ตร.ไซเบอร์แฉพฤติการณ์มิจฉาชีพดูดเงินจากบัญชีธนาคาร
ตำรวจไซเบอร์เร่งตรวจสอบภัยออนไลน์ดูดเงินหายจากบัญชีลูกค้าเบื้องต้นพบมีผู้เสียหาย 4 หมื่นรายมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แฉพฤติการณ์ก่อเหตุมี 3 ลักษณะ
เมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท. )พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. พร้อมด้วย พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ผบก.ตอท. ร่วมแถลงความคืบหน้ากรณีมิจฉาชีพล้วงข้อมูลส่วนตัวหลอกถอนเงินจากบัญชีธนาคาร โดยมีประชาชนหลายรายถูกหักเงินออกจากบัญชีธนาคารบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตจำนวนโดยไม่ทราบสาเหตุ
พล.ต.ท.กรไชย กล่าวว่า ขณะนี้ตำรวจไซเบอร์ได้ร่วมประชุมกับสภาธนาคารไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อหาแนวทางความร่วมมือแก้ปัญหากรณีดังกล่าว เบื้องต้นจากการตรวจสอบพบมีผู้เสียหายประมาณ 4 หมื่นคนยอดสูงสุด 2 แสนบาท มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ผู้เสียหายถูกถอนเงินครั้งละจำนวนไม่มากแต่หลายบาทหลายครั้ง เชื่อว่าคนร้ายไม่น่าจะก่อเหตุคนเดียวและมาจากหลายกลุ่มใช้วิธีหลายรูปแบบ
สำหรับ พฤติการณ์การก่อเหตุ สันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก 3 ลักษณะ คือ 1.เป็นการผูกบัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัญชีธนาคารเข้ากับแอพลิเคชั่นต่างๆ เช่น แอปพลิเคชั่นออนไลน์ และข้อมูลเกิดหลุดไปถึงแก๊งมิจฉาชีพ 2. การส่ง SMS หลอกลวง ที่จะส่งลิงก์มาตาม sms เข้ามือถือผู้เสียหาย และให้กรอกข้อมูลต่าง ๆ เข่น ปล่อยเงินกู้ ไปรษณีย์ไทย 3.การใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตในชีวิตประจำวัน เช่น การให้บัตรพนักงานไปชำระค่าสินค้าและบริการในห้างหรือการเติมน้ำน้ำมัน อาจถูกพนักงานเก็บข้อมูลเลขหน้าบัตร 16 หลัก และเลข CVC หลังบัตร 3 ตัว ซึ่งคนร้ายอาจมีการรวบรวมข้อมูลและขายต่อในตลาดมืด ฝากเตือนประชาชนอย่าผูกบัตรดับเครดิต บัตรเดบิตกับแอปพลิเคชั่นที่ไม่จำเป็นหรือไม่น่าเชืjอถือ ไม่คลิกลิงก์ใน sms หรืออีเมล์แปลกที่ไม่รู้จัก และควรลบหรือปิดเลข CVC เลข 3 ตัวหลังบัตร เพื่อความปลอดภัย
ด้าน พล.ต.ต.นิเวศน์ กล่าว่า จากการตรวจสอบพฤติกรรมการดูดเงินมักจะเป็นการดูดเงินจำนวนไม่กี่บาท แต่หลายๆ ยอด หากเป็นบัตรเดบิตมักจะไม่มีการส่ง sms แจ้งเตือนให้ผู้เสียหายรู้ ยอดเหล่านี้มักเกิดจากการชำระซื้อค่าไอเทมในเกม หรือซื้อโฆษณาออนไลน์ ที่ไม่จำเป็นต้องส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อ หลังจากนี้การสืบสวนตำรวจต้องประสานกับร้านค้าที่รับชำระ ว่า กระบวนการตัดเงินอย่างไร หากเป็นแอพพลิเคชั่นในประเทศจะสามารถดำเนินการได้ง่ายต่อการตรวจสอบมากกว่าแอพพลิเคชั่นที่อยู่ในต่างเทศ เช่น google ทั้งนี้จะหารรือกับธปท.และกลุ่มผู้ค้าสินค้าออนไลน์ ถึงมาตรการป้องกัน อาทิ อาจมีการลงทะเบียนร้านค้าออนไลน์ อาจปรับมาตรการแจ้งเตือนชำระสินค้าและบริการที่เป็นยอดน้อยๆ ไม่ถึงขั้นต่ำ เพื่อป้องกันการปัญหาดังกล่าว