นักวิชาการจี้ ประยุทธ์-วิษณุ-ผบ.ตร.โชว์สปิริตปมพ.ร.ก.ชะลอใช้กม.อุ้มหาย
วงเสวนา "เลื่อนบังคับใช้ พรบ.ป้องกันการอุ้มหายทรมาน" ชี้ รัฐบาลประมาทเลินเล่อ ไม่ยึดประโยชน์คุ้มครองประชาชน ให้ท้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้อำนาจออกพรก.ขัดรัฐธรรมนูญ จี้ "นายกฯ - อ.วิษณุ- ผบตร." แสดงความรับผิดชอบ
ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดเสวนา “ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พรก.เลื่อนการบังคับใช้ พรบ.ป้องกันการอุ้มหายทรมาน ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มีผลอย่างไร และใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบ”โดยมี ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ผศ.ดร.รณกรณ์ บุญมี ศูนย์กฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เป็นวิทยากร
ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า สาระสำคัญคือ พรก.เลื่อนการบังคับใช้ พรบ.ป้องกันการอุ้มหายทรมาน เป็นกฎหมายที่ผ่าน สภาผู้แทนราษฏร และ วุฒิสภา อย่างท้วมท้น และให้เวลาผู้ทีาจะบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 120 วัน ในการเตรียมการ โดยมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา 22 ก.พ.2566 ก่อนผู้บังคับบัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะไปขอกับนายกรัฐมนตรี ว่าเตรียมการไม่ทัน และขอให้เลื่อนบังคับใช้ไป ซึ่ง พรบ.ฉบับนี้ มีการแก้ไขเนื้อหา มาตรา 22 ที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ว่า หากมีใครมาจับกุม หรือควบคุมตัว ต้องมีกล้องบันทึกภาพ และ มาตรา 24 ที่ญาติ หรือ ผู้เกี่ยวข้องกับคดี สามารถขอข้อมูลได้ ซึ่งทั้ง 2 มาตรานี้ เป็นสิ่งที่จะคุ้มครอง ป้องกันไม่ให้มีการอุ้มหาย ถูกเลื่อนไป 1 ตุลาคม 2566 และศาลรัฐธรรมนูญตีตก โดยให้เหตุผล ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172
ทั้งนี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถือว่าเป็นนิติบุคคล ที่อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี 120 วัน เมื่อมีการให้เวลาในการเตรียมการ แต่เมื่อเวลาใกล้เข้ามากลับขอเลื่อน เพราะเตรียมการไม่ทัน ดังนั้น ผู้ที่รับผิดชอบ คือ ผบ.ตร. และ นายกรัฐมนตรี ต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย แทนที่นายกรัฐมนตรี จะมุ่งคุ้มครองสิทธิประชาชน แต่ไปคุ้มครองเจ้าหน้าที่ ให้การอุ้มหานทรมานทำได้ต่อไป
เมื่อมาตั้งข้อสังเกต มาตรา 22 พรบ.ฉบับนี้ ถูกเลื่อนไป 1 ตุลาคม 2566 เนื่องจากผบ.ตร.คนปัจจุบัน เกษียณอายุ วันที่ 30 กันยายน ปีนี้ เท่ากับเป็นการโยนให้ ปบตร.คนต่อไป จึงถามไปยัง อ.วิษณุ เครืองงาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย และ นายกรัฐมนตรี ว่า เหตุใดจึงประมาทเลินเล่อ ไม่มีการตรวจสอบ ว่า ผบ.ตร.มาขอเลื่อน เป็น 1 ต.ค. เพราะเหตุผลอะไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ร้ายกาจที่สุด
อย่างไรก็ตาม หากกฎหมายถูกตีตกในสภาผู้แทนราษฏร จะต้องยุบสภา หรือรับผิดชอบโดยการลาออก แต่ขณะนี้ไม่มีสภา จึงขอนายกรัฐมนตรี พิจารณาว่าจะรับผิดชอบย่างไร ซึ่งเชื่อว่าประชาชนจับตาดู เพราะ ฝ่ายบริหาร ไม่เคารพในกฎหมาย ของ สภาฯ และส่งความเห็นดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญก่อนจะถูกตีตก
ด้าน ผศ.ดร.รณกรณ์ กล่าวว่า มาตรา 22 23 24 และ 25 ใน พรบ.ฉบับนี้ เป็นกฎหมายใหม่ ที่ไม่เคยมีประเทศไทย ถูกเลื่อนออกไป ทำให้การคุ้มครองสิทธิของประชาชนถูกเลื่อนออกไป
ซึ่งนอกจากมาตรา 22 แล้ว ใน มาตร 23 และ มาตรา 24 ที่เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลตอบจับกู เพื่อใช้เปรียบเทียบกับตอนปล่อยตัว หรือ การตาย นั้นเป็นเงื่อนไข การเข้าร่วมอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ของยูเอ็น การเลื่อนออกไปจึงทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมได้
สำหรับการเลื่อนบังคับใช้ออกไป ยังมีผลในทางอาญา ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่จะดำเนินการจับกุมจะต้องบันทึกภาพ แจ้งให้ ของ การปกครอง ท้องถิ่น อัยการได้รับทราบ ซึ่งมีความพร้อมอยู่แล้วทุกหน่วยงาน
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ดำเนินการจับกุมก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้บันทึกภาพ บันทึกข้อมูล ถือเป็นการทำตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ออก พรก.เลื่อนบังคับใช้ จึงตีความได้ว่าไม่มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ส่วน นายกรัฐมนตรีและ ครม. ที่เป็นผู้เสนอ พรก. ที่เชื่อว่าตัวเองมีอำนาจ เข้าใจว่า สามารถทำได้ จึงไม่น่าจะเข้ามาตรา 157 ตามรัฐธรรมนูญเช่นกัน เพราะไปยึดจากคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญ ปี 62 ว่า รัฐบาลสามารถออก พรก.ลักษณะนี้ได้ แต่ ณ วันที่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาวันนี้กระบวนการต้องครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งหมด จะการอ้างว่าหน่วยงานยังไม่ได้ซื้ออุปกรณ์ เป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้ จึงเป็นควาทรับผิดชอบร่วมกันของฝ่ายบริหาร
ขณะที่ คุณสุรพงษ์ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ให้ออกมาขอโทษประชาชน และรับโทษทำให้ประชาชนรู้ว่าสำนึกต่อเรื่องนี้ สร้างบรรทัดฐาน ว่า ต่อไปจะไม่มีการกระทำลักษณะนี้อีกและควรมีกระบวนเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ คือ ควรสร้างบรรทัดฐาน ว่า ต่อไป จะมีการออก พรก. อย่างไร ไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะ หากไม่มีการรับโทษ หรือลงโทษ ย่อมมีโอกาสทำผิดซ้ำ