"ภาวะตัวเย็นเกิน" ความเสี่ยงของผู้ติดในถ้ำเป็นเวลานาน
ทำความรู้จักกับ Hypothermia หรือ "ภาวะตัวเย็นเกิน" ซึ่งเป็นความเสี่ยงของผู้ติดในถ้ำเป็นเวลานาน
ทำความรู้จักกับ Hypothermia หรือ "ภาวะตัวเย็นเกิน" ซึ่งเป็นความเสี่ยงของผู้ติดในถ้ำเป็นเวลานาน
6 วันเเล้วสำหรับการติดอยู่ในถ้ำหลวง ภายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ของกลุ่มเยาวชนนักกีฬาฟุตบอลและโค้ชทีมหมู่ป่าอะคาเดมี รวม 13 คน
เรื่องที่หลายคนเป็นกังวลเมื่อระยะเวลาล่วงผ่านเข้าสู่วันที่ 6 คือ "ภาวะตัวเย็นเกิน" หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Hypothermia
โดยทั่วไปปกติคนเรามีอุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ประมาณ 36.5–37.5 องศาเซลเซียส
หากเผชิญกับ "ภาวะตัวเย็นเกิน" ซึ่งหมายถึงร่างกายสูญเสียความร้อนอย่างรวดเร็วจนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส จะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกาย
ลำดับความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิของร่างกายที่ลดต่ำลงและกลุ่มผู้ป่วย แบ่งได้ดังนี้
อาการไม่รุนแรง หากมีอุณหภูมิร่างกายลดลงถึงระดับประมาณ 32-35 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- หนาวสั่น
- อ่อนเพลีย
- หายใจถี่
- คลื่นไส้
- มีอาการมึนงง พูดไม่ชัด
- มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
อาการรุนแรงปานกลาง ผู้ป่วยที่มีอุณภูมิร่างกายอยู่ที่ประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส มักมีอาการคล้ายกับอาการในขั้นไม่รุนแรง แต่จะมีความรุนแรงมากขึ้นจนส่งผลให้ทำกิจวัตรง่ายๆ ไม่ได้ และอาจพูดไม่ชัดหรือพูดไม่รู้เรื่อง
อาการรุนแรงมาก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส จะพบอาการดังต่อไปนี้
- อาการสั่นอาจหายไป
- เกิดอาการมึนงงอย่างรุนแรง สติสัมปชัญญะลดลง
- ชีพจรเต้นอ่อนหรือเต้นผิดปกติ
- หายใจตื้นและหายใจช้าลง
- มีภาวะโคม่าและอาจเสียชีวิตได้