อทาง สสจ.ตรัง ได้รับรายงานว่า ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว ส่วนผู้ป่วยรายอื่นยังไม่มียืนยัน
       
ส่วนมาตรการป้องกันและควบคุมโรค สสจ.ตรัง ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุข รพ.และสถานีอนามัย ในพื้นที่ ต.กะลาเส อ.สิเกา ระดมกำลังตรวจสอบพื้นที่พร้อมฉีดพ่นยากำจัดลิ้นฝอยทรายและให้ความรู้ประชาชน  คาดว่าจะลดการระบาดระดับหนึ่ง สำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งติดเชื้อ ส่วนผู้ป่วยรายใหม่ที่ถูกลิ้นฝอยทรายกัดไปแล้ว เชื้อจะพักอยู่ในตัวได้หลายปี ซึ่งเป็นเรื่องที่ทาง สสจ.ตรัง เป็นกังวล อย่างไรก็ตามแม้ว่า ลิ้นฝอยทรายจะถูกกำจัดหมดไปแล้ว แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการควบคุมโรค               
 
 นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน 9 สำนักงานสาธารณสุข จ.ตรัง กล่าวต่อไปว่า ความน่ากลัวของโรคดังกล่าว แต่ละปีมีผู้ป่วยเสียชีวิตทั่วโลกเฉลี่ย 2 ล้านคน และเสียชีวิตสูงถึง 7-8 คน/ปี ร้อยละ 35 สาเหตุมาจากที่ผ่านมายังไม่มีการป้องกันโรคดังกล่าว ดังนั้นโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตนั้น
 
นพ.ไพศาล กล่าวอีก หากไม่ได้รับการรักษา จนนำไปสู่การเกิดโรคที่อวัยวะภายใน ก็มีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิต แต่ไม่เฉียบพลันเหมือนโรคอื่น หากป้องกันและรักษาอย่างทันท่วงที ก็มีโอกาสหายได้ แต่สิ่งที่แพทย์กังวลคือ ไม่มีโอกาสได้ตรวจวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด เนื่องจากลักษณะทั่วไปของโรค เช่นมีไข้ อ่อนเพลีย ซึ่งอาจเป็นโรคอื่นก็ได้ จึงทำให้โอกาสในการตรวจวินิจฉัยของแพทย์มีน้อย ถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง       
                     
ดังนั้นจึงขอความร่วมมือไปยังประชาชนกำจัดลิ้น เหลือบที่อาศัยอยู่ในบ้าน หากป่วยให้รีบพบแพทย์ทันที อย่าเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี สำหรับโรคนี้เป็นแล้วรักษาไม่หายขาด แต่ทุเลาระดับหนึ่ง แต่สำหรับผู้มีโรคประจำตัว หรือภูมิคุ้มกันบกพร่องโอกาสเสี่ยงสูง ดังนั้นหากที่ไหนมีลิ้นที่นั่นก็จะมีโรคระบาดเกิดขึ้น

Thailand Web Stat